พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: คณะอนุกรรมการมีหน้าที่รายงานความเห็นเพื่อดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ส่งตัวจำเลยไปเพื่อตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด โดยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยมีคำสั่งให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูแบบควบคุมตัวเข้มงวดและอยู่ภายใต้การดูแลของพนักงานคุมประพฤติโดยกำหนดเงื่อนไข หากสถานที่ฟื้นฟูไม่ว่างให้เข้ารับการฟื้นฟูแบบควบคุมตัวไม่เข้มงวดหรือแบบไม่ควบคุมตัวในหลักสูตรสำนักงานคุมประพฤติเป็นเวลา 120 วัน โดยให้มารายงานตัวไม่น้อยกว่าเดือนละ 4 ครั้ง ฟื้นฟูตามโปรแกรมปรับตัวกลับสู่สังคมเป็นเวลา 60 วัน ให้ทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อฝึกความรับผิดชอบและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และยินยอม ให้ตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดตามดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยมีคำสั่งว่าภายหลังคณะอนุกรรมการมีคำวินิจฉัยให้ขยายระยะเวลาฟื้นฟูเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2555 แล้วนั้น ผู้เข้ารับการฟื้นฟูมารายงานตัว 2 ครั้ง จากนั้นไม่มารายงานตัว พนักงานคุมประพฤติได้ออกหนังสือเตือน 1 ครั้ง ผู้เข้ารับการฟื้นฟูจึงมารายงานตัวอีก 2 ครั้ง จากนั้นก็ไม่มารายงานตัวอีก พนักงานคุมประพฤติจึงได้ออกหนังสือเตือนอีก 1 ครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดนัดก็ไม่มาพบ โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง จึงมีคำวินิจฉัยว่า ผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจ ให้รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่อไปตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง จากข้อเท็จจริงดังกล่าว แสดงว่าจำเลยได้เข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง โดยได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผน การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยครบถ้วนแล้ว ต่อมาคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย ได้มีคำวินิจฉัยให้ขยายระยะเวลาการฟื้นฟูจำเลยออกไปอีก แต่ภายในเวลาที่ขยายระยะเวลาการฟื้นฟู จำเลยมารายงานตัวไม่ครบแล้วไม่มารายงานตัวอีก คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัย จึงมีความเห็นว่าผลการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจและให้รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่อไป ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยได้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจนครบกำหนดเวลาตามมาตรา 25 แล้ว
เมื่อผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยจึงมีหน้าที่รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
เมื่อผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังไม่เป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดสุโขทัยจึงมีหน้าที่รายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีต่อไปตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 33 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15050/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาภายใต้ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: ต้องรอผลการฟื้นฟูก่อน
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 เป็นมาตรการของรัฐที่ต้องการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดไม่ว่าผู้นั้นจะยินยอมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือไม่ก็ตาม โดยศาลจะมีคำสั่งให้ส่งตัวผู้ติดยาเสพติดไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดก่อน และคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ผู้ใดเป็นผู้เสพหรือติดยาเสพติด จากนั้นต้องจัดให้มีแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 22 โดยคำนึงถึงความหนักเบาของการเสพหรือติดยาเสพติดของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 23 ซึ่งผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องถูกบังคับให้อยู่รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามแผนฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ซึ่งอาจขยายหรือลดระยะเวลาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามความเหมาะสมตามมาตรา 25 หากผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนระเบียบ เงื่อนไข หรือข้อบังคับที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จับตัวผู้นั้นกลับเข้าไว้ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัวไว้โดยให้ถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขังตามมาตรา 190 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจติดตามจับกุมตัวผู้นั้นได้ด้วยตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมีอำนาจลงโทษตามมาตรา 32 ได้อีกด้วย การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 จึงมีวัตถุประสงค์แก้ไขฟื้นฟูผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดทุกคนเพื่อประโยชน์ของสังคมเป็นส่วนรวม โดยไม่จำเป็น ต้องคำนึงถึงว่าผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติดจะเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบควบคุมตัวหรือแบบไม่ควบคุมตัวตามมาตรา 23 หรือไม่ ดังนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงต้องดำเนินการตามมาตราดังกล่าวก่อนแล้วคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจึงจะมีอำนาจพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครราชสีมามีคำวินิจฉัยให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบไม่ควบคุมตัวในโปรแกรมคุมประพฤติ 