พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายของจำเลยที่ร่วมกระทำผิดฉ้อโกงประชาชน แม้มิได้มีอำนาจลงนามแทน นิติบุคคล
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะมิใช่กรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 เช่นกันและต้องถือว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 4 และ 5 แม้จะยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลเพราะหลบหนีไป โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อฉ้อโกง: อำนาจฟ้องล้มละลายแม้ยังไม่สิ้นสุดคดีอาญา
บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 สองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ได้ประกาศชักชวนบุคคลทั่วไปให้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8 ต่อเดือน หรือร้อยละ 96 ต่อปี ซึ่งมากกว่าที่สถาบันการเงินจะพึงให้ได้การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1 รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน1 เปอร์เซ็นต์ ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุนเป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 แล้วไม่ใช่เป็นตัวแทนของผู้ร่วมลงทุน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ผู้กู้ยืมเงิน"หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย" แม้พระราชกำหนดจะได้บัญญัติไว้ดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1และได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย ทั้งนี้เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้แม้จำเลยที่ 4เป็นผู้เสียหายได้ร่วมกับพวกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาต่อศาลในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพระราชกำหนดว่าด้วยการกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และเป็นโจทก์ ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 6ในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและผิดต่อพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ต่อศาลอาญาแม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6แต่พนักงานอัยการโจทก์ยังได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 10 นั้นแม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลายพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6ให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การล้มละลาย และการพิพากษาคดี
จำเลยรับว่าในการขายหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไปนั้น จำเลยตกลงทยอยซื้อคืนโดยแบ่งเงินค่าหุ้นหรือสัญญาซื้อขายบ้านออกเป็น 24 งวด ให้ประชาชนขายคืนจำเลยเดือนละงวด จำเลยจะให้กำไรเป็นเงิน 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนในแต่ละงวดตลอดไปจนครบ 24 งวด จำเลยดำเนินกิจการดังกล่าว1 ปีเศษแล้วหยุดกิจการเพราะถูกจับ มีประชาชนทำสัญญากับจำเลย5,850 ราย เป็นเงินรวม 601,790,000 บาท จำเลยซื้อคืนจากประชาชนจำนวน 149,873,500 บาท เหลือเงินที่จำเลยยังมิได้ซื้อคืน441,916,500 บาท ดังนี้ การที่ประชาชนซื้อหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินกับจำเลยนั้นประชาชนมุ่งที่จะขายคืนเป็นรายเดือนเพื่อที่จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุนด้วย จึงหาใช่เป็นการซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นในรูปของเงินปันผลซึ่งจะต้องร่วมกันในการขาดทุนด้วยดังบริษัททั่วไปหรือการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินที่ผู้ซื้อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยทั้งสองไม่การกระทำของจำเลยเป็นการรับเงินโดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน อันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยเป็นหนี้จำนวน 451,916,500 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องใช้คืนประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และจำเลยมีสินทรัพย์หักแล้วต่ำกว่าหนี้สินถึง 429,814,215.60 บาท จำเลยจึงมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลชอบที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจากคดีกู้ยืมเงินตามพ.ร.ก.กู้ยืมเงินฯ จำเลยมีส่วนร่วมหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในฐานะประธานกรรมการยังจัดให้ประชุมผู้ร่วมลงทุนออกหนังสือยืนยันว่าบริษัทยังดำเนินธุรกิจเป็นปกติ ทั้งยังออกหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินทุนคืนแก่ผู้ร่วมลงทุนทุกราย เป็นการกำกับดูแลธุรกิจบริษัทประหนึ่งตนเป็น กรรมการผู้จัดการ พฤติการณ์บ่งชัดว่าได้ร่วมคบคิดกับบริษัท ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะมิใช่ กรรมการผู้จัดการและ มิได้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลย ที่ 1 ก็เป็นผู้กู้ยืม เงินตามนัยพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็น การฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 เมื่อจำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะ เป็นผู้กู้ยืมเงินและได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนด ดังกล่าว มาตรา 10 บริษัทเป็นผู้กู้ยืมเงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาในฐานะผู้แทนบริษัท จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นผู้กู้ยืมเงินไปด้วยตามนัยแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 การที่จำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดข้อบกพร่องขึ้นโดยลงนามคนเดียว และไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทนั้น หาทำให้ฐานะของจำเลยที่ 2 ที่เป็นผู้แทนบริษัทเปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตามพระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้ว เช่นนี้ พนักงานอัยการ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พระราชกำหนดดังกล่าว มาตรา 10 จำเลยที่ 2 จะได้หลอกลวงประชาชน หรือไม่ หา ได้กระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์ไม่ แม้จำเลยที่ 6 จะเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้วยผู้หนึ่ง แต่ จำเลย ที่ 6ก็มิได้เป็นกรรมการบริษัท และไม่เคยได้รับเงินจาก ผู้ ร่วม ลงทุน โดยจ่ายหรือตกลงจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ร่วมลงทุน แต่ อย่างใดจำเลยที่ 6 ไม่มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกับบริษัท ใน การ กู้ยืม เงินจากผู้ร่วมลงทุน จำเลยที่ 6 จึงมิใช่ผู้กู้ยืมเงิน ตาม นัย พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 เป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พระราชกำหนด ดังกล่าวมาตรา 10 ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่รอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา และได้ดำเนินการพิจารณาสืบพยานหลักฐานจนเสร็จสิ้นแล้วมีคำพิพากษา ไปประกอบกับคดีส่วนอาญาที่อ้างถึงนั้นจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อใด ก็ไม่อาจทราบได้ จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะรอคดีนี้ไว้ ฟัง ข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญา.