พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดชอบการล้มละลายของบริษัท หากบริหารงานผิดพลาดและก่อหนี้โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ
จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4ถึงที่ 6 ย่อมทราบดีถึงศักยภาพในการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6ค้าขายขาดทุนจนไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ยืมแก่เจ้าหนี้ได้ ย่อมเป็นเพราะความประมาทหรือความผิดพลาดของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 2 ก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน โดยไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าจะสามารถชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 จึงเป็นกรณีอันควรตำหนิจำเลยที่ 2 นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ยังมิได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจตกต่ำมีผลกระทบอย่างไรแก่การประกอบธุรกิจ ซึ่งหากจำเลยที่ 2 บริหารงานไม่ผิดพลาด การค้าขายก็คงไม่ขาดทุนถึงเพียงนี้ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจากล้มละลายต้องพิจารณาความผิดพลาดในการบริหารงานและเจตนาของผู้ล้มละลาย
ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงให้ได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73 แล้วจึงมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีทรัพย์สินเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันไม่ใช่ผลธรรมดาอันเนื่องมาจากการค้าขายขาดทุนและไม่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลอันมีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าจำเลยทั้งสองสามารถชำระหนี้โจทก์ได้จึงได้ก่อหนี้ขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งมิได้นำบัญชีในการประกอบธุรกิจและงบดุลประจำปีในระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายมาแสดงต่อศาลเพื่อให้เห็นฐานะของกิจการโดยถูกต้องตามจริง พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามมาตรา 74 ว่าจำเลยทั้งสองขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ เมื่อข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดตามมาตรา 73(1) และ (3)ประกอบกับโจทก์คัดค้าน จึงนับว่ามีเหตุที่ไม่สมควรปลดจำเลยทั้งสองจากล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจากล้มละลาย: พิจารณาจากทรัพย์สิน, การบริหารจัดการ, และความสามารถในการชำระหนี้
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 เป็น บุคคล ล้มละลาย เมื่อ นับ ถึง วันที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ยื่น คำร้องขอ ปลด จาก ล้มละลาย เป็น เวลา เพียง 2 ปี 7 เดือน เศษ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม และ ทำ บัญชี ส่วนแบ่ง ให้ โจทก์ ได้รับ ชำระหนี้ เพียง ครั้งเดียว เป็น เงิน 729,785.96 บาท หรือ คิด เป็น ร้อยละ 1.54 ของ หนี้ ทั้งหมด โจทก์ ยัง มีสิทธิ ได้รับ ชำระหนี้ อีก 46,568,912.44 บาท และ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย ทั้ง สาม ได้ อีก และ การ ที่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มี ทรัพย์สิน เหลือ ไม่ถึง ห้า สิบ ใน ร้อย ของ หนี้ ที่ ไม่มี ประกัน ไม่ใช่ ผล ธรรมดา อัน เนื่องมาจาก การค้า ขาย ขาดทุน และ ไม่ใช่ เป็นเหตุ สุดวิสัย แต่ เป็น เพราะ ความผิด พลาด ใน การ บริหาร งาน ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 อันควร จะ ตำหนิ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่อาจ แสดง ให้ เป็น ที่ พอใจ ต่อ ศาล ได้ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 มีเหตุ ผล ที่ ควร เชื่อ ได้ว่า ตน สามารถ ชำระหนี้ โจทก์ ได้ จึง ได้ ก่อหนี้ ขึ้น เป็น จำนวน มาก ทั้ง มิได้ นำ บัญชี ใน การ ประกอบ ธุรกิจ และ งบดุล ประจำปี ใน ระยะเวลา 3 ปี ก่อน ล้มละลาย มา แสดง ต่อ ศาล เพื่อ ให้ เห็น ฐานะ ของ กิจการ โดย ถูกต้อง ตาม จริง พฤติการณ์ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ต้องด้วย สันนิษฐาน ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 74 ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ขืน กระทำการ ค้าขาย ต่อไป อีก โดย รู้ อยู่ แล้ว ว่า ไม่สามารถ จะ ชำระหนี้ ได้ ต้องด้วย ข้อกำหนด มาตรา 73(1) และ (3) ประกอบ กับ โจทก์ คัดค้าน การ ขอ ปลด จาก ล้มละลาย ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง นับ ว่า มีเหตุ ที่ ไม่สมควร ปลด จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จาก ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอปลดจากล้มละลายถูกปฏิเสธเนื่องจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการทรัพย์สินและเจตนาฉ้อฉล
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องขอปลดจากล้มละลายเป็นเวลาเพียง 2 ปี 7 เดือนเศษเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามและทำบัญชีส่วนแบ่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้เพียงครั้งเดียวเป็นเงิน 729,785.96 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1.54 ของหนี้ทั้งหมดโจทก์ยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้อีก46,568,912.44 บาท และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามได้อีก และการที่จำเลยที่ 2และที่ 3 มีทรัพย์สินเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน ไม่ใช่ผลธรรมดาอันเนื่องมาจากการค้าขายขาดทุนและไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารงานของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อันควรจะตำหนิจำเลยที่ 2และที่ 3 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่าตนสามารถชำระหนี้โจทก์ได้ จึงได้ก่อหนี้ขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งมิได้นำบัญชีในการประกอบธุรกิจและงบดุลประจำปี ในระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายมาแสดงต่อศาลเพื่อให้เห็นฐานะของกิจการโดยถูกต้องตามจริง พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3ต้องด้วยสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 74 ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถจะชำระหนี้ได้ต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73(1) และ (3) ประกอบกับโจทก์คัดค้านการขอปลดจากล้มละลายของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงนับว่ามีเหตุที่ไม่สมควรปลดจำเลยที่ 2 และที่ 3 จากล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านการประนอมหนี้ของเจ้าหนี้ และการสันนิษฐานว่าผู้ล้มละลายกระทำการโดยรู้ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 52 วรรคสอง เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วมีอำนาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วไม่ได้เข้าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก จึงไม่ได้คัดค้านการประนอมหนี้ แต่ได้ยื่นคำคัดค้านการประนอมหนี้ไว้ก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจอุทธรณ์ได้ จำเลยที่ 1 ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำบัญชีแสดงกิจการต้นทุนกำไรย้อนหลังไป 3 ปีนับแต่วันถูกพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวที่มิได้ใช้ในการประกอบธุรกิจ ภริยาจำเลยที่ 2 ไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีทรัพย์สิน และในการประกอบกิจการค้าขาย จำเลยที่ 2ไม่ได้ทำบัญชีแสดงการขาดทุนกำไร ย่อมเห็นได้ว่า ก่อนล้มละลายจำเลยทั้งสองมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินและไม่สามารถนำบัญชีและงบดุลประจำปีมาแสดงต่อศาลได้สำหรับระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายโดยไม่มีเหตุสมควร ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองได้ขืนทำการค้าต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามมาตรา 74(2)(ข),73,72, และ 53 ศาลย่อมสั่งไม่เห็นชอบด้วยคำขอประนอมหนี้ได้.