คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีรา ไวยหงษ์ รินทร์ศรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 195 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องไต่สวนคำร้องถอนผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ไม่ใช่พิจารณาตามข้อตกลงของคู่ความ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และฝ่ายผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ต่างยื่นคำร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะเหตุละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรหรือไม่ การที่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตาย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยอันมีผลให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิใช่เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมิใช่เป็นการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้โดยตรง เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีอื่นต่างหาก การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการไต่สวนคำร้องขอแต่กลับพิจารณาตามคำท้าหรือข้อตกลงของคู่ความทั้งสองฝ่าย ถือเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งครอบครอง vs. ครอบครองแทน หากมิได้อ้างการครอบครองแทน ศาลล่างวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ทั้งสองมิได้ฟ้องและให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองที่ดินพิพาทแทน จ. แล้วแย่งการครอบครองโดยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. ว่าไม่มีเจตนายึดที่ดินพิพาทแทน จ. ต่อไป คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ทั้งสองได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยัง จ. บิดาจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ทั้งสอง ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ และเมื่อข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 โดยโจทก์ทั้งสองมิได้แก้ฎีกาว่า ส. บิดาโจทก์ที่ 2 เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ จ. หรือบริษัท ร. แล้วโจทก์ที่ 2 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องมาจาก จ. จึงเป็นการครอบครองแทน จ. บิดาจำเลยด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ จ. ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงมีอำนาจฟ้องแย้งให้ขับไล่โจทก์ทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในรถยนต์: ผู้ครอบครองต้องพิสูจน์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับที่มาของทรัพย์สิน
แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะมีชื่อเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์พิพาท แต่ทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมของเจ้าพนักงานเท่านั้น ผู้ร้องขัดทรัพย์มีภาระในการนำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ารถยนต์พิพาทเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด, การปลอมลายมือชื่อ, ความรับผิดของผู้รับเหมา, การคำนวณค่าเสียหายจากค่าจ้างสถาปนิก
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ แม้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะมิได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ มูลความแห่งคดีจึงเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ถือว่าได้ทำโดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 โจทก์ได้รับแจ้งเหตุและเดินทางไปดูป้ายโครงการก่อสร้างที่ระบุชื่อโจทก์เป็นสถาปนิกโครงการ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 โจทก์ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่สำนักงานเขตบางพลัด จึงทราบว่าจำเลยที่ 2 ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างโดยใช้เอกสารที่มีลายมือชื่อปลอมของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ถือว่าโจทก์รู้ตัวจำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 4 รู้ว่าโจทก์ไม่ได้รับเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบแต่กลับมีเจตนานำชื่อโจทก์มาลงไว้ในป้ายประกาศบริเวณที่ก่อสร้างว่าโจทก์เป็นสถาปนิก การกระทำของจำเลยที่ 4 และในฐานะกรรมการบริษัทจำเลยที่ 3 เป็นการกระทำโดยไม่ชอบเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการซื้อที่ดินโดยสุจริต ศาลต้องพิจารณาอำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปลูกบ้านรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่ 52927 ของโจทก์ และขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งอ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาท ของโจทก์ที่โจทก์เพิ่งซื้อมาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า โจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้ซื้อที่ดินมาโดเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว เพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์ มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยอย่างไรและโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ ดังนั้น ประเด็นที่ว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ จึงรวมอยู่ในประเด็นที่ว่าจำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินพิพาทหรือไม่ด้วย โดยโจทก์ไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวอีก เพราะถือว่าเป็นประเด็นเดียวกันกับที่โจทก์ได้ให้การแก้ฟ้องแย้งไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีต่อเนื่อง: ความผิดเริ่มที่เมืองร้อยเอ็ด นัดส่งมอบที่โพนทอง พนักงานสอบสวนเมืองร้อยเอ็ดมีอำนาจฟ้อง
ก่อนจับกุมจำเลยในคดีนี้ เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ด พบการกระทำความผิดของ ม. และ บ. ก่อน จึงมีการขยายผลสืบสวนและมีการวางแผนให้ ม. และ บ. โทรศัพท์ไปสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจากผู้ค้ายาเสพติดชาวลาว โดยมีการตกลงซื้อขายและนัดส่งมอบเมทแอมเฟตามีนกันที่สถานีขนส่งอำเภอเมืองร้อยเอ็ด แต่เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมนำกำลังไปดักซุ่มรอแล้วมีการนัดหมายเปลี่ยนสถานที่ส่งมอบเป็นสถานีขนส่งอำเภอโพนทอง เจ้าพนักงานตำรวจจึงติดตามไปจนกระทั่งสามารถติดตามจับกุมจำเลยพร้อมเมทแอมเฟตามีน 3,885 เม็ด ของกลาง ได้ที่สถานีขนส่งอำเภอโพนทอง กรณีจึงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องเกี่ยวพันกันทั้งในท้องที่สถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นท้องที่ที่ บ. โทรศัพท์ติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนและสถานีตำรวจภูธรโพนทองซึ่งเป็นท้องที่ที่จับกุมจำเลยได้ เช่นนี้ พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองร้อยเอ็ดจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) การสอบสวนย่อมเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานเบิกความขัดแย้ง ไม่น่าเชื่อถือ เหตุสังหาร ยังไม่ชัดเจน ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยชกต่อยผู้ตายโดยใช้มือขวาข้างเดียว ชกประมาณ 5 ถึง 6 หมัด ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งนาที อ. พยานโจทก์อยู่ห่างจากผู้ตายประมาณ 5 เมตร ย่อมสามารถเห็นจำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายได้ชัดเจน