คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรพล เตชะกำธร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงด้วยการแสดงหลักฐานเท็จเพื่อไถ่ทรัพย์ ศาลตัดสินผิดฐานฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์
การที่ผู้เสียหายนำสร้อยคอไปจำนำ เจ้าของร้านทองผู้รับจำนำได้ออกหลักฐานให้ผู้เสียหายว่า เป็นการ "ขายฝาก" โดยมีกำหนดไถ่ทรัพย์ที่ขายฝากคืนภายใน 1 เดือน กรรมสิทธิ์และการครอบครองสร้อยคอที่รับจำนำไว้จึงตกอยู่แก่เจ้าของร้านทองผู้รับจำนำจนกว่าผู้เสียหายจะไถ่คืน ดังนั้น การที่จำเลยนำหลักฐานที่เจ้าของร้านทองออกให้แก่ผู้เสียหายไปขอไถ่สร้อยคอของผู้เสียหายจากผู้รับจำนำโดยไม่แสดงออกให้แจ้งชัดว่าตั๋วไถ่ไม่ใช่ของตน เป็นเหตุให้ผู้รับจำนำหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่แท้จริง จึงได้ส่งมอบกรรมสิทธิ์และการครอบครองสร้อยคอของผู้เสียหายให้จำเลยไป เป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และฉ้อโกง ก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม ไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และการแยกความผิดฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่าย
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยมีและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135ฯ เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด และเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้วแม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินให้ทนายความเพื่อวิ่งเต้นคดี ถือเป็นการให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจ ให้กระทำการมิชอบ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
เงินที่โจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นทนายความนำไปใช้ในการวิ่งเต้นคดี คือนำไปให้ผู้พิพากษาเพื่อจูงใจให้ผู้พิพากษาตัดสินยกฟ้องปล่อยตัวโจทก์ เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ อันเป็นการผิดกฎหมายฐานให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินนั้นคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4168/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ แม้คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม และประเด็นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง ที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดนั้น บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1..." ส่วนมาตรา 67 บัญญัติว่า "ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงยี่สิบกรัมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท" เท่านั้น ตามบทมาตราดังกล่าว ไม่ได้บัญญัติว่ายาเสพติดให้โทษต้องมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าที่กำหนดไว้จึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 48 เม็ด น้ำหนัก 4.158 กรัม ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะไม่ได้ระบุว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้หนักเท่าใด แต่ก็เป็นกรณีที่จำเลยมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึงยี่สิบกรัมแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามฟ้อง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้
จำเลยถูกฟ้องเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 อันเป็นวันก่อนที่ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯ และบทบัญญัติในหมวด 3 มาตรา 19 ว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับ และจำเลยมิได้เป็นเพียงผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดและมีไว้ในครอบครองอันเป็นหลักเกณฑ์ที่จะถูกส่งตัวไปฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทั้งตามหลักฐานของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ไปเข้าค่ายฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบสมัครใจหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่จะถือว่าจำเลยพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 ตามบทบัญญัติมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4168/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนครอบครอง, การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด, และหลักการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
จำเลยถูกฟ้องก่อนที่ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 และบทบัญญัติในหมวด 3 มาตรา 19 ว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับ และจำเลยมิได้เป็นเพียงผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติดและมีไว้ในครอบครองอันเป็นหลักเกณฑ์ที่จะถูกส่งตัวไปฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และตามหลักฐานของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่ไปเข้าค่ายฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบสมัครใจหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วเท่านั้น จำเลยจึงไม่ใช่ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่จะถือว่าจำเลยพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหา ตามมาตรา 19 ตามบทบัญญัติมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเวนคืน: กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อแม้ใช้ประโยชน์ไม่ครบถ้วน
ที่ดินของจำเลยถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวา และจำเลยไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ในจำนวนเนื้อที่ 42 ตารางวา โดยได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดแล้วและจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเวนคืนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว แม้โจทก์ใช้เนื้อที่ดินที่เวนคืนมาไม่หมดคงใช้ประโยชน์เพียง 28 ตารางวาก็มิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการรังวัดคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกัน กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้ง 42 ตารางวา ย่อมตกเป็นของโจทก์โดยสมบูรณ์ตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรือให้อำนาจโจทก์คืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้วแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแก่เจ้าของเดิม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 14 ตารางวา ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินเวนคืน: การซื้อขายตามเนื้อที่ประกาศ แม้ใช้ประโยชน์ไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นการรังวัดคลาดเคลื่อน
ตามประกาศของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ที่ดินของจำเลยถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวา และ จำเลยไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกับโจทก์ในจำนวนเนื้อที่ 42 ตารางวา โดยได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ ถูกเวนดังกล่าวทั้งหมดแล้ว และจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 42 ตารางวาซึ่งอยู่ในเขตเวนคืนให้โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาซื้อขายดังกล่าว แม้โจทก์ใช้เนื้อที่ดินที่เวนคืนมาไม่หมดคงใช้ประโยชน์เพียง 28 ตารางวาก็ตาม ก็มิใช่เป็นกรณีที่เกิดจากการรังวัดคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขายกัน ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดิน 42 ตารางวาย่อมตกเป็นของโจทก์โดยสมบูรณ์แล้วตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และไม่มีกฎหมายใดให้สิทธิหรือให้อำนาจโจทก์คืนที่ดินที่เวนคืนไปแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ตาม วัตถุประสงค์ของการเวนคืนให้แก่เจ้าของเดิม โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวน 14 ตารางวา ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาเดิม แม้เปลี่ยนคู่ความ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คดีก่อนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวางทั้งแปลง แม้โจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นคนละคนกับโจทก์จำเลยในคดีก่อน แต่โจทก์คดีนี้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ในคดีก่อน โจทก์คดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยคดีนี้ต่างมีหน้าที่ดูแลสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน ทั้งโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนว่าที่ดินพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวางหรือไม่ ซึ่งได้ถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้โจทก์และจำเลยคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และ 148 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องเป็นว่า ที่ดินโฉนดพิพาทคงเหลือเนื้อที่ 12 5/10 ตารางวา ให้จำเลยแก้ไขแล้วส่งมอบใบแทนโฉนดที่ดินคืนแก่โจทก์นั้น เมื่อโจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อน ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องของโจทก์เป็นที่สาธารณประโยชน์คูขวางทั้งแปลง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแก้ไขโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้และปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดเมื่อประเด็นข้อพิพาทถึงที่สุดแล้วในคดีก่อน แม้คู่ความต่างกัน แต่สืบสิทธิ์กัน
คดีก่อน ส. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทเป็นโจทก์ฟ้องเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชกับพวกเป็นจำเลยโดยมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินแปลงพิพาทนี้ทับที่สาธารณประโยชน์คูขวางหรือไม่ ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งแปลงทับที่สาธารณประโยชน์คูขวาง ส่วนคดีนี้แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นคนละคนกับโจทก์และจำเลยในคดีก่อนก็ตามแต่โจทก์ได้รับที่พิพาทมาจากโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จึงเป็นผู้สืบสิทธิ์มาจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยคดีนี้ต่างมีหน้าที่ดูแลสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินแปลงพิพาท ซึ่งเป็นการฟ้องโดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนในประเด็นที่ว่าที่ดินแปลงพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวาง หรือไม่ และคดีก่อนถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้โจทก์และจำเลยคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 อันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนจากแชร์ลูกโซ่
พฤติกรรมที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันประกอบกิจการในชื่อบริษัท ว. จำกัด ประกาศโฆษณาต่อประชาชนทั่วไปรับสมัครสมาชิกไวท์โฮปกรุ๊ป และเรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ 3,000 บาท โดยรู้อยู่แล้วว่าบริษัทไม่ได้ประกอบกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด อันจะมีผลประโยชน์มาปันให้ให้แก่สมาชิกได้ตามใบประกาศตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิก จึงเป็นการร่วมกันกระทำผิดโดยการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินค่าสมัครสมาชิกรายละ 3,000 บาท จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม อันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 วรรคแรก และการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกเก็บเงินจากผู้สมัครเป็นสมาชิกรายละ 3,000 บาท โดยมีเงื่อนไขในการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเฉพาะแก่ผู้เป็นสมาชิกว่า หากสมาชิกผู้ใดหาสมาชิกใหม่มาสมัครได้ 6 คน จะได้รับผลประโยชน์เป็นเงินดาวน์รถจักรยานยนต์จำนวน 6,000 บาท ทั้งจะได้รับเงินตอบแทนจากการหาสมาชิกใหม่รายละร้อยละ 25 ของเงินค่าสมัคร และหากสมาชิกใหม่หาสมาชิกมาสมัครได้ต่อ ๆ ไป สมาชิกเดิมก็ยังจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวนลดหลั่นไปตามใบประกาศตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกนั้น เป็นการประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นให้แก่ตน และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่นตามวิธีการที่กำหนด และแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่าถ้าได้ปฏิบัติตามจนมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อ ๆ ไปจนครบวงจรแล้วผู้ถูกชักจูงจะได้รับกำไรมากกว่าเงินหรือประโยชน์ที่ผู้นั้นได้ส่งไว้ดังที่บางคนเรียกกันว่าแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเมื่อคำนวณตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกแล้ว จะเห็นได้ว่าหากผู้เป็นสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไขสามารถชักจูงบุคคลอื่นมาเข้าร่วมได้ต่อ ๆ ไป สมาชิกรายต้น ๆ จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้หลายเท่า แต่หากการดำเนินการมิได้เป็นไปตามคำชักจูงก็จะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้หลงเชื่อมาสมัครรายหลัง พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิกและผลประโยชน์ตอบแทนที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่สมาชิกในเงื่อนไขตามตารางผลประโยชน์แห่งสมาชิกดังกล่าว ต้องตามความหมายของบทนิยามคำว่า "กู้ยืมเงิน" และ "ผลประโยชน์ตอบแทน" ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 3 และเมื่อมีประชาชนหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามที่จำเลยที่ 1 ประกาศโฆษณามีจำนวนมากกว่าตั้งแต่สิบคนขึ้นไปโดยมีจำนวนรวม 394 คนตามบัญชีรายชื่อผู้เสียหาย วันเวลาและจำนวนเงินที่จำเลยได้รับไปจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 ด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดตามฟ้องโจทก์
แม้จำเลยที่ 1 จะประกาศโฆษณาเพียงครั้งเดียวในคราวเดียว แต่ข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังยุติว่าในระหว่างวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้องนั้น มีผู้เสียหายซึ่งหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกบัตรไวท์โฮปกรุ๊ปตามประกาศโฆษณาของจำเลยที่ 1 มีจำนวน 394 คน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้รับเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกจากผู้เสียหายจำนวนดังกล่าวรายละ 3,000 คน ไปโดยทุจริต ซึ่งความผิดต่อผู้เสียหายแต่ละรายเป็นการกระทำที่แยกออกจากกันได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 394 กระทง ศาลย่อมลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ตาม ป.อ. มาตรา 91
จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 มีโทษตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 12 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปีรวม 394 กระทง เป็นกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีแต่ไม่เกินสิบปี ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลลงโทษผู้กระทำผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินยี่สิบปีตาม ป.อ. มาตรา 91 (2) ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 20 ปี ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงไม่อาจลงโทษให้เบาลงอีกได้
of 4