พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน, การคำนวณดอกเบี้ยค่าทดแทน, และหน้าที่วางเงินค่าทดแทน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์อีก 146,400 บาท เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องแล้วไม่เกิน 200,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ควรได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของจำเลยจึงไม่เกิน 200,000 บาท ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองเพิ่มเงินค่าทดแทนโดยปราศจากพยานหลักฐานในเรื่องราคาที่ดินของโจทก์ จึงไม่ถูกต้องเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯวินิจฉัยเพิ่มให้เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมชอบด้วยกฎหมายตามความหมายของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐานเพื่อกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
กรมทางหลวงจำเลยที่ 2 เป็นกรมในสังกัดกระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ก่อสร้างและดูแลทางหลวงแผ่นดิน การสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นงานราชการภายใต้การบริหารของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้สั่งการและรับผิดชอบ โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ดังนั้น การใดที่อธิบดีกรมทางหลวงกระทำไปในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 โดยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และการดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์อยู่ในวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ยังไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมวินิจฉัยเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียงบางส่วนไม่เต็มตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นอีกได้
คำว่า วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม หมายถึงวันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่กันในครั้งแรกซึ่งผ่านไปก่อนการฟ้องคดีแล้ว มิใช่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อโจทก์กับฝ่ายจำเลยไม่ได้ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินภายในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2538 แต่โจทก์ไม่ไปรับ ฝ่ายจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสองประกอบมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าฝ่ายจำเลยต้องนำเงินไปวางในวันถัดจากวันที่24 กุมภาพันธ์ 2538 คือ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทดแทนเวนคืน: การแยกสิทธิระหว่างผู้เช่า, เจ้าของที่ดิน และผู้เช่าช่วง
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18 (1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การกำหนดราคาค่าทดแทนที่เป็นธรรม & ดอกเบี้ยกรณีศาลวินิจฉัยให้ชำระเพิ่ม
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยหรือจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษ และในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 และเป็นผู้กระทำแทนจำเลยที่ 1 เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว...พ.ศ. 2533 กำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ย่อมมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 กระทำหรือดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินพิพาทในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ได้
โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือศาลมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินซึ่งเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมานับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น โดยไม่จำต้องรอให้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดเสียก่อน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม มาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ส่วนวันที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนไปยังโจทก์ผู้ถูกเวนคืนก็มิใช่วันวางเงินตามมาตรา 26 วรรคสุดท้าย และมาตรา 28 วรรคสองดังนั้น วันวางเงินตามความหมายแห่งกฎหมายทั้งสองบทนี้ คือวันสิ้นสุดกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของฝ่ายจำเลยให้ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทน และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใด จึงต้องถือวันเดือนปี ที่ออกหนังสือดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นนับกำหนดเวลา
จำเลยมีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยภายใน 60 วัน หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 สิ้นสุด 60 วัน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2536วันวางเงินค่าทดแทนจึงเป็นวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 ดังนั้น วันเริ่มคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มจึงเป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าทดแทนเสร็จ
โจทก์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือศาลมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินซึ่งเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศดอกเบี้ยขึ้นลง แต่ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมานับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น โดยไม่จำต้องรอให้มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดเสียก่อน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ประกอบมาตรา 28 วรรคสอง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม มาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ส่วนวันที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทนไปยังโจทก์ผู้ถูกเวนคืนก็มิใช่วันวางเงินตามมาตรา 26 วรรคสุดท้าย และมาตรา 28 วรรคสองดังนั้น วันวางเงินตามความหมายแห่งกฎหมายทั้งสองบทนี้ คือวันสิ้นสุดกำหนดระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ได้รับหนังสือของฝ่ายจำเลยให้ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทน และเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใด จึงต้องถือวันเดือนปี ที่ออกหนังสือดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นนับกำหนดเวลา
จำเลยมีหนังสือแจ้งการวางเงินค่าทดแทน โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยภายใน 60 วัน หนังสือแจ้งให้โจทก์ไปติดต่อทำสัญญารับเงินค่าทดแทนลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2536 สิ้นสุด 60 วัน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2536วันวางเงินค่าทดแทนจึงเป็นวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 ดังนั้น วันเริ่มคิดดอกเบี้ยเงินค่าทดแทนเพิ่มจึงเป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าฝ่ายจำเลยจะชำระค่าทดแทนเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับจากวันที่วางเงิน และอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเงินฝากออมสิน
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่งจึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536 เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536หาใช่นับแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่าอัตราที่โจทก์ขอมาโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกัน โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536 เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536หาใช่นับแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ สำหรับอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เท่าอัตราที่โจทก์ขอมาโดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว
เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5875/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และการกำหนดวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้าย ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตรา สูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับตั้งแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือลงวันที่ 25 ตุลาคม 2536 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดิน ที่ถูกเวนคืน เพราะเมื่อเอาราคาที่ดินที่สูงขึ้นของที่ดิน ที่เหลือจากการเวนคืนหักออกจากเงินค่าทดแทนแล้วเกลือนกลืนกันโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2536เมื่อปรากฏความจริงว่าฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์จำนวน 2,780,000 บาท ฝ่ายจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนจำนวนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับจำเลยทั้งสามต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางนับแต่วันที่โจทก์รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 27 ตุลาคม 2536 ดังนี้ วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงเป็นวันที่ 27 ตุลาคม 2536 หาใช่นับแต่วันที่25 ตุลาคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ลงในหนังสือไม่ และอัตราดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าทดแทนที่โจทก์จะได้รับก็จะต้องเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่เกินอัตราร้อยละที่โจทก์ขอมา โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องอัตราดอกเบี้ย สูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินว่ามีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏชัดว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ในชั้นนี้ศาลจึงยังไม่นำเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยมาหักออก แต่หากมีรายจ่ายเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดกับดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำมาหักกันในชั้นบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืนและการคิดดอกเบี้ยกรณีเจ้าหน้าที่แจ้งล่าช้า
หลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ แขวงสวนหลวง แขวงประเวศ เขตพระโขนง และแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองประเวศ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ประกาศใช้บังคับแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 28 วรรคแรก แต่กลับมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมาตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นมาเป็นเหตุอ้างให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิที่ควรจะได้ย่อมไม่ถูกต้อง ทั้งการเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 15 ซึ่งมาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นใช้บังคับ จึงต้องถือว่าวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าวคือวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 นั่นเอง ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมากฯ พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2532เมื่อนับถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2535 ที่โจทก์ขอมา จึงเกินกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันดังกล่าวแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: การครอบครองที่ดินโดยไม่ชำระค่าทดแทน และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหลวงขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ หัวหน้าแผนกพิจารณาอุทธรณ์และคำร้องกองกฎหมายและคดี หัวหน้าแผนกสำรวจ กองรังวัดและที่ดิน ฝ่ายการโยธาเทศบาลนครหลวงหรือของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ในปัจจุบันเป็นกรรมการเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และมีประกาศของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าของที่ดินยื่นคำขอรับเงินค่าทดแทนจากคณะกรรมการเวนคืน นอกจากนี้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188ข้อ 3 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497มาตรา 8,10 ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อใช้เงินหรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว แสดงความมุ่งหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาทก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ. 2526 จำเลยที่ 1ได้เข้าครอบครองทำถนนโดยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทขณะนั้น ตามประกาศของคณะปฏิวัติแต่อย่างใดเมื่อ ส. ทวงถาม จำเลยที่ 1 กลับมีหนังสือตอบผัดผ่อนเรื่อยมาโดยไม่ได้โต้แย้งให้ทวงถามค่าทดแทนจากบุคคลอื่น โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกจาก ส. จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1ได้จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเหตุที่ไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาลเป็นข้อแก้ตัวได้ เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบบ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 36 วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามหรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-ดอกเบี้ย-อำนาจฟ้อง-การครอบครองปรปักษ์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 นายกเทศมนตรีเทศบาลนครหลวงขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ หัวหน้าแผนกพิจารณาอุทธรณ์และคำร้อง กองกฎหมายและคดี หัวหน้าแผนกสำรวจ กองรังวัดและที่ดิน ฝ่ายการโยธาเทศบาลนครหลวงหรือของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ในปัจจุบันเป็นกรรมการเวนคืนที่ดินพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และมีประกาศของจำเลยที่ 1 ให้เจ้าของที่ดินยื่นคำขอรับเงินค่าทดแทนจากคณะกรรมการเวนคืน นอกจากนี้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ข้อ 3 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 8, 10 ให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่จะมีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินได้ต่อเมื่อใช้เงินหรือวางเงินค่าทดแทนแล้ว แสดงความมุ่งหมายของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาทก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ.2526 จำเลยที่ 1 ได้เข้าครอบครองทำถนนโดยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ ส.เจ้าของที่ดินพิพาทขณะนั้น ตามประกาศของคณะปฏิวัติแต่อย่างใดเมื่อ ส.ทวงถาม จำเลยที่ 1 กลับมีหนังสือตอบผัดผ่อนเรื่อยมาโดยไม่ได้โต้แย้งให้ทวงถามค่าทดแทนจากบุคคลอื่น โจทก์ซึ่งเป็นทายาทรับมรดกจาก ส.จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ได้จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกเหตุที่ไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาลเป็นข้อแก้ตัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม หรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าคณะรัฐมนตรีมีมติให้โอนสิทธิในที่ดินพิพาทไปให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยภายหลังก็หาทำให้โจทก์สิ้นสิทธิเรียกค่าทดแทนซึ่งมีอยู่เดิมแล้วแต่อย่างใดไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 188 ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายอีกด้วย
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36วรรคสอง การเวนคืนและการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้กำหนดค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 23 วรรคสอง เป็นการมิชอบและกรณีไม่ใช่เรื่องการชำระค่าทดแทนเพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม หรือการจ่ายค่าทดแทนล่าช้าตามมาตรา 28 และมาตรา 33 การคำนวณดอกเบี้ยในค่าทดแทนตามมาตราดังกล่าวจึงไม่อาจนำมาปรับในค่าทดแทนในกรณีนี้ได้ และเมื่อไม่มีบทบัญญัติกฎหมายโดยเฉพาะ โจทก์ก็ชอบที่จะได้ดอกเบี้ยในค่าทดแทนที่ยังมิได้รับชำระในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้เรียกดอกเบี้ยได้มีกำหนด 10 ปีนับแต่วันฟ้องย้อนขึ้นไป จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์เฉพาะในส่วนนี้ ศาลฎีกาจึงไม่มีเหตุจะแก้ไข