คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งนายจ้าง รวมถึงอายุความฟ้องในกรณีผิดสัญญาจ้าง
การที่จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งของโจทก์ไม่ว่าจะเป็นระเบียบที่มีอยู่เดิมหรือที่ออกในภายหลัง เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งของโจทก์ จำเลยจึงผิดสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องให้จำเลยรับผิดเนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และโจทก์ได้มีคำสั่งปลดจำเลยออกจากธนาคารโจทก์แล้วฐานปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์และประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้โจทก์เสียหาย และขาดความไว้วางใจนั้นเป็นการฟ้องในมูลผิดสัญญาจ้างแรงงานจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3891/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ฟ้องภายใน 10 ปี ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยปรับตามสัญญาในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์ล่าช้าและส่งมอบสิ่งของบางส่วนไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกันอันเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาเป็นเบี้ยปรับซึ่งมีอายุความสิบปีไม่ใช่เป็นการฟ้องเพื่อให้รับผิดในการส่งมอบทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนตามสัญญาซื้อขายซึ่งมีอายุความหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 467

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3736/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน และการให้การปฏิเสธฟ้องที่ไม่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้รับ ส. เข้าทำงาน โดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันว่า หากส.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่ว่าทางแพ่งและทางอาญา จำเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์โดยไม่จำกัดจำนวน ต่อมา ส. ได้ลักเอาสินค้าของโจทก์ไปคิดเป็นเงินจำนวน 17,789 บาท ขอให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ดังนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่ฟ้องอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อันจะมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 ไม่ และการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดในกรณีเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 จำเลยให้การว่า ส. จะได้ลักเอาสินค้าของโจทก์ไปและทำให้โจทก์เสียหายตามฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ทราบและไม่อาจรับรองได้เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค่าไฟฟ้า: การไฟฟ้านครหลวงในฐานะรัฐวิสาหกิจมิใช่พ่อค้า ใช้บังคับอายุความสิบปี
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครอันมีลักษณะเป็นสาธารณูปโภค และได้รับทุนในการดำเนินการจากงบประมาณแผ่นดิน โจทก์จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในมาตรา 165(1)แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นก็ต้องถืออายุความสิบปีตามมาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถยนต์ที่ผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ และอายุความฟ้องคดี
โจทก์ตกลงซื้อรถยนต์จากจำเลยทั้งสอง แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองโอนรถยนต์ให้กับโจทก์นั้น บุคคลอื่นเป็นเจ้าของ มิใช่จำเลยทั้งสองต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดรถยนต์ไปเป็นของกลางเพื่อคืนให้แก่เจ้าของเดิม ถือว่าโจทก์ถูกรอนสิทธิ รถยนต์ที่โจทก์ซื้อจากจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดไปทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ได้ ต้องเช่ารถผู้อื่นมาใช้แทนนับได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้นับตั้งแต่วันที่ถูกยึดไปและสามารถคิดดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน โจทก์มีเหตุอันสมควรที่จะคาดคิดได้ว่าถ้าโจทก์ไม่ยอมให้ยึดรถยนต์ โจทก์อาจจะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ไม่ใช่เป็นการยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ซึ่งมีอายุความ 3 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 ต้องใช้อายุความธรรมดา10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ผลของการบอกเลิกสัญญา, ความรับผิดหลังบอกเลิก, และอายุความของหนี้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรองและค้ำประกันการเข้าทำงานของ อ.ต่อโจทก์ สัญญาว่าจะร่วมรับผิดกับ อ.ในกรณีที่อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในอนาคตในขณะที่ อ. ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างของโจทก์จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2525 และได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันเมื่อเดือนพฤษภาคม 2528 อ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2526 ระหว่างที่สัญญาค้ำประกันยังมีผลใช้บังคับ การที่จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันคงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดในการกระทำของ อ. ที่ได้กระทำภายหลังมีการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 699 เท่านั้น ส่วนความผิดที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอยู่ก่อนการบอกเลิกสัญญาหาได้ระงับไปด้วยไม่ จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2108/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, อายุความค่ากระแสไฟฟ้า, และการรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสาร
