พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกบัญชีรายชื่อพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีแพ่ง
จำเลยทั้งสองมิได้อ้างสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 6310/2534 ในบัญชีระบุพยาน แต่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความแถลงรับกันว่าโจทก์ได้เป็นพยานเบิกความไว้ที่ศาลแพ่ง ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 6310/2534 แต่คำเบิกความดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังติดต่อขอคัดไม่ได้เนื่องจากสำนวนคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โดยจำเลยรับจะดำเนินขอคัดคำเบิกความดังกล่าวและอ้างส่งต่อศาลในภายหลังและต่อมาศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความแถลงรับว่าทนายจำเลยทั้งสองขออ้างคำเบิกความดังกล่าว ศาลหมาย ล.9 ให้แยกเก็บและให้เสียค่าอ้าง และได้มีการนัดสืบพยานโจทก์ต่อไปอีก 2 นัด โดยโจทก์มิได้โต้แย้งหรือคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง ดังนี้เมื่อบันทึกคำเบิกความโจทก์ตามเอกสารหมาย ล.9เป็นพยานสำคัญเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากการเช่านา การฟ้องซ้ำและอำนาจศาลรับฟังพยาน
คดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยได้ถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าโจทก์ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาจำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524เมื่อโจทก์บอกยกเลิกการเช่าโดยมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจฟ้องภายหลังคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีกโดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าที่ดินให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524แต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่เช่าประเด็นวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นเหตุแตกต่างจากคดีก่อนไม่เป็นฟ้องซ้ำ จำเลยโต้แย้งเรื่องการที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.2ให้จำเลยในชั้นพิจารณาเป็นการฝ่าฝืนมาตรา90แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่เมื่อคดีนี้มีประเด็นเรื่องการบอกเลิกการเช่าเป็นประเด็นสำคัญเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจที่จะรับฟังพยานเอกสารหมายจ.2ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดใช้ค่าจัดการศพ/ขาดไร้อุปการะ: ศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ส่งก่อนสืบพยาน, ผู้ตายประมาทเลินเล่อ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาท และให้จำเลยที่ 2ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง 1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาท ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 90 (เดิม)วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่นำสืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87 (2)
แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วย ส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8358/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: ประมาทเลินเล่อของผู้ตาย, การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะ, และขอบเขตการรับฟังพยาน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 27,033.33 บาทและให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 192,000 บาท ซึ่งเท่ากับให้ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์คนละ 96,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ประมาทเลินเล่อหรือหากมีส่วนประมาทเลินเล่อก็เพียง1 ใน 4 ส่วน ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพไม่เกิน 20,000 บาทค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสองรวมกันไม่เกิน 1,200 บาทต่อเดือน เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ทั้งสองได้ระบุอ้างบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายไว้ในบัญชีระบุพยานโดยชอบแล้ว แม้มิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า3 วัน อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) วรรคแรก แต่โจทก์ทั้งสองก็อ้างส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลในวันสืบพยานนัดแรกซึ่งโจทก์ทั้งสองมีหน้าที่สืบก่อน เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 มีโอกาสจะซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวและมีโอกาสที่จะนำสืบหักล้างเอกสารดังกล่าวได้ การรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2เสียเปรียบแต่ประการใด ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลจึงมีอำนาจที่จะรับฟังบัญชีค่าใช้จ่ายในการจัดการศพผู้ตายตามเอกสารดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) แม้ผู้ตายมิได้ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินรถของรถยนต์โดยสารก็ตาม แต่การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นมาด้วยความเร็วสูงผ่านโค้งก่อนถึงที่เกิดเหตุและไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย และเมื่อรถสวนกันก็ไม่ขับชิดด้านซ้ายของทางเดินรถ ซึ่งเป็นการไม่ปฎิบัติ ตามกฎหมายจึงเกิดชนกับรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับสวนทางมา ถือได้ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะย่อมกำหนดตามฐานะของผู้ตายและฐานะของผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ถ้าหากเคยได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจริงก็นำมาพิจารณาประกอบด้วยส่วนระยะเวลาในอนาคตที่จะคำนวณค่าขาดไร้อุปการะเป็นจำนวนเดียวนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าตามความหวังที่มีเหตุผลหากผู้ตายมีชีวิตอยู่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูได้เพียงใด และเป็นเวลานานเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7937/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานแม้ขาดสำเนาบัญชีระบุพยาน: ศาลมีดุลยพินิจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ความตอนท้ายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)บัญญัติยกเว้นไว้ว่าถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้คดีอาญาเรื่องนี้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88แล้วเพียงแต่ขาดสำเนาเพื่อส่งแก่จำเลยจำเลยมีโอกาสไปขอตรวจดูบัญชีระบุพยานที่ยื่นไว้ต่อศาลได้อยู่แล้วทั้งในการสืบพยานโจทก์ทุกปากจำเลยได้ถามค้านพยานจำเลยไม่เสียเปรียบและไม่ได้รับความเสียหายโจทก์ไม่ได้ประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7937/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกบัญชีรายชื่อพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ความตอนท้ายของ ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)บัญญัติยกเว้นไว้ว่าถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ คดีอาญาเรื่องนี้ โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แล้ว เพียงแต่ขาดสำเนาเพื่อส่งแก่จำเลยจำเลยมีโอกาสไปขอตรวจดูบัญชีระบุพยานที่ยื่นไว้ต่อศาลได้อยู่แล้ว ทั้งในการสืบพยานโจทก์ทุกปาก จำเลยได้ถามค้านพยานจำเลยไม่เสียเปรียบและไม่ได้รับความเสียหายโจทก์ไม่ได้ประสงค์จะเอาปรียบในทางคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ: ประเด็นการนำสืบพยานและข้อจำกัดในการฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ต้องฟังว่า ต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีแล้วนั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ 20 ปีมาแล้ว ต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้ กล้วย เท่านั้นซึ่งเท่ากับว่า ต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า 1 ปี
ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิครอบครองเดิม, การครอบครองปรปักษ์, และหลักฐานการครอบครอง
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้วต้องฟังว่า ต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีแล้วนั้นตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ 20 ปีมาแล้ว ต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้กล้วยเท่านั้นซึ่งเท่ากับว่าต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า 1 ปี ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้วตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู้กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิโดยพยานหลักฐานและผลของการครอบครองปรปักษ์
ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ20ปีมาแล้วต้องฟังว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า1ปีแล้วนั้นตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ20ปีมาแล้วต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้กล้วยเท่านั้นซึ่งเท่ากับว่าต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้นไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า1ปี ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา10กว่าปีแล้วตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้นแม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้วแต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู้กระบวนการพิจารณาของศาลอีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วยจึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตายจำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา1375ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบัญชีระบุพยานแม้ยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่ครบ 15 วัน หากไม่มีเจตนาฝ่าฝืนหรือเอาเปรียบ
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 4 ตุลาคม 2536 แม้จะเป็นเวลาน้อยกว่าสิบห้าวันก้อนวันชี้สองสถาน แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์มีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานได้จนถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2536 แต่วันดังกล่าวเป็นวันอาทิตย์หยุดราชการ รุ่งขึ้นวันที่ 4 โจทก์ก็ยื่นบัญชีระบุพยานทันที ทั้งปรากฏด้วยว่าโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอส่งสำเนาเอกสารที่โจทก์ได้อ้างเป็นพยานตามบัญชีระบุพยานให้แก่ศาลและจำเลยได้รับไปจากศาลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536แล้วเช่นนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มิได้จงใจฝ่าฝืนและเอาเปรียบจำเลยฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานน้อยกว่าสิบห้าวันและมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานต่อศาลแต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรได้รับบัญชีระบุพยานของโจทก์ได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) จำเลยฎีกาโต้แย้งว่าที่ศาลอุทธรณ์ให้รับบัญชีระบุพยานของโจทก์เป็นการไม่ชอบ เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง 200 บาท จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์สินที่พิพาทจึงเสียเกินมา ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งคืนแก่จำเลย