คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและฝากเก็บทรัพย์ - อายุความ 10 ปี - อำนาจฟ้อง - ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าฉาง ตามฟ้องจากจำเลยเพื่อเก็บข้าวเปลือกของโจทก์ โดยจำเลยรับรองว่าจะเก็บรักษาข้าวเปลือกที่โจทก์นำมาเก็บไว้ในฉาง มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิม ถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้นจำเลยจะต้องรับผิดชอบและยินยอมใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ยกเว้นข้าวเปลือกที่ยุบตัวตามสภาพไม่เกินร้อยละ 2ของจำนวนข้าวทั้งหมดหรือเกิดจากเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่ดูแลรักษาข้าวเปลือกของโจทก์ตามสัญญา เป็นเหตุให้ข้าวเปลือกในฉาง สูญหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระราคาข้าวเปลือกดังกล่าว เห็นว่า ฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องโดยละเอียดพร้อมกับแนบสำเนาสัญญาเช่าฉาง เอกชนสำเนาบัญชีข้าวเปลือกและราคาข้าวมาท้ายฟ้องด้วยการที่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 คณะกรรมการองค์การตลาดเพื่อการเกษตรมีอำนาจหน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการโจทก์ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งผู้อำนวยการโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าฉาง เอกชนนอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉาง ด้วย หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์ซึ่งจะต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้ให้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากาไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9204/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้อำนวยการ อ.ต.ก. และอายุความสัญญาเช่าที่รวมสัญญาฝากทรัพย์
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มาตรา 20 และมาตรา 22 แสดงว่า คณะกรรมการมีอำนาจ หน้าที่ในการวางนโยบายทั่วไปขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร โจทก์เท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการเป็นอำนาจหน้าที่ของ ผู้อำนวยการ การฟ้องคดีเป็นกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ซึ่งผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของโจทก์ จึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดี แทนโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าฉางเอกชนพิพาท นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้วยังมีข้อกำหนดให้จำเลยมีหน้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกและดูแลมิให้เกิดความเสียหายแก่ข้าวเปลือกที่เก็บรักษาไว้ในฉางด้วยหากเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบใช้ราคาข้าวเปลือกที่ขาดจำนวนไปให้แก่โจทก์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วย ฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป จำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8514/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: นับแต่วันจดทะเบียน, ไม่ใช่การติดตามทรัพย์สิน
การฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ทรัพย์สินที่มีรูปร่างอันได้แก่อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองไว้โดยเฉพาะอันได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่อาจนำมาตรา 1336 มาใช้บังคับได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่า ส. เป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิมคือนับตั้งแต่วันที่ ส. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้างของผู้ว่าฯ ตามระเบียบงบประมาณระดับจังหวัด และการฟ้องรับผิดตามสัญญา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัด ข้อ 5 ก็มีข้อความว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเอง หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนไม่ เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การหักเงินภาษีอากรในการคำนวณราคาซื้อขาย การคิดดอกเบี้ย และอายุความ
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการรับซื้อแร่ดีบุก ข้อ 6ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาซื้อแร่ดีบุกสุทธิไว้ว่า(ก)ให้หักค่าถลุงจากราคาซื้อแร่ดีบุกเบื้องต้น(ข) หักค่ามลทินสกปรก(ค) หักออกเป็นเงินบาทมีจำนวนค่าเท่ากับภาษีทั้งมวล (ไม่รวมภาษีเงินได้และภาษีบำรุงท้องที่)และอากรทั้งมวลที่บริษัทผู้ถลุงหรือผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทย หรือหน่วยราชการใด ๆ โดยเหตุเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกในการถลุงโลหะดีบุกจากแร่ดีบุกและในการขายและส่งออกนอกประเทศไทย ซึ่งโลหะดีบุกที่ผลิตได้จากแร่ดีบุกและ (ง) ราคาซื้อเบื้องต้นสำหรับแร่ดีบุกเมื่อหักรายการต่าง ๆที่คิดหักตามข้อ 6(ก)(ข)และ(ค) แล้ว ก็เป็นราคาซื้อสิทธิดังนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่จะนำเงินภาษีอากรมาหักเพื่อคำนวณราคาซื้อสุทธิตามข้อ 6(ค) นั้นคือเงินที่ผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกซึ่งมิได้กำหนดไว้ตายตัวแน่นอน แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าคือจำนวนที่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเรียกเก็บอยู่ในขณะที่มีการซื้อขายกัน มิฉะนั้นเงินภาษีที่จะนำมาหักได้จึงต้องเป็นเงินที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องเสียตามจำนวนที่แท้จริงเมื่อมีประกาศกระทรวงการคลังลดค่าภาษีการค้าลงร้อยละ 2ของค่าภาษีที่ต้องเสีย จำนวนที่ลดลงนี้ผู้ซื้อจึงไม่ต้องชำระจะนำมาหักออกจากราคาซื้อเบื้องต้นไม่ได้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงหรือเจตนารมณ์ของคู่สัญญามาประกอบการตีความ จำเลยในฐานะผู้ซื้อจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแร่ดีบุกในส่วนที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ของค่าภาษีการค้าคืนให้แก่โจทก์ เมื่อกรณีเป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการคำนวณหาราคาแร่ดีบุกสุทธิที่ซื้อขายกันอยู่ว่าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาควรเป็นอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลยย่อมไม่ทราบราคาที่ต้องคืนว่ามีจำนวนแน่นอนเป็นเท่าใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนตั้งแต่เมื่อใดอันจะถือได้ว่าจำเลยผิดนัด ต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกโดยให้ชำระเงินที่รับเกินไปซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินจากตัวแทน และอายุความของคดีตัวแทนรับเงินแทน