โจทก์ส่งสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของโจทก์ต่อศาล แต่จำเลยมิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 โจทก์ฟ้องคดีนี้โดย ว. ผู้ว่าการของโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทน การที่โจทก์นำสืบว่าว. เป็นผู้ว่าการของโจทก์ตามสำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้ว่าการและโจทก์โดย ว.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ส. ดำเนินคดีแทน ตามหนังสือมอบอำนาจที่ส่งต่อศาล ย่อมแสดงว่า ว. เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์อยู่ในตัวเพราะการดำเนินกิจการของนิติบุคคลย่อมปรากฏจากผู้แทนของนิติบุคคลการที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 ที่บัญญัติให้ผู้ว่าการทำการแทนโจทก์มากล่าวเป็นเพียงระบุให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น มิใช่รับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กระแสไฟฟ้าของโจทก์ไปถึงหน่วยเลขที่ 5636 แต่จำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าเพียงหน่วยเลขที่ 3717จึงขาดอยู่อีก 1919 หน่วย เป็นเงิน 2,965.43 บาท ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับแล้ว และโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าเมื่อเดือนเมษายน 2526 โจทก์ได้ตรวจพบว่า จ. พนักงานของโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าของลูกค้าซึ่งรวมทั้งจำเลยด้วย โจทก์ได้ส่งพนักงานคนใหม่ไปจดหน่วยการใช้กระแสไฟฟ้าที่เครื่องวัดกระแสไฟฟ้าบ้านจำเลย จึงพบว่าจำเลยชำระค่ากระแสไฟฟ้าขาดไป อันเป็นการแสดงถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนการที่จำเลยค้างชำระค่ากระแสไฟฟ้าตั้งแต่เมื่อใดเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าอยู่ที่หน่วยใด จำเลยค้างชำระเดือนละเท่าใดคิดอัตราค่ากระแสไฟฟ้าอย่างใด เป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ.ศ. 2503 มีวัตถุประสงค์ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นการสาธารณูปโภค จึงมิได้เป็นพ่อค้าตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้า เมื่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: อายุความ 10 ปี และไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความสรุปได้ว่า โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2526 โดยจำเลยตกลงขายบ้านและที่ดินซึ่งระบุไว้ในสัญญา และจะส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่โจทก์ประมาณเดือนพฤษภาคม 2527 แสดงว่า คู่สัญญามีเจตนาจะไปโอนทรัพย์สินที่ซื้อขายกันในภายหลัง มิได้มีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์โอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อทันทีในวันทำสัญญา จึงมีลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งเพียงแต่ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดตามสัญญา ก็เรียกร้องให้บังคับระหว่างกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขาย ขอให้บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือคืนเงินที่โจทก์ได้ชำระราคาให้จำเลยไว้สิทธิเรียกร้องในกรณีนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้กำหนดอายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจะซื้อขาย & การบังคับสัญญาเมื่อโฉนดชำรุด
การฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อขาย ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะว่าให้ใช้บังคับเสียภายในระยะเวลาเท่าใด จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 การที่เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์และจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่า โฉนดที่ดินฉบับสำนักงานที่ดินชำรุด มิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยทั้งสองจะอ้างเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญากับโจทก์ไม่ได้ สัญญาจะซื้อขายยังใช้บังคับอยู่ จำเลยทั้งสองต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาชดใช้เงินคืนและการค้ำประกัน, ความสำคัญผิดในสัญญาค้ำประกัน
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นมารดาของร้อยตรี ท. เพื่อขอรับเงินบำนาญพิเศษจากโจทก์ ความจริงมิได้เป็นมารดา อาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่การที่โจทก์ได้จ่ายเงินบำนาญพิเศษให้จำเลยที่ 1 โดยมีการทำสัญญาว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยอมจะชดใช้เงินที่รับไปโดยไม่มีสิทธิหรือส่วนที่ได้รับเกินสิทธิคืนเป็นการจะชดใช้เงินคืนตามสัญญา ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่ามีอายุความเท่าใด จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชดใช้เงินดังกล่าวคืน จึงมีอายุความ 10 ปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์ว่า ถ้าจำเลยที่ 1ต้องชดใช้เงินบำนาญพิเศษคืนแก่โจทก์แต่ไม่สามารถชดใช้เงินคืนได้ จำเลยที่ 2 จะชดใช้แทน จำเลยที่ 2 เข้าใจถูกต้องทุกประการที่จะยอมรับผิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 เข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1เป็นมารดาของร้อยตรี ท. มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ความเข้าใจผิดของจำเลยที่ 2 มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาค้ำประกัน ไม่เป็นเหตุให้สัญญาค้ำประกันตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119
of 8