คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเรียกร้องค่าสินค้าจากการซื้อขายที่ผิดสัญญา และผลของการบอกเลิกสัญญา
สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินค่าสินค้าในกรณีสัญญาซื้อขายเลิกกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างและละเมิด การสะดุดหยุดของอายุความด้วยการรับสภาพหนี้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการร้านโจทก์ตามสัญญาจ้างท้ายฟ้อง ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์หรือบุคคลที่โจทก์มอบหมาย หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ด้วยประการใด ๆ จนเกิดความเสียหายขึ้นในภายหน้าแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จนครบ และต่อมาในระหว่างสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบัญชีได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดบัญชีและลูกหนี้การค้าทั่วไปคลาดเคลื่อน โจทก์ได้รับความเสียหายเช่นนี้เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานและในมูลละเมิดที่โจทก์อ้างในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานและทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164(เดิม) ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม2528 จึงต้องเริ่มนับอายุความ 10 ปีใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวตามมาตรา 181(เดิม) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2529คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ กรณีจำเลยผิดนัดชำระค่างวด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ยอมชำระให้ โจทก์จึงยึดรถคืนจากจำเลย การผิดนัดไม่ชำระค่างวดทำให้โจทก์เสียหาย ไม่สามารถนำรถยนต์มาใช้สอยในกิจการของโจทก์ ไม่สามารถนำไปขายหรือจำหน่ายให้แก่ผู้มีชื่ออื่นต่อไปได้ รถของโจทก์หากนำไปให้ผู้มีชื่อเช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท โจทก์ถือเอาระยะเวลา ที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันยึดรถคืน โจทก์เสียหายเป็นรายเดือนเดือนละ 5,745 บาท เท่ากับอัตราค่างวด และโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันยึดรถคืนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 18,992 บาทขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน เช่นนี้ เงินตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกร้องจากจำเลยมิใช่เงินค่ารถแต่เป็นค่าเสียหายที่โจทก์ได้ขาดประโยชน์ไปเพราะจำเลยประพฤติผิดสัญญาเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องอายุความกำหนดไว้เป็นพิเศษ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายลดตั๋วเงิน แม้ขาดอายุความตามตั๋ว แต่ฟ้องตามสัญญาซื้อขายได้
จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำมาขายแก่โจทก์ โดยทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์มีข้อความสำคัญว่า จำเลยได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินไปจากโจทก์แล้ว หากปรากฏว่าเมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระโจทก์ไม่อาจเรียกเก็บเงินได้หรือมีกรณีอื่นใด ซึ่งโจทก์ต้องเสียหายไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน จำเลยยอมรับผิดใช้หนี้ตามตั๋วทั้งหมดคืนแก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ18.5 ต่อปี และหากโจทก์ไม่ได้รับเงินชำระหนี้ตามตั๋วฉบับใดฉบับหนึ่ง จำเลยยอมรับผิดชดใช้ให้โจทก์ตามสัญญาทุกประการ ดังนั้นโจทก์และจำเลยจึงมีความผูกพันกันตามสัญญาขายลดตั๋วเงินด้วยแม้โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินภายในกำหนดสามปีนับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินเป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาขายลดตั๋วเงินได้สัญญาขายลดตั๋วเงินไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้จึงต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4232/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายเครื่องวิทยุ: สัญญาเช่าบริการแยกค่าเช่าเครื่องและค่าใช้บริการ อายุความตามมาตรา 563 มิได้ใช้
จำเลยทำสัญญาเช่าบริการวิทยุคมนาคมความถี่สูงมากจากโจทก์โดยตามระเบียบของโจทก์แยกการคิดค่าเช่าออกเป็น 2 ส่วน คือค่าเช่าเครื่องกับค่าใช้บริการกรณีตามสัญญาเช่าพิพาทเป็นการคิดเฉพาะค่าใช้บริการเพราะจำเลยจัดหาเครื่องวิทยุมาเองการที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายของเครื่องวิทยุซึ่งตกเป็นของโจทก์ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญา จึงมิใช่คดีอันผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายลดเช็ค แม้ผู้จัดการทำแทนโดยมิชอบ ผู้ซื้อยังผูกพันตามสัญญาได้ หากไม่มีเจตนาซ่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ความว่า ในการอันใดถ้าประโยชน์ทางได้เสียของนิติบุคคลฝ่ายหนึ่งกับของตัวผู้จัดการอีกฝ่ายหนึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่กันในการอันนั้น ผู้จัดการเป็นอันไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนได้ การที่ ส.