คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม เวชศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินจัดสรรช่วงห้ามโอนเป็นโมฆะ เจ้าของที่ดินมีสิทธิจำนองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินจัดสรรของสหกรณ์นิคมสวรรคโลก จำกัด จำเลยที่ 2 การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงอยู่ภายใต้บังคับข้อกำหนดห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ แล้วแต่กรณี ดังนั้น เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้โจทก์จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ก็ถือว่าเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินจัดสรรช่วงห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ โมฆะ และสิทธิจำนอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินจัดสรรของสหกรณ์จำเลยที่ 2 การทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงอยู่ภายใต้บังคับข้อกำหนดห้ามโอนตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำขึ้นภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แม้โจทก์จะเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว ก็ถือว่าเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 เจ้าของที่ดินพิพาท และจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: จำเลยมีหน้าที่แบ่งแยกที่ดินก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การไม่ทำตามถือเป็นการผิดสัญญา
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ 3 ห้อง ซึ่งตามข้อตกลงเป็นการจะซื้อที่ดินพร้อมด้วยอาคารพาณิชย์มาเป็นของโจทก์แต่เพียงผุ้เดียวมิใช่จะซื้อส่วนเพื่อเข้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินเท่านั้น เพราะมีผลแตกต่างกันซึ่งต้องมีการตกลงกันเป็นพิเศษโดยชัดแจ้ง จำเลยมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลง ๆ ตามพื้นที่ของอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จะซื้อและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ละแปลงให้โจทก์ แต่เมื่อถึงวันนัดจดทะเบียนจำเลยมิได้แบ่งแยกที่ดินพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ไปตามนัดและมีเงินพอที่จะชำระราคาส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยหรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่จำเลยจะริบเงินที่โจทก์จ่ายแล้วทั้งหมดตามข้อตกลงในสัญญาได้ สัญญายังคงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยชำระหนี้ตอบแทนกันอยู่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ในเวลาต่อมา แต่จำเลยไม่ไปตามนัด ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (3) และมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้จากจำเลยได้ตามมาตรา 380 อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เหตุจากประเด็นไม่ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง และฎีกาไม่ชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ แต่โจทก์ฎีกาในทำนองว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อโจทก์หรือไม่และเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อปลอมจึงพิพากษายกฟ้อง โดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปใช้ทำการจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์ไม่ยินยอมหรือไม่ เมื่อปัญหาว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไปใช้โดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง ไม่เป็นประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะต้องวินิจฉัย ดังนั้น ฎีกาของโจทก์ข้อนี้จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีอาญาข้อหาปลอมเอกสารให้ประทับฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ก็ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งได้ว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
ฎีกาโจทก์ในส่วนที่คัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งข้อ มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง การพิสูจน์เอกสารปลอมต้องมีผลชี้ขาดในคดีอาญา
ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 คดีไม่มีมูล จึงประทับฟ้องจำเลยที่ 1 และยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำสั่งของศาลชั้นต้นให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจำเลยบางส่วน ก็ไม่ได้หมายความว่าเอกสารพิพาทเป็นเอกสารปลอม
ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 คดีไม่มีมูล จึงประทับฟ้องจำเลยที่ 1 และยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12482/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาบุกรุกและอนาจาร: ความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและพฤติการณ์แสดงความรัก ทำให้ขาดเจตนาความผิด
ผู้เสียหายและจำเลยเคยมีความสัมพันธ์กันฉันชู้สาว ในวันเกิดเหตุจำเลยมาหาผู้เสียหายที่บ้านและกอดรัดผู้เสียหายในฐานะที่เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อน แม้ผู้เสียหายจะปฏิเสธและจำเลยไม่เลิกราก็น่าจะเป็นเพราะจำเลยต้องการแสดงความรักต่อผู้เสียหายตามวิสัยชายที่มีต่อหญิงที่เคยมีความสัมพันธ์กันมาก่อน การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนาบุกรุกและขาดเจตนาอนาจารผู้เสียหาย
of 5