คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1547

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยตามประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337: ผลกระทบต่อสถานะบุคคลและการฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดแม้จะกล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ปลัดเทศบาลในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นว่าโจทก์และบุตรทุกคนของส. ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ให้จำเลยที่2ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและจำเลยที่2ได้ดำเนินการตามคำสั่งจำเลยที่1แล้วถือว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ตามโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์มีมารดาเป็นคนญวนอพยพขณะโจทก์เกิดไม่ปรากฏว่าโจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหลังจากโจทก์เกิดแล้วมารดาโจทก์จึงจดทะเบียนสมรสกับส. คนสัญชาติไทยดังนั้นในขณะโจทก์เกิดมารดาโจทก์จึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาว่าด้วยกฎหมายโจทก์ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แม้ภายหลังที่โจทก์เกิดแล้วบิดามารดาได้สมรสกันอันเป็นผลให้โจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายก็หาทำให้โจทก์เกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิ่มชื่อโจทก์ลงในทะเบียนราษฎร์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมายก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไปและการที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และสั่งให้จำเลยที่2ดำเนินการตามระเบียบจำเลยที่2จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านตามคำสั่งของจำเลยที่1เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วแม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่. โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่1เกิดเมื่อวันที่13ธันวาคม2501และโจทก์ที่2เกิดเมื่อวันที่15กรกฎาคม2503ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่16มีนาคม2504ดังนั้นในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แล้วแม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิดโจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายคือส.ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสถานะบุคคล
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น ส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมาย ก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไป และการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และสั่งให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการตามระเบียบ จำเลยที่ 2 จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้าน ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว แม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่.
โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพ ซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2501 และโจทก์ที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย มารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับ ส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2504 ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทย จึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แล้ว แม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิด โจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ ส.ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่ และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยจากประกาศ คปช. 337 กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่วๆไปอีกไม่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทยและการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 และในข้อ 3ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่วๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฯ กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่ว ๆ ไปอีกไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษ ยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และในข้อ 3 ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่ว ๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับรองบุตรพร้อมเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู และผลของการเป็นบุตรโดยคำพิพากษา
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเสียก่อน แล้วจึงมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในภายหลัง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2085/2499)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมาดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์นั้น ไม่เป็นคดีอุทลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์จนเกิดบุตรด้วยกัน 1 คน เมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีเอกสารของจำเลยแสดงชัดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(3) ก็ตาม โจทก์ก็ฟ้องได้ เพราะโจทก์ได้บรรยายได้ด้วยว่าโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรจำเลย ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(5)
การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยคำพิพากษานั้น ต้องเริ่มแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081-2087/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินบุตรผู้เยาว์ & นิติสัมพันธ์จากการมอบอำนาจ/มอบกรรมสิทธิ์
บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินอันเป็นสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของบุตร เว้นแต่ในกิจการใดประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ จะต้องได้รับอนุญาตของศาลก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
บิดานำหุ้นของบุตรผู้เยาว์ไปโอนตีใช้หนี้ส่วนตัวของบิดาประโยชน์ของบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมขัดกับประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์หากทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล แม้บุตรผู้เยาว์จะทำหนังสือให้ความยินยอมด้วย ก็เป็นโมฆะ
ผู้ถือหุ้นทำหนังสือมอบกรรมสิทธิ์ในหุ้นของตนให้บิดา บิดานำหุ้นนั้นไปโอนตีใช้หนี้ให้โจทก์ แต่ทำการโอนหุ้นกันไม่ได้ เพราะขัดกับข้อบังคับของบริษัท ดังนี้ ผู้ถือหุ้นนั้นไม่ต้องรับผิดคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์
ผู้ถือหุ้นทำหนังสือมอบอำนาจให้บิดานำหุ้นของตนไปจำนำประกันเงินกู้ ขายโอนหรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ บิดานำหุ้นนั้นไปโอนตีใช้หนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการก่อนิติสัมพันธ์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ซึ่งผูกพันผู้ถือหุ้นซึ่งมอบอำนาจนั้นด้วย เมื่อต่อมาปรากฏว่าโอนหุ้นให้โจทก์ไม่ได้ ผู้ถือหุ้นย่อมต้องรับผิดคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081-2087/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินบุตรผู้เยาว์ & หนังสือมอบอำนาจ/มอบกรรมสิทธิ์: ผลผูกพันทางกฎหมาย
บิดาผู้ใช้อำนาจปกครองมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินอันเป็นสังหาริมทรัพย์ของบุตรผู้เยาว์ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของบุตร เว้นแต่ในกิจการใดประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์ จะต้องได้รับอนุญาตของศาลก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
บิดานำหุ้นของบุตรผู้เยาว์ไปโอนตีใช้หนี้ส่วนตัวของบิดาประโยชน์ของบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมขัดกับประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์หากทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล แม้บุตรผู้เยาว์จะทำหนังสือให้ความยินยอมด้วย ก็เป็นโมฆะ
ผู้ถือหุ้นทำหนังสือมอบกรรมสิทธิ์ในหุ้นของตนให้บิดา บิดานำหุ้นนั้นไปโอนตีใช้หนี้ให้โจทก์ แต่ทำการโอนหุ้นกันไม่ได้ เพราะขัดกับข้อบังคับของบริษัท ดังนี้ ผู้ถือหุ้นนั้นไม่ต้องรับผิดคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์
ผู้ถือหุ้นทำหนังสือมอบอำนาจให้บิดานำหุ้นของตนไปจำนำประกันเงินกู้ ขายโอนหรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ บิดานำหุ้นนั้นไปโอนตีใช้หนี้ให้โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการก่อนิติสัมพันธ์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ซึ่งผูกพันผู้ถือหุ้นซึ่งมอบอำนาจนั้นด้วย เมื่อต่อมาปรากฏว่าโอนหุ้นให้โจทก์ไม่ได้ ผู้ถือหุ้นย่อมต้องรับผิดคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสัญญาแทนผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
การที่บุตรผู้เยาว์เข้าทำสัญญาเป็นลูกหนี้แทนบิดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์อย่างชัดแจ้ง สัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ จะบังคับเอาแก่ผู้เยาว์นั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่บุตรเยาว์ทำแทนบิดาโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ
การที่บุตรเยาว์เข้าทำสัญญาเป็นลูกหนี้แทนบิดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์อย่างชัดแจ้งสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ จะบังคับเอาแก่ผู้เยาว์นั้นไม่ได้
of 6