คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.พนักงานอัยการ ม. 12

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: เงินจากสมาชิก vs. เงินบริจาค/ให้โดยเสน่หา ต้องพิจารณาประเภทรายได้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ระบุในคำฟ้องว่า "สรรพากรจังหวัด กำแพงเพชร" อันเป็นการฟ้องบุคคลผู้ดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว ซึ่งย่อมหมายถึงผู้ดำรงตำแหน่งในขณะที่ฟ้อง ส่วนจำเลย ที่ 6 โจทก์ระบุว่า"กรมสรรพากร" อันเป็นการฟ้องส่วนราชการ ที่เป็นนิติบุคคลซึ่งย่อมต้องมีผู้แทนดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย อยู่แล้ว แม้คำฟ้องของโจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ดำรงตำแหน่งของ จำเลยที่ 1 หรือผู้แทนของจำเลยที่ 6 ก็ไม่ทำให้จำเลยเข้าใจผิด หรือเสียหายเสียเปรียบ แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม เงินที่โรงงานน้ำตาลหักจากน้ำหนักอ้อยที่ชาวไร่อ้อยซึ่ง เป็น สมาชิกของสมาคมโจทก์ขายให้แก่โรงงานน้ำตาล ตามข้อบังคับ ของ โจทก์แล้วส่งมาให้โจทก์นั้นมิใช่เงินที่ชาวไร่อ้อยสมาชิก ของโจทก์ยินดีมอบให้แต่ฝ่ายเดียวอันจะเป็นการบริจาคหรือให้โดย เสน่หาแก่โจทก์ หากแต่เป็นเงินที่ถูกหักตามข้อบังคับของโจทก์ เพื่อผลตอบแทนทางธุรกิจ อันเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากรจึงไม่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องมารวมคำนวณเป็น รายได้ของโจทก์ตามมาตรา 65 ทวิ (13) และเงินที่โจทก์ได้รับจาก สหกรณ์ก็เป็นเงินที่โรงงานได้หักเงินค่าอ้อยของชาวไร่อ้อยซึ่งเป็น สมาชิกของสหกรณ์แล้วส่งเงินไปให้โจทก์ ทำนองเดียวกับเงินที่โจทก์ ได้รับจากสมาชิกจึงถือไม่ได้ว่าเงินได้จากสหกรณ์ดังกล่าวเป็นเงิน ที่โจทก์ได้รับจากการรับบริจาคหรือให้โดยเสน่หาอันจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายได้ เพื่อเสียภาษีตามมาตรา 65 ทวิ (13) เช่นเดียวกัน สิ่งที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเป็นรายได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ (13) มีอยู่ 3 ประเภท คือ (1) เงินค่าลงทะเบียน (2) เงินค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก (3) เงินหรือทรัพย์สิน ที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา โดยเป็นเงิน หรือทรัพย์สินคนละประเภทแยกจากกัน โจทก์กล่าวในคำฟ้องว่า "เงินค่าบำรุงที่โจทก์ ได้ รับ เป็นเงินที่สมาชิกบริจาคหรือ ให้โดยเสน่หา" ย่อมมีความหมายเพียงว่า เงินเงินที่สมาชิกบริจาคหรือ ให้โดยเสน่หาเพื่อเป็นการบำรุงกิจการของโจทก์ อันเป็นเงินที่จัดอยู่ ในประเภทที่ 3 เท่านั้น มิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าเงินจำนวนนี้เป็น "เงินค่าบำรุง" ด้วย ทั้งตามข้อบังคับของสมาคมโจทก์ได้ระบุ ค่าบำรุงปีละ 50 บาทไว้แล้ว คดีจึงไม่มี ประเด็นประเด็นเรื่องเงินค่าบำรุง การที่จำเลยให้การปฏิเสธว่าเงินได้พิพาทไม่ใช่เงินที่โจทก์ ได้รับจากการรับบริจาคหรือการให้โดยเสน่หา แต่เป็นเงินได้ตาม มาตรา 40(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร จำเลยย่อมมีสิทธิสืบพยานได้ ตามประเด็นที่ให้การต่อสู้ไว้ ตามมาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ บัญญัติว่า ในระหว่างที่ศาลภาษีอากรจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลภาษีอากรกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย โดยเหตุนี้ เมื่อยัง มิได้มีการจัดตั้งศาลภาษีอากรจังหวัดและเปิดทำการในท้องที่ จังหวัดกำแพงเพชรศาลภาษีอากรกลางย่อมมีเขตอำนาจในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชรอันเป็นศาลแห่งท้องที่ ที่พนักงานอัยการจังหวัด กำแพงเพชร รับราชการประจำอยู่ด้วย เมื่อคดีนี้เกิดขึ้นในท้องที่ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร พนักงานอัยการ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นทนายจำเลย จึงมีอำนาจดำเนินคดีได้ตามมาตรา 12แห่ง พระราชบัญญัติพนักงานอัยการฯ