คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 309 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราโดยมีอาวุธปืน ความผิดต่อเด็ก และการรวมกรรมความผิด
จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของผู้ถูกข่มขืนใจ และบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริมให้ผู้เสียหายที่ 2 ประพฤติตนไม่สมควร ก็เพื่อมุ่งประสงค์จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นความประสงค์มาแต่แรก การกระทำดังกล่าวจึงต่อเนื่องกันมาไม่ขาดตอน และโจทก์บรรยายฟ้องความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ดังกล่าว และข้อหากระทำชำเราผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยมีอาวุธปืนรวมกันมาในข้อเดียวกัน ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสาม, 309 วรรคสอง และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (3), 78 ของจำเลย จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานข่มขืนใจ ทำร้ายร่างกาย และความผิดตาม พ.ร.บ.อาญา มาตรา 309 ไม่สามารถระงับได้ด้วยการยอมความ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดด้วยการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กลุ่มคนชมรม ค. กระทำความผิดในคดีนี้ โดยบรรยายครบองค์ประกอบความผิดในแต่ละข้อหา จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว โดยหาจำต้องระบุตัวบุคคลผู้ถูกใช้หรือลงมือกระทำความผิดไม่
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 ที่ได้กระทำโดยมีอาวุธและโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามวรรคสอง ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 321 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดตาม ป.อ. มาตรา 358 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้นั้น แม้จะได้ความว่าฝ่ายโจทก์ตกลงยอมความกับจำเลยที่ 2 แต่ไม่ปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ได้ตกลงให้ความผิดของจำเลยที่ 1 ระงับไปด้วย ความผิดของจำเลยที่ 1 จึงหาระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8076/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมทำร้ายร่างกาย-ข่มขืนใจ: การกระทำเป็นหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยที่ 2 ขึ้นไปบนรถโดยสารประจำทางคันเกิดเหตุโดยพาอาวุธมีดติดตัวไป แม้จะไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายด้วย และเป็นผู้ที่พูดข่มขืนใจให้ผู้เสียหายส่งมอบเสื้อชุดฝึกปฏิบัติงานโรงงานให้ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกโดยตลอดในลักษณะที่พร้อมจะช่วยเหลือกันทันท่วงทีหากมีเหตุให้ต้องช่วยเหลือ ประกอบกับหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ก็หลบหนีไปพร้อมกันกับจำเลยที่ 1 และพวก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และพวกกระทำความผิด
ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณารับฟังได้ว่า หลังจากจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันชกต่อยและใช้อาวุธมีดฟันผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองกับพวกจึงร่วมกันพูดข่มขืนใจให้ผู้เสียหายส่งมอบเสื้อชุดฝึกปฏิบัติงานโรงงานออกให้ มิฉะนั้นจะฟันผู้เสียหายอีก แสดงให้เห็นว่าในตอนแรกที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย จำเลยทั้งสองกับพวกยังไม่มีเจตนาที่จะข่มขืนใจผู้เสียหายให้ส่งมอบเสื้อดังกล่าวให้ แต่หลังจากหยุดทำร้ายผู้เสียหายแล้ว จำเลยทั้งสองกับพวกจึงเกิดเจตนาข่มขืนใจผู้เสียหาย เจตนาข่มขืนใจดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจและมีอาวุธปืนโดยผิดกฎหมาย: การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ขณะผู้เสียหายทั้งสองขับรถยนต์ซูบารุรับจ้างตามกันมาในซอยลาดพร้าว 127 เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ จำเลยกับพวกออกมายืนขวางหน้ารถยนต์ผู้เสียหายที่ 1 พูดจาข่มขู่ผู้เสียหายที่ 1 ให้ลงจากรถยนต์พร้อมใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า จากนั้นจำเลยกับพวกไปที่หน้ารถยนต์ผู้เสียหายที่ 2 พูดข่มขู่และกระชากผู้เสียหายที่ 2 ให้ลงจากรถยนต์ ใช้อาวุธปืนจ่อที่เอวผู้เสียหายที่ 2 เช่นนี้ เป็นการกระทำคนละคราว และมีเจตนาแยกจากกันได้ แม้จะเป็นเวลาต่อเนื่องกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22714/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีข่มขืนใจ: การแจ้งความร้องทุกข์ของผู้ปกครองที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยในข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น โดยมีอาวุธ ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ความผิดดังกล่าวจึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้เพียงว่า จำเลยกระทำความผิดข้อหาข่มขืนใจผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 321 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งในความดูแลของ ค. บิดาผู้เสียหาย หรือผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ อันจะทำให้ ค. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 การที่ ค. ไปแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ถือได้ว่าไม่มีคำร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในความผิดอาญา: การรับรู้และการกระทำที่แยกจากกัน
พวกของจำเลยที่ 3 ฉุดดึงผู้เสียหายทั้งสองขึ้นไปบนกระบะด้านท้ายของรถยนต์ จำเลยที่ 3 นั่งอยู่ในรถด้านหน้าแถวเดียวกับคนขับ ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 มีส่วนร่วมในการฉุดดึงผู้เสียหายทั้งสองขึ้นรถแต่อย่างใด เมื่อรถมาจอดบริเวณที่เกิดเหตุมีจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก พาผู้เสียหายทั้งสองลงจากรถและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายทั้งสอง จำเลยที่ 3 ไม่ได้ลงจากรถเข้าไปมีส่วนร่วมในการพาผู้เสียหายลงจากรถหรือมีส่วนร่วมในขณะที่ผู้เสียหายทั้งสองถูกข่มขืนกระทำชำเราแต่อย่างใด จนกระทั่งผู้เสียหายที่ 2 ร้องขอความช่วยเหลือขณะถูก พ. ข่มขืนกระทำชำเรา จำเลยที่ 3 จึงลงจากรถไปขอร้อง พ. ให้หยุดกระทำและนำตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปนั่งรอในรถด้านหน้ากับจำเลยที่ 3 จากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ขอให้ ภ. ขับรถพาผู้เสียหายที่ 2 ไปส่งที่บ้านเพื่อนของจำเลยที่ 3 และให้นอนค้างที่นั้น โดยจำเลยที่ 3 ไม่ได้กระทำลวนลามหรือกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 แม้ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ได้ยิน พ. พูดคุยกับจำเลยที่ 4 ว่าจะพาผู้หญิงชื่อ บ. ไปกระทำชำเรานั้น การที่ผู้ใดรับรู้ว่าผู้อื่นจะกระทำความผิดหรือกระทำความผิดแล้ว จะถือว่าผู้นั้นมีส่วนร่วมกระทำความผิดหรือสนับสนุนผู้อื่นกระทำความผิดด้วยไม่ได้ ลำพังข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 3 นั่งรถไปกับพวกที่กระทำความผิดนั้นไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดต่างกรรมกัน: ข่มขืนใจ vs. ทำร้ายร่างกาย
เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันไปที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ผู้เสียหายบังคับให้ผู้เสียหายไปกับจำเลยและพวกจนผู้เสียหายกลัวและยอมทำตาม การกระทำของจำเลยและพวกเป็นความผิดสำเร็จตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง แล้ว การที่จำเลยกับพวกนำตัวผู้เสียหายไปจนถึงบ้านร้างแล้วจำเลยสอบถามผู้เสียหายแต่ได้คำตอบไม่เป็นที่พอใจ จำเลยจึงทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเกิดขึ้นใหม่แยกต่างหากจากความผิดข้างต้น ถึงแม้จำเลยจะอ้างว่ามีวัตถุประสงค์เดียวคือทวงหนี้จากผู้เสียหายก็ตาม แต่จำเลยมีเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างกันและแยกออกจากกันได้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7308/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเรา, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท, การแก้ไขโทษ, การบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ครบองค์ประกอบความผิดดังกล่าว แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 371 ก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานนี้ได้
สำหรับความผิดในข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังแม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษายืนกันมาให้จำคุก 1 ปี แต่ความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวกับความผิดในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราซึ่งศาลล่างทั้งสองจำคุก 16 ปี อันไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงทำให้ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไปด้วย
จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายที่ 2 ไปบังคับข่มขืนกระทำชำเราคนละหลายครั้งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสอง และ 310 วรรคแรก เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3856/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนใจโดยมีอาวุธ กรณีร่วมกระทำแต่ไม่ปรากฏพฤติการณ์อนาจาร
จำเลยเป็นเพียงผู้ขับรถจักรยานยนต์ที่ บ. นั่งซ้อนท้ายตามรถจักรยานยนต์ที่พ. ขับ และผู้เสียหายทั้งสองนั่งซ้อนท้ายไป เมื่อ พ. หยุดรถ บ. เป็นผู้เข้าไปข่มขู่ผู้เสียหายทั้งสองกับ พ. แต่จำเลยไม่ได้ร่วมข่มขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสองแต่ประการใดผู้เสียหายทั้งสองสมัครใจยินยอมให้ พ. ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งที่บ้านขณะที่จำเลยขับรถตามไปทัน ผู้เสียหายที่ 1 บอก พ. ไม่ต้องหยุดรถ พ. ก็ไม่หยุด บ. บอกให้ พ. ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวา พ. ไม่ยอมทำตามจน บ. ต้องใช้อาวุธปืนขู่แม้ บ. กับ พ. ร่วมมือกัน แต่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำอนาจารหรือลวนลามทางเพศต่อผู้เสียหายทั้งสอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกันพาผู้เสียหายทั้งสองไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก และฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 318 วรรคสาม แต่การที่จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้ บ. นั่งซ้อนท้ายไปด้วยกัน และจำเลยจอดรถจักรยานยนต์ให้ บ. ลงจากรถไปและใช้อาวุธปืนขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสองให้ลงจากรถจักรยานยนต์โดยจำเลยมิได้ห้ามปราม จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมกระทำการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้กระทำการใดไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพโดยมีอาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง แต่เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมลงจากรถจักรยานยนต์ตามที่ บ. ข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดเพียงขั้นพยายาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ถูกข่มขู่ & การพิจารณาความผิดกรรมเดียว
คำรับสารภาพของจำเลยทั้งสองต่อศาลไม่ปรากฏตามสำนวนว่ามีการข่มขู่แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าเป็นการรับสารภาพต่อศาลโดยความสมัครใจ การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าถูกนายประกันข่มขู่ให้การรับสารภาพต่อศาล หากไม่รับสารภาพจะถอนประกันจึงถือว่าเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นขึ้นอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยให้ในปัญหานี้จึงชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นบ้านตามหมายค้นของศาล และไม่ยอมให้นำตัว นาย ก. ซึ่งถูกจับกุมออกจากบ้านด้วยการใช้ไม้ท่อนเป็นอาวุธขู่เข็ญว่าจะทำร้ายและได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังเจ้าพนักงานตำรวจโดยปิดล็อกใส่กุญแจประตูรั้วบ้านไม่ยอมให้ออกจากบ้าน กับใช้ไม้ท่อนเป็นอาวุธขู่เข็ญว่าจะทำร้าย อันเป็นการข่มขืนใจ เจ้าพนักงานตำรวจให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาเดียวคือป้องกันมิให้ผู้เสียหายทั้งห้าจับกุมตัวนาย ก. เท่านั้น และเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องในทันทีทันใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงกรรมเดียว
of 3