คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธาดา กษิตินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่วมกันจ้างวานฆ่า: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ว่าจ้างมือปืน
จ่าสิบตำรวจ ม. และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นบุตรเขยของผู้ตาย การที่จ่าสิบตำรวจ ม. มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยสืบสวนหาตัวคนร้ายจึงเป็นเรื่องปรกติและสมควร พฤติกรรมของจำเลยที่ 1 ที่ถูกสงสัยหรือถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการฆ่าผู้ตายเป็นเรื่องร้ายแรง หากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็ต้องยืนยันปฏิเสธไว้จะยอมรับสารภาพไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดกับจ่าสิบตำรวจ ม. หรือบุคคลใดก็ตาม ทั้งการยอมรับสารภาพโดยคิดว่าจ่าสิบตำรวจ ม. จะช่วยเหลือพาหลบหนีได้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิด ดังนั้น การที่จ่าสิบตำรวจ ม. สืบทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดและแจ้งต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการช่วยเหลือพนักงานสอบสวนสืบสวนหาข้อเท็จจริงเพื่อจับกุมดำเนินคดีกับคนร้าย จึงถือไม่ได้ว่าพนักงานสอบสวนใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตเมทแอมเฟตามีน-ครอบครองเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาพิพากษาโทษประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 คำว่า ผลิต หมายความว่า เพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ฯลฯ เมื่อมีการผสมปรุงจนเป็นเมทแอมเฟตามีนแล้ว แม้อยู่ในสภาพของเหลวก็ใช้เสพได้เลย การอัดของเหลวให้เป็นเม็ดเป็นเพียงทำให้สะดวกในการซื้อขายกำหนดราคาและปริมาณในการจำหน่ายกันต่อไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานผลิตยาเสพติดให้โทษสำเร็จแล้ว
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ของกลางมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และไม่ใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 (2) ไม่อาจริบได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาคืนของกลางดังกล่าวแก่เจ้าของแม้คู่ความมิได้ฎีกาเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนแก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และ 186 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและฎีกาในชั้นฎีกา: ข้อจำกัดด้านเวลาและการสละข้อต่อสู้
จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง แต่หากศาลเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดก็ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำคุก ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอถอนข้อต่อสู้เดิมตามฎีกาที่ให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้อง คำร้องของจำเลยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง ที่บัญญัติให้กระทำได้ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ส่วนที่จำเลยขอแก้ไขฎีกาที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องนั้น เป็นการขอแก้ไขฎีกาโดยมิได้เพิ่มเติมประเด็นใหม่ แต่เป็นการสละข้อต่อสู้ในชั้นฎีกา ไม่ใช่การคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ตกอยู่ในจำกัดเวลาฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฎีกาได้แม้พ้นกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5152/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่จอดรถไม่ใช่สถานที่ราชการ ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นเพียงลักทรัพย์ธรรมดา
สถานที่จอดรถของวิทยาลัยเทคนิคชัยนาทเป็นเพียงสถานที่ซึ่งทางราชการจัดไว้สำหรับเป็นที่จอดรถของบรรดานักศึกษา ผู้มาติดต่อราชการตลอดจนข้าราชการของวิทยาลัยเท่านั้น มิใช่สถานที่ซึ่งใช้สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในวิทยาลัยโดยตรง การที่จำเลยลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไปจากบริเวณสถานที่จอดรถดังกล่าว จึงไม่ใช่การลักทรัพย์ในสถานที่ราชการอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (8) วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาต้องกระทำต่อหน้าศาล การบันทึกข้อมูลไม่ใช่การฟ้องคดี
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 บัญญัติให้โจทก์อาจฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ หากจะฟ้องด้วยวาจาตามวรรคสองของบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้โจทก์ต้องแจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดซึ่งศาลจะบันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ วิธีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงต้องมาศาลกล่าวฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยวาจาให้ได