พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดวันจ่ายตามสัญญาและผลของการเพิ่มค่าทดแทนโดยรัฐมนตรีและศาล
ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536 อันเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือ ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯและศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าว
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การแจ้งผลการประเมินราคา และการฟ้องคดีภายในกำหนดเวลา
โจทก์แจ้งย้ายที่อยู่ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2536 จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำส่งหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินไปส่งให้แก่โจทก์ในวันที่ 2 มิถุนายน 2538 จึงเป็นวันที่โจทก์ย้ายออกจากที่อยู่เดิมแล้วจึงเชื่อว่าโจทก์มิได้รับหนังสือดังกล่าว โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการย้ายที่อยู่ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบ เป็นหน้าที่ของฝ่ายจำเลยที่จะต้องตรวจหาที่อยู่ของโจทก์เอง เมื่อยังถือไม่ได้ว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินตามกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ภายใน 60 วันนับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 3 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวคือ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม 2542 แต่เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงสามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584-2585/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่อิงราคาประเมินเบื้องต้น ย่อมมีผลผูกพัน แม้เนื้อที่จริงคลาดเคลื่อน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนฯ กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯ ถูกต้องตามขั้นต้นของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แม้จะระบุไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ข้อ 2 (1) ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ก็ตาม แต่ในข้อ 8 ก็ระบุว่า ถ้ามีการคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงยินยอมให้คิดราคาค่าทดแทนตามจำนวนเนื้อที่ที่ซื้อขายตามความเป็นจริงที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว เนื้อที่ที่ถูกเวนคืนที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ดังกล่าว เป็นการประมาณการ แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินจึงทราบเนื้อที่ที่ดินจำนวนที่แน่อนอนว่าถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 30.90 ตารางวา มากกว่าที่ประมาณการไว้เนื้อที่ 42.90 ตารางวา ซึ่งก็คือจำนวนเดียวกันกับที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มาตั้งแต่ต้นอันเป็นส่วนเดียวกันกับที่โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฯ ที่ทำขึ้นถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลใช้บังคับได้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินเนื้อที่ 42.90 ตารางวา คืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเกินอัตราที่ประกาศ หนี้เดิมยังต้องเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ แต่กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ ดังที่โจทก์ฎีกา ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ไปเสียทั้งหมดจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ส่วนดอกเบี้ยแม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบังคับตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ตกลงกัน ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกลงเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องขับไล่: สิทธิการเช่า, การครอบครอง, และการฟ้องซ้ำ - สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวและผลของการไม่โต้แย้งสัญญาเช่า
แม้คดีนี้และคดีก่อนมีโจทก์จำเลยเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว แต่คดีก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินคนใหม่ซึ่งที่ดินที่เช่านั้นมีจำเลยเข้าอาศัยอยู่ก่อนแล้ว โจทก์จึงมีเพียงสิทธิการเช่าเท่านั้นโดยยังมิได้ครอบครองใช้ประโยชน์ที่เช่า เมื่อโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ก่อนได้โดยลำพังโดยไม่เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ทั้งห้องแถวพิพาทมิได้เป็นของโจทก์อีกด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทในคดีนี้จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8649/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยชดเชยเวนคืนที่ดินตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมสินแบบผันแปรตามช่วงเวลา
ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ที่ 1 ในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10.75 ต่อปี ซึ่งหมายความว่า ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงในแต่ละช่วงตลอดเวลา หาใช่คิดดอกเบี้ยในอัตราเดียวตลอดไปจนครบ 12 เดือนไม่ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงก็จะมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันของคู่ความทั้งสองฝ่ายในส่วนต่างของดอกเบี้ยในอัตราที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถาซ้ำ: ศาลไม่อนุญาตหากเคยมีคำสั่งยกคำร้องและไม่ได้อุทธรณ์
หลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์แล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมอีก ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ฉบับนี้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ กลับมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่อีกครั้ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7270/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ภูมิลำเนาทนายจำเลยที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาจากสถานที่ทำงานตามตำแหน่งหน้าที่
การที่ทนายจำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา แม้ยังต้องถือว่าทนายจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว เพราะเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่ มิใช่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเพียงถิ่นอันเป็นที่ทำการชั่วคราว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่คำร้องของทนายจำเลยอ้างด้วยว่า เจ้าพนักงานศาลให้ นาย อ. พนักงานอัยการสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วรับหมายนัดไว้แทนทนายจำเลย ในขณะที่นาย อ. ไปที่ศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานศาลมิได้ไปส่งหมายนัดที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้ว หากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องของทนายจำเลยดังกล่าว การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่ทนายจำเลยย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งหมาย ณ ภูมิลำเนาของทนายจำเลยและมีผู้รับแทนโดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง หรือเป็นการส่งคำคู่ความที่ได้กระทำในศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 77 (2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความว่าเจ้าพนักงานศาลไปส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นแก่ทนายจำเลย และนาย อ. รับไว้แทนที่สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดสีคิ้วหรือไม่ ก่อนมีคำสั่งยกคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่มีเอกสารตรวจพิสูจน์หลักฐาน หากจำเลยเข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้นๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) (6) แล้ว ซึ่งจำเลยก็เข้าใจข้อหาและให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ดังนั้น แม้คำฟ้องของโจทก์จะไม่แนบเอกสารผลการตรวจพิสูจน์หลักฐานมาท้ายฟ้อง ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่