ผู้จัดการโจทก์สาขาลอง กับ ป. ต้องการขายลดเช็คให้โจทก์เอง โดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คนั้นส.ผู้จัดการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ตามมาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) และความรู้ของ ส. ผู้จัดการโจทก์ดังกล่าวจะถือเป็นความรู้ของโจทก์ด้วยไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกับ ส. ผู้จัดการโจทก์และ ป. ขายลดเช็คให้โจทก์ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาต่อโจทก์ด้วย อายุความฟ้องร้องตามสัญญาขายลดเช็ค ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมหนี้ขายลดเช็ค, อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์สาขาถนนลาดพร้าว ซอย 99 ไม่ใช่สาขาอินทามระที่จำเลยที่ 1นำเช็คมาขายลดในภายหลังซึ่งจำเลยที่ 1 ได้โอนบัญชีมาแล้วสาขาของโจทก์นั้นไม่ว่าสาขาใดก็คือส่วนหนึ่งของโจทก์นั่นเองสัญญาค้ำประกันระบุว่า หนี้รับซื้อลดตั๋วเงินซึ่งรวมถึงหนี้ขายลดเช็คตามฟ้องด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็ค และสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) มีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนเงินจากเช็ค: สิทธิของประกัน (อาวัล) เทียบเท่าผู้ค้ำประกัน
โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือความรับผิดของโจทก์ย่อมเป็นเพียงอาวัลผู้สั่งจ่ายเมื่อโจทก์ใช้เงินแก่ผู้ทรงไปแล้วย่อมเกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะไล่เบี้ยเอาจากผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลซึ่งตนได้ประกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคท้ายเป็นสิทธิที่มีลักษณะเดียวกับสิทธิของผู้ค้ำประกันซึ่งได้ชำระหนี้แล้วย่อมเกิดสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้เพราะการค้ำประกันนั้น ตามมาตรา 693 วรรคแรก หาใช่สิทธิการรับช่วงสิทธิอื่นเหนือลูกหนี้ตามมาตรา 693 วรรคสองไม่เป็นสิทธิที่เกิดจากนิติกรรมการอาวัลหรือค้ำประกันนั้นเองหาได้รับช่วงสิทธิของผู้ทรงที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมาไม่ เป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นบททั่วไปและมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าทดรองจ่าย: ตัวแทน vs. พ่อค้า - อายุความ 10 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2528 ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการ ได้ติดต่อให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกงให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองสำหรับห้องพักให้ลูกค้าของจำเลยที่ 1ในเดือนสิงหาคมและตุลาคม 2528 โจทก์จัดหาห้องพักและออกเงินทดรองค่าห้องพัก 2 ครั้ง เป็นเงิน 5,085 เหรียญฮ่องกงส่วนเดือนตุลาคม 2528 โจทก์หาห้องพักและจ่ายเงินทดรองค่าห้องพักเป็นเงิน 18,130 เหรียญฮ่องกง เมื่อถึงกำหนดจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์นอกจากนั้นโจทก์ยังแนบเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องดังกล่าวมาท้ายฟ้องด้วย ฟ้องของ โจทก์ได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ จัดหาห้องพักให้ลูกค้าจำเลยที่ 1 และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก แห่งข้อหาคือโจทก์ได้จัดหาห้องพักและออกเงินทดรอง ค่าห้องพักดังกล่าวแต่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระเงินทดรอง ค่าห้องพักแก่โจทก์โดยแจ้งชัดพอที่จำเลยทั้งสองจะเข้าใจแล้ว ส่วนที่ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าโจทก์จัดหาห้องพักและ จ่ายค่าห้องพักที่ไหนนั้น เป็นรายละเอียดโจทก์สามารถ นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยที่ 1 ให้โจทก์จัดหาห้องพักที่ฮ่องกง และ ทดรองจ่ายค่าห้องพักแก่ลูกค้าของจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ มาฟ้องเรียกเงินทดรองจ่ายค่าห้องพักดังกล่าว เป็นเรื่อง ตัวแทนเรียกเงินที่ออกทดรองจ่ายไปในการจัดทำกิจการของ ตัวการ มิใช่เป็นเรื่องโจทก์เป็นพ่อค้าเรียกเอาเงินที่ ได้ออกทดรองไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) ซึ่งในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนด อายุความไว้เป็นการเฉพาะต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขาย: ใช้มาตรา 164 (10 ปี) ไม่ใช่มาตรา 467 (1 ปี)
อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467เป็นกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อแล้วปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรานี้ แต่กรณีที่ผู้ซื้อขอให้ผู้ขายชำระเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาไม่ส่งมอบสินค้าให้ผู้ซื้อภายในกำหนดเวลาตามสัญญาซื้อขายและให้ผู้ขายรับผิดในราคาสินค้าที่ผู้ซื้อต้องไปซื้อชดเชยจากบุคคลอื่นในจำนวนที่เพิ่มขึ้น นั้นไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือ มีกำหนด 10 ปี
of 8