คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ม. 14

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการจ้าง, สิทธิเรียกร้องค่าจ้าง, เงินกองทุนสงเคราะห์, และการลาออกของลูกจ้าง
ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยพ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจบริหารกิจการของ สถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการ กำหนด บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง กับรับผิดชอบในการจัดการ และดำเนินการของสถาบันตามที่คณะกรรมการมอบหมาย บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลด หรือตัดเงินเดือนตลอดจนลงโทษพนักงานและลูกจ้าง ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มีอำนาจวางนโยบายบริหารและควบคุม ดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบซึ่งกิจการของสถาบัน ดังนี้ จำเลย ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการ บริหารกิจการและมีอำนาจบังคับบัญชา พนักงาน และลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอด ถอนลงโทษพนักงาน และลูกจ้างทุกคนเว้นแต่บางตำแหน่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็น นายจ้างของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 มีอำนาจให้ความเห็นชอบ วางนโยบายบริหารและควบคุมดูแลทั่วไปกับออกข้อบังคับต่าง ๆจำเลย ที่ 3 ถึงที่ 12 ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยัง เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์ เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้น แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้าง ที่ปรึกษาให้เสร็จภายใน กำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่จะรับ ข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญา ตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงาน เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็น ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคง เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้อง เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุ ครบ60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือ ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับ กำหนดไว้เท่านั้น การพ้น จากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตาม พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้ โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพการจ้างและสิทธิเรียกร้องของผู้ถูกจ้าง กรณีไม่ยอมลงนามในสัญญาจ้างใหม่
ตาม พ.ร.บ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ว่าการเพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการและบังคับบัญชาพนักงานลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุแต่งตั้ง ถอดถอน ลงโทษพนักงานและลูกจ้างทุกคน จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการจึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 เป็นกรรมการมีอำนาจให้ความเห็นชอบวางนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแล โดยทั่วไป และออกข้อบังคับต่าง ๆ เท่านั้นมิได้มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 แต่อย่างใดจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 กับที่ 12 ให้ร่วมรับผิดในข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานหลังพ้นตำแหน่งผู้ว่าการสถาบันวิจัยฯ การลาออก และเงื่อนไขการสิ้นสุดสัญญาจ้าง
ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 กำหนดให้ผู้ว่าการมีอำนาจบริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง กับรับผิดชอบในการจัดการและดำเนินการของสถาบันตามที่คณะกรรมการมอบหมาย บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลดหรือตัดเงินเดือน ตลอดจนลงโทษพนักงานและลูกจ้างตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มีอำนาจวางนโยบายบริหารงานและควบคุมดูแลโดยทั่วไปและรับผิดชอบซึ่งกิจการของสถาบัน ดังนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการบริหารกิจการและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างทุกตำแหน่ง รวมตลอดถึงมีอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอนลงโทษพนักงานและลูกจ้างทุกคนเว้นแต่บางตำแหน่ง จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 มีอำนาจให้ความเห็นชอบวางนโยบายบริหารและควบคุมดูแลทั่วไปกับออกข้อบังคับต่าง ๆ จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 ไม่มีอำนาจตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และไม่ใช่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนจำเลยที่ 1 หรือที่ 2 จำเลยที่ 3 ถึงที่ 12 จึงมิใช่นายจ้างของโจทก์
เมื่อโจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 โจทก์ยังเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การที่จำเลยที่ 1 ตั้งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและให้โจทก์ลงนามในสัญญานั้นแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จนจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์อีก ขอให้โจทก์ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาให้เสร็จภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะรับข้อเสนอในการว่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่ยอมลงนามในสัญญาตั้งที่ปรึกษาภายในเวลาที่กำหนด ถือว่าโจทก์สละสิทธิที่จะทำงานเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ต่อไป มีผลเป็นการลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นับแต่วันพ้นกำหนด
แม้โจทก์จะเป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังคงเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 อยู่ การออกจากงานของโจทก์จึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องเกิดจากการตาย ลาออก อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ถูกสั่งให้ออก ปลดออก ไล่ออก หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้เท่านั้น การพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการตามวาระของโจทก์ตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งประเทศไทยมีผลทำให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลทำให้โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่