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นดอกเบี้ย โดยระบุอัตราดอกเบี้ย ต้นเงินและระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งสามารถคิดคำนวณจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำนวนดอกเบี้ยรายเดือนเป็นเงินเดือนละเท่าใดอีกและคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อโดยจำเลยในฐานะกรรมการบริษัทซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนหรือผู้แทนของบริษัทตามบทบัญญัติของกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน และจำเลยได้รับเงินมัดจำกับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อไว้แทนโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งมอบเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินค่าขายสินค้าที่จำเลยได้รับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทน มิใช่กรณีพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปี และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่านายหน้าซื้อขายที่ดิน: สัญญาแยกต่างหากจากสัญญาจะซื้อจะขาย มีอายุความ 10 ปี
โจทก์เป็นผู้ชี้ช่องให้ ม. กับจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยจำเลยตกลงจะจ่ายค่านายหน้าแก่โจทก์อัตราร้อยละ 3 ของราคาที่ซื้อขายกัน แม้ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาและ ม. ต้องฟ้องบังคับจำเลยก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมโอนที่ดินให้แก่ ม.หรือบุคคลที่ ม. ประสงค์จะให้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ศาลพิพากษาตามยอม จำเลยได้ปฏิบัติตามโดยทำหนังสือจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้แก่บริษัท ช. ที่ ม. ประสงค์มีผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่านายหน้าจากจำเลย สัญญาค่าบำเหน็จนายหน้าเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจาก สัญญาจะซื้อจะขาย แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะได้บันทึกเรื่องที่จำเลยตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ไว้ก็หาทำให้สัญญาค่าบำเหน็จนายหน้าเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจะซื้อจะขายไม่ โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาค่าบำเหน็จนายหน้าและไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่านายหน้าจากการชี้ช่องทำสัญญา แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความก็ยังมีผล
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างม.กับจำเลยเกิดจากการชี้ช่องของโจทก์ แม้ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาและ ม.ฟ้องจำเลยแต่จำเลยก็ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมโอนที่ดินพิพาทให้นายม.หรือบุคคลที่ ม.ประสงค์ ศาลพิพากษาตามยอม ภายหลังจำเลยได้ปฏิบัติตามโดยโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่บริษัทช.ที่ม.ประสงค์ ซึ่งตรงกับราคาที่ระบุในสัญญาจะซื้อจะขายดังนี้สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวจึงมีผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายมีผลสืบเนื่องมาจากการชี้ช่องของโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมก็ย่อมมีผลสืบเนื่องมาจากการชี้ช่องของโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับบำเหน็จค่านายหน้าจากจำเลย สัญญานายหน้าเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาจะซื้อจะขายแม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายจะบันทึกเรื่องที่จำเลยตกลงให้ค่าบำเหน็จนายหน้าแก่โจทก์ไว้ก็หาทำให้สัญญาค่าบำเหน็จนายหน้าเป็นสัญญาอุปกรณ์ของสัญญาจะซื้อจะขายไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเอาบำเหน็จนายหน้าไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6971/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้า: การต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดไม่ใช่ละเมิด แต่เป็นหนี้ค่าไฟฟ้า
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้า โดยอ้างว่า การต่อสายไฟฟ้าผิดพลาดเป็นเหตุให้เครื่องวัดไฟฟ้าแสดง หน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าความเป็นจริง จึงเรียกส่วนที่ยัง ขาดอยู่ ไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์และไม่มี กฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้ อายุความทั่วไปบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา: เริ่มนับแต่วันจำเลยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวง ตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่ 1 ให้เสร็จภายในวันที่ 3 ตุลาคม 2522 และส่งมอบงานงวดที่ 2 ให้เสร็จภายในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่ 1 คือ วันที่3 ตุลาคม 2522 จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าว ดังนั้น อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม (มาตรา 193/12ที่แก้ไขใหม่) โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2532จึงเกินกำหนด 10 ปี คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา 164 เดิม|มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา 188 เดิม(มาตรา 193/10 ที่แก้ไขใหม่)
of 8