หากจำเลยมีอาวุธอยู่ในมือผู้ตายต้องได้รับบาดแผลหลายแผล แต่ปรากฏว่าผู้ตายถูกแทงเพียงแห่งเดียวที่บริเวณใต้ราวนมด้านซ้าย คำเบิกความพยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ กรณีมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนใช้เหล็กแหลมเป็นอาวุธแทงผู้ตายหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคแรก ประกอบมาตรา 340 ตรี และมาตรา 83 จำคุกคนละ 7 ปี 6 เดือน อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 142 (1) เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 4 จังหวัดขอนแก่น มีกำหนดขั้นต่ำ 3 ปี ขั้นสูง 4 ปี ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยซึ่งไม่เป็นการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 และมาตรา 183 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมารับฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมา เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกฎีกาของจำเลยทั้งสอง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2559)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลือกตั้งซ่อม กรณีผู้สมัครทำละเมิด ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 10 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือสนับสนุนการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม รวมทั้งอำนาจหน้าที่อื่นอีกหลายกรณี มาตรา 30 กำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีฐานะเป็นนิติบุคคลและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด มาตรา 38 กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนองบประมาณรายจ่าย เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งไว้ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่างบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรให้ไม่เพียงพอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอคำขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการกิจการพิจารณางบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรได้โดยตรง ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง การสรรหาสมาชิกวุฒิสภาหรือการจัดทำประชามติมากกว่างบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับ ให้รัฐอุดหนุนค่าใช้จ่ายให้เพียงพอกับการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะเห็นได้ว่าตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้รัฐสนับสนุนงบประมาณเพื่ออุดหนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพียงพอกับการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ แต่การนำเงินงบประมาณไปใช้ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มิได้หมายความว่าโจทก์สามารถจะนำเงินงบประมาณไปใช้จ่ายอย่างไรก็ได้ โดยเฉพาะแล้วการนำเงินงบประมาณที่ได้จากการจัดสรรมาก็ต้องเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่รัฐอย่างสูงสุด ขณะเดียวกันจำเลยซึ่งสมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและส่วนรวม รวมทั้งต้องมีความรับผิดชอบต่อการใช้เงินงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด เนื่องจากเงินงบประมาณก็คือเงินภาษีของประชาชน ดังนี้ การที่จำเลยสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ จำเลยย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งเมื่อเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว จำเลยยังมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่ผู้เข้ารับตำแหน่งดังกล่าวจะต้องปฏิบัติด้วยความถูกต้องเช่นนั้นทุกคน เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบจนเป็นเหตุให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 119 ให้จำเลยพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้โจทก์ต้องจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง โดยต้องใช้งบประมาณหรือเงินอุดหนุนที่ได้รับจากการจัดสรรจากรัฐบาลที่มาจากภาษีของประชาชน จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่ากับโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในหนี้มูลละเมิด โดยโจทก์เป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองวินิจฉัยชี้ขาดว่าจำเลยมีความผิด ศาลชั้นต้นย่อมนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมารับฟังประกอบการพิจารณาคดีนี้ได้ เพราะเป็นกรณีที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่เป็นคู่ความและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินและเอกสารของผู้ที่จะเข้าทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหน้าที่สำคัญ จำเลยย่อมรู้ดีว่าหากจำเลยจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ย่อมมีผลทำให้จำเลยต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อจำเลยพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง โดยไม่อาจว่างเว้นการเลือกตั้งไว้ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยจงใจโดยจำเลยรู้สึกถึงผลหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จำเลยจึงอ้างความผิดหลงหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ และการที่จำเลยยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจนเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้วจำเลยกลับมาสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 2 มิถุนายน 2555 ซึ่งเป็นการสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ 2 หลังจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ จำเลยก็ย่อมจะทราบดีว่าการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของจำเลยที่ไม่ถูกต้องดังกล่าวอาจทำให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการรับเลือกตั้งและเป็นเหตุให้รัฐได้รับความเสียหายโดยต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้งบประมาณแผ่นดินในการจัดการเลือกตั้งใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างนับได้ว่าการกระทำของจำเลยล้วนเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายที่ต่อเนื่องกันอันเป็นผลโดยตรง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักล้างพยานเอกสารต้องด้วยข้อเท็จจริง พยานโจทก์ต้องเบิกความเกี่ยวกับเอกสารนั้นโดยตรง การฎีกาที่ไม่ชัดเจนถือเป็นเหตุต้องห้ามมิให้รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาในข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับฟังคำเบิกความโจทก์ที่ 1 ขัดแย้งกับพยานเพื่อหักล้างพยานเอกสารดังกล่าวไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 นั้น ในทางนำสืบไม่ปรากฏว่ามีพยานโจทก์คนใดที่เบิกความเกี่ยวกับเอกสาร มีเพียงจำเลยที่ตอบทนายโจทก์ทั้งสิบเอ็ดซึ่งนำเอกสารดังกล่าวมาถามค้าน จึงไม่อาจฟังได้ว่าคำเบิกความพยานโจทก์ทั้งสิบเอ็ดขัดแย้งกับเอกสาร ดังที่จำเลยฎีกา ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ส่วนฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยนั้น ล้วนเป็นการคัดลอกข้อความในอุทธรณ์ของจำเลยมาทั้งสิ้น โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้เห็นว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ถูกต้อง คลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร และที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
of 20