180 วัน อบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 หลักสูตร พร้อมทั้งให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูโดยไม่เข้ารับการฟื้นฟู และพนักงานคุมประพฤติได้แจ้งเตือนจำเลยแล้ว แต่จำเลยก็ไม่มาเข้ารับการฟื้นฟู จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครราชสีมากำหนดไว้ เมื่อมาตรา 33 บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครราชสีมา อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครราชสีมามีคำวินิจฉัยให้จำเลยเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบไม่ควบคุมตัวในโปรแกรมคุมประพฤติ 180 วัน อบรมพัฒนาคุณภาพชีวิต 1 หลักสูตร พร้อมทั้งให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูโดยไม่เข้ารับการฟื้นฟู และพนักงานคุมประพฤติได้แจ้งเตือนจำเลยแล้ว แต่จำเลยก็ไม่มาเข้ารับการฟื้นฟู จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดที่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครราชสีมากำหนดไว้ เมื่อมาตรา 33 บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเพื่อประกอบการดำเนินคดีผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เมื่อผู้นั้นเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดครบถ้วนตามกำหนดเวลาแล้ว แต่ผลการฟื้นฟูยังไม่เป็นที่พอใจ การที่ได้ตัวจำเลยมาหลังจากที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนการฟื้นฟูดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่นำตัวจำเลยกลับไปบำบัดแก้ไขตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครราชสีมา อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้ครบถ้วนตามมาตรา 25 ก่อน เมื่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวข้างต้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15049/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีอธิบดียังมิได้กำหนดประเภทยาเสพติด
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย เมื่ออธิบดีกรมตำรวจยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14921/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปรับบทลงโทษอาญา: เลือกใช้กฎหมายที่มีโทษปรับสูงกว่า แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับ
ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท ส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท แม้ความผิดทั้งสองฐานจะมีระวางโทษจำคุกเท่ากัน แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ดังนี้ ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง จึงมีระวางโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก แม้ศาลไม่ได้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองก็ตาม เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เป็นกฎหมายบทที่มีโทษปรับหนักกว่าความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 วรรคแรก ศาลจึงต้องใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดปรับบทลงโทษแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14768/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตฎีกาในคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
ศาลชั้นต้นริบรถจักรยานยนต์ของกลางตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 เนื่องจากรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้ในการเดินทางนำเมทแอมเฟตามีนมาจำหน่ายให้แก่สายลับและเจ้าพนักงานซึ่งอำพรางตัวเข้าล่อซื้อการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ด้วย ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติว่า "ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยมิชักช้า และภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 16 และมาตรา 19 คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า" ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งแล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" ดังนี้ เมื่อผู้ร้องฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14588/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องควบคู่กับคำพิพากษา หากอุทธรณ์เฉพาะคำสั่งระหว่างพิจารณา
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีพฤติการณ์ประวิงคดีและคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงให้งดไต่สวนมูลฟ้อง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และในวันเดียวกันศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 196 บัญญัติว่า คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญและมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองที่อุทธรณ์ว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดไต่สวนพยานโจทก์ทั้งสองโดยอ้างว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองในส่วนที่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าข้อความที่จำเลยทั้งสองแจ้งต่อพนักงานสอบสวนไม่เป็นข้อความเท็จว่าไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ถือว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองเป็นเพียงการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14359/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร - โจทก์ต้องพิสูจน์เจตนา 'รู้' ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด
ในคดีความผิดฐานรับของโจรนั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 รับทรัพย์ของกลางไว้ โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ไม่ใช่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของกลางนั้น จำเลยที่ 1 จะต้องนำสืบแก้ตัวว่าตนไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 รับแหวนทองฝังเพชรรูปข้าวหลามตัด 1 วง กล่องทองเหลืองรูปทรงกลมมีข้อความ "นครหลวงไทย" 3 กล่อง ตะกรุด 4 อัน และพระเครื่อง 50 องค์ ของกลาง โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ลำพังคำรับของจำเลยที่ 1 ที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวมาจากชายคนหนึ่ง และคำรับของจำเลยที่ 1 ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา ก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้ให้การปฏิเสธในชั้นศาลว่าจำเลยที่ 1 ไม่รู้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด พยานหลักฐานโจทก์จึงยังมีข้อสงสัยอยู่ตามสมควรว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14188/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาชั้นต้น และการโต้เถียงดุลพินิจถือเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
โจทก์ร่วมฎีกาว่า อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในความผิดฐานบุกรุกเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย โดยโจทก์ร่วมอุทธรณ์ว่า โจทก์ร่วมไม่ได้ให้ อ. พี่ชายโจทก์ร่วม เป็นผู้ดูแลกิจการอาคารที่เกิดเหตุ โจทก์ร่วมไม่เคยมอบอำนาจและไม่เคยให้อำนาจ อ. กระทำการเกี่ยวกับอาคารแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้ห้ามจำเลยเข้ามาในอาคารและห้ามนำอาหารมาให้บิดามารดาโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมห้ามปรามอย่างเด็ดขาดแล้วจำเลยยังเข้าไปอีก ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร เห็นว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า อ. เป็นผู้ดูแลกิจการร้านเกิดเหตุและพักอาศัยอยู่ในร้าน แม้ อ. จะมิได้เป็นเจ้าของร้าน แต่ก็ถือได้ว่า อ.เป็นผู้ดูแลครอบครองร้านเกิดเหตุ เมื่อ อ. ยินยอมให้จำเลยเข้าไปภายในร้านจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุก ดังนี้ ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงก่อนว่า อ. มีสิทธิให้จำเลยเข้าไปในร้านที่เกิดเหตุหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น อันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงชอบแล้ว
ส่วนที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ถือว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า คดีนี้มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 และมาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะปฏิบัติเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว มิได้มีบทบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 กล่าวคือ โจทก์ร่วมต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่โจทก์ร่วมไม่ได้ยื่นคำร้องดังที่กล่าวข้างต้น ดังนี้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ส่วนที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ถือว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า คดีนี้มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 และมาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งขั้นตอนในการที่จะปฏิบัติเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว มิได้มีบทบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 กล่าวคือ โจทก์ร่วมต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่โจทก์ร่วมไม่ได้ยื่นคำร้องดังที่กล่าวข้างต้น ดังนี้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14188/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาชั้นต้นก่อน และการวินิจฉัยอำนาจผู้ดูแลครอบครอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า อ. เป็นผู้ดูแลกิจการร้านเกิดเหตุ และพักอาศัยอยู่ในร้านเกิดเหตุ แม้ อ. จะมิได้เป็นเจ้าของร้านเกิดเหตุ แต่ก็ถือได้ว่า อ. เป็นผู้ดูแลครอบครองร้านเกิดเหตุ เมื่อ อ. ยินยอมให้จำเลยเข้าไปภายในร้านเกิดเหตุ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุก ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเพราะโจทก์ร่วมอนุญาตให้ อ. มีสิทธิเฉพาะทำการค้าขาย ทำงานเพื่อมีรายได้สำหรับ อ. ไว้ใช้จ่ายของ อ. เอง โจทก์ร่วมไม่ได้ให้ อ. เป็นผู้ดูแลกิจการอาคารที่เกิดเหตุ โจทก์ร่วมไม่เคยมอบอำนาจและไม่เคยให้อำนาจ อ. กระทำการเกี่ยวกับอาคารแทนโจทก์ร่วมเลย ยังปรากฏชัดว่า โจทก์ร่วมได้ห้ามจำเลยเข้ามาในอาคารที่เกิดเหตุ และห้ามจำเลยนำอาหารมาให้บิดามารดาโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมห้ามปรามอย่างเด็ดขาดแล้ว จำเลยยังเข้าไป ถือได้ว่าจำเลยเข้าไปในบ้านโจทก์ร่วมโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงก่อนว่า อ. มีสิทธิให้จำเลยเข้าไปในร้านที่เกิดเหตุหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น อันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมนั้นชอบแล้ว
การขออนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 กล่าวคือ โจทก์ร่วมต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวข้างต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่อาจถือได้ว่า ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
การขออนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 กล่าวคือ โจทก์ร่วมต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ยื่นคำร้องดังกล่าวข้างต้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่อาจถือได้ว่า ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13947/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง: การออกข้อกำหนดห้ามเสพยาเสพติดให้โทษต้องครอบคลุมเฮโรอีนหรือไม่
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพเฮโรอีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง