พบผลลัพธ์ทั้งหมด 182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การรับฟังพยานหลักฐานการสมรสที่ยื่นผิดระเบียบ และเอกสารมหาชน
ปัญหาที่ว่ามีการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับมารดาผู้ตายหรือไม่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีซึ่งหากจะให้ความยุติธรรมดำเนินไปด้วยดีแล้วจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารใบสำคัญการสมรสการที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวที่ยื่นโดยผิดระเบียบจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2) ต้นฉบับใบสำคัญการสมรสเป็นเอกสารมหาชนเพราะเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายได้ทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนใช้อ้างอิงจึงสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำคัญ แม้ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสาร แต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แสดงว่า ท.เป็นเจ้าของผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันเกิดเหตุ ทั้งเป็นเอกสารสำคัญ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และแม้โจทก์จะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามกฎหมาย แต่เมื่อพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อใช้ประกอบดุลพินิจที่จะฟังว่าโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำคัญ แม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่าย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้โจทก์จะไม่ได้รับอนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารแต่เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แสดงว่า ท. เป็นเจ้าของผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันเกิดเหตุทั้งเป็นเอกสารสำคัญศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)และแม้โจทก์จะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยที่2และที่3ตามกฎหมายแต่เมื่อพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อใช้ประกอบดุลพินิจที่จะฟังว่าโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วเข้า รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เมื่อฝ่ายผู้เสียหายเป็นผู้เริ่มทำร้ายและมีจำนวนมากกว่า
ผู้เสียหายกับพวกมีเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่าเป็นพวกเดียวกันร้องรำทำเพลงอันมีลักษณะเตรียมการล่วงหน้ากันมาก่อนแล้วปลูกต้นกล้วยในทางที่รู้ว่าจำเลยกับพวกจะต้องผ่านเมื่อจำเลยกับพวกขอผ่านเพื่อกลับบ้านผู้เสียหายกับพวกไม่ยอมหลีกทางให้และเข้าทำร้ายจำเลยกับพวกซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าก่อนจึงเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตัวให้พ้นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายได้ทั้งอาวุธที่จำเลยกับพวกใช้ก็เป็นเพียงเครื่องใช้ปกติในการประกอบอาชีพและบาดแผลที่ผู้เสียหายกับพวกได้รับไม่ร้ายแรงมากนักถือว่าจำเลยป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุจำเลยจึงไม่มีความผิด จำเลยได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วและยังสืบพยานไม่เสร็จได้ขอให้นำสำนวนคดีอาญาอื่นมาผูกรวมกับสำนวนโดยจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานส่วนนี้เพิ่มเติมศาลอนุญาตดังนี้สำนวนคดีอาญาดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้แล้วศาลชอบที่จะนำคำเบิกความของพยานบุคคลในสำนวนนั้นมาฟังประกอบวินิจฉัยคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5853/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติม: ศาลมีอำนาจรับฟังเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
เหตุที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารใบรับเงินให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยาน ก็เนื่องจากโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารดังกล่าว และได้ยื่นบัญชีระบุพยานเข้ามาในระหว่างที่ยังสืบพยานโจทก์ไม่เสร็จ จำเลยย่อมมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวและนำพยานมาสืบหักล้างได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเช่นว่านั้น จึงมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5853/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังสืบพยานไปแล้ว ศาลมีอำนาจได้หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
เหตุที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารใบรับเงินให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยาน ก็เนื่องจากโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารดังกล่าว และได้ยื่นบัญชีระบุพยานเข้ามาในระหว่างที่ยังสืบพยานโจทก์ไม่เสร็จ จำเลยย่อมมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวและนำพยานมาสืบหักล้างได้ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในการที่จะให้การวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อสำคัญในคดีเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมจำเป็นต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเช่นว่านั้น จึงมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเบิกความของผู้ถูกร้องในคดีไม่มีข้อพิพาท เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คดีไม่มีข้อพิพาท ศาลอาจเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นจำเป็น และวินิจฉัยชี้ขาดตามที่เห็นสมควรและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(2) ทั้งศาลสามารถรับฟังพยานที่คู่ความมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานได้ ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) อีกทั้งเมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดก ศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดให้ผู้ร้องทำคำคัดค้านในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความมาศาลทุกนัดทั้งได้ถามค้านพยานที่ผู้คัดค้านนำเข้าสืบในการไต่สวนด้วยแม้ผู้ร้องจะไม่ได้ยื่นหรือแถลงขอให้ศาลจดคำคัดค้านไว้ แต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความมาศาลและถามค้านพยานผู้คัดค้านเช่นนี้ ก็ย่อมแสดงให้เห็นได้โดยปริยายว่า ผู้ร้องมีเจตนาคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านผู้ร้องเป็นผู้ที่จะถูกถอนอำนาจในการจัดการมรดก ศาลชั้นต้นจึงควรที่ไต่สวนฟังข้อเท็จจริงและเหตุผลต่าง ๆ จากผู้ร้องบ้าง เพื่อจะได้นำมาวินิจฉัยชี้ขาดได้ถูกต้องแท้จริงแห่งความยุติธรรม ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมควรให้โอกาสผู้ร้องเข้าเบิกความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องหนี้สัญญา กู้ยืม และการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลมีอำนาจรับฟังได้หากมีเหตุผลความจำเป็น
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518 ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืนมีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่2 มีนาคม 2532 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปี ดังนี้เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลยทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้ว จำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง (เดิม) ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วคงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531เป็นต้นเงิน 164,000 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน164,600 บาท ที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเองส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วันดังที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเรื่องอายุความ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, การส่งเอกสารสืบพยาน และดุลพินิจศาล
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน มีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2532ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปีดังนี้ เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลย-ทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้วจำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา180 วรรคสอง (เดิม)
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นเงิน 164,600 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน 164,600 บาทที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเอง ส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ดังที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นเงิน 164,600 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน 164,600 บาทที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเอง ส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ดังที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน แต่เป็นประโยชน์ต่อความยุติธรรม
แม้โจทก์จะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารทั้งหมดหรือบางส่วนโดยเฉพาะด้านหลังเช็คที่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 สลักหลังไว้ให้แก่จำเลยที่ 3 ก่อนวันสืบพยานตามที่ระบุไว้ในมาตรา 90(เดิม) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวมิได้บังคับโดยเด็ดขาดตายตัว หากเอกสารที่อ้างนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวก็เป็นข้อแสดงให้เห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้จะฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(เดิม) ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้