คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เกษม เวชศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารชุด: ผู้จัดการมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ตามข้อบังคับและกฎหมาย
โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุด มีบริษัท ย. ซึ่งมี ร. เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัท ย. ในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดดังนั้น ร. ซึ่งเป็นผู้จัดการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโจทก์ข้อ 8 (2) การฟ้องคดีเพื่อเรียกเอาค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ข้อ 8 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันผู้รับโอนสิทธิ แม้มิได้เป็นคู่ความเดิม
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ก. ต่อมาวันที่ 7 กันยายน 2513 ก. ได้จดทะเบียนการซื้อขายให้แก่ ด. ในวันเดียวกัน ด. ได้แบ่งที่ดินพิพาทเป็น 6 แปลง และจดทะเบียนแบ่งให้แก่โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ป. บิดาโจทก์ที่ 3 แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2513 จำเลยฟ้อง ก. ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นของ ก. ตกเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2513 โดยพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยและ ก. ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ทั้งสามจะมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว แต่โจทก์ที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาท 1 แปลงมาจาก ป. และ ป. กับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาจาก ด. โดย ด. รับโอนที่ดินพิพาททั้งหมดมาจาก ก. คดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ก. ด้วย จึงต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6272/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกประชุมใหญ่เจ้าของร่วมอาคารชุดโดยผู้ไม่มีอำนาจตามข้อบังคับ และการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่มีผู้มีอำนาจ
ตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดข้อ 31 กำหนดไว้ว่า บุคคลผู้มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่สามัญ คือ 31.1 ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ 31.2 คณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ เมื่อโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดพ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 และขณะนั้นก็ไม่มีคณะกรรมการควบคุมจัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่มีการแต่งตั้งโดยชอบตามกฎหมาย ดังนั้น นับแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2542 เป็นต้นมา นิติบุคคลอาคารชุดจึงไม่มีทั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดและคณะกรรมการควบคุมจัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่จะเรียกประชุมใหญ่ตามข้อบังคับข้อ 31 ได้ ที่จำเลยที่ 2 กับเจ้าของร่วมจำนวนหนึ่งได้เรียกประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2542 จึงไม่ขัดต่อข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ เมื่อมีการประชุมในวันที่ 5 กันยายน 2542 ก็ถือได้ว่าเป็นไปตามความประสงค์ของการก่อตั้งนิติบุคคลอาคารชุดที่ประสงค์จะให้เจ้าของร่วมทั้งหมดจัดการร่วมกัน การเรียกประชุมดังกล่าวจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญา กู้ยืมเงิน – กรณีไม่ระบุชัดเจน ศาลใช้ ป.พ.พ. ม.7 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ระบุว่า ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาน่าน กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชี เป็นเพียงตกลงกันว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน แต่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งในสัญญา เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาน่าน กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่แน่นอนย่อมขึ้นลงได้ตามประกาศธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด จึงต้องใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่กำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ที่จะตกเป็นโมฆะไปทั้งหมด และโจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ดอกเบี้ยไม่ชัดเจน ศาลใช้ดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระบุว่า ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราตามที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชี โดยจะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ชำระต้นเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ตามข้อตกลงดังกล่าวเพียงแต่ตกลงกันว่าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กัน แต่มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้งในสัญญาว่าอัตราเท่าไร เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคาร ก. กำหนดให้ในวงเงินเบิกเกินบัญชีไม่แน่นอนย่อมขึ้นลงได้ตามประกาศธนาคาร ก. จึงต้องใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่กำหนดให้คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 18 ต่อปี ที่จะตกเป็นโมฆะไปทั้งหมด และโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง: ผู้เสียหายจากการกระทำละเมิดคือสหกรณ์ฯ มิใช่เจ้าของที่ดินจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ดิน 29 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา เป็นของโจทก์ โจทก์ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ ส. สามีโจทก์ต่อสหกรณ์การเกษตร ต่อมาสหกรณ์การเกษตรได้ยื่นฟ้อง ส. เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ มิฉะนั้นให้บังคับที่ดินที่จำนองและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรได้ซื้อที่ดินในฐานะส่วนตัวแล้วใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปราศจากอำนาจที่สหกรณ์การเกษตรให้จำเลยเข้าประมูลสู้ราคาหรือซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดและทำนิติกรรมรับโอนที่ดินแทนสหกรณ์การเกษตร แต่จำเลยกลับกระทำขัดต่อหนังสือมอบอำนาจที่ทางสหกรณ์การเกษตรให้อำนาจไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและผิดต่อข้อบังคับของสหกรณ์การเกษตร ส่อไปในทางทุจริต และต่อมาจำเลยและบริวารได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกด้วย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินเป็นของสหกรณ์การเกษตร และห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินต่อไป ซึ่งหากจำเลยได้ทำการละเมิดจริง ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือถูกโต้แย้งสิทธิคือสหกรณ์การเกษตร มิใช่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณอัตราเงินสมทบเงินทดแทน ต้องใช้เฉพาะเงินทดแทนที่จ่ายจริงในปีนั้น ไม่รวมค่าทดแทนในอนาคต
ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามนั้น เป็นการเพิ่มหรือลดอัตราเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นการเพิ่มหรือลดตามสัดส่วนการสูญเสียของนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินทดแทนโดยใช้จำนวนเงินทดแทนที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนแต่ละปี สำหรับเงินทดแทนส่วนที่เป็นค่าทดแทนรายเดือนที่กำหนดจ่ายเกินกว่า 1 ปี ค่าทดแทนดังกล่าวหมายเฉพาะค่าทดแทนที่ต้องจ่ายจริงในปีนั้น ๆ เท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงค่าทดแทนส่วนที่ยังไม่ถึงเวลาที่ลูกจ้างจะได้รับในปีนั้นด้วยไม่ คำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่ 167/2545 ของจำเลยที่ถือเอาเงินทดแทนที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 484,368 บาท เป็นฐานในการคำนวณอัตราส่วนการสูญเสียจึงไม่ชอบ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว และกำหนดอัตราเงินสมทบใหม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: การจัดการทรัพย์สิน vs. การดำเนินคดีอาญา
บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกโดยมิได้มีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) หรือจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ vs. กรรมการ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกศาลแพ่งพิพากษาให้ล้มละลาย บริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรก ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 มาตรา 24 และมาตรา 25 จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุก มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าหนี้/ผู้จัดการทรัพย์สิน vs. กรรมการ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกพิพากษาให้ล้มละลายบริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรกซึ่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 และมาตรา 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ โดยการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่กระทบต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการดำเนินการตามมาตรา 22 (3) สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาหรือฐานความผิดบุกรุกขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 22 (3) ดังกล่าวที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2)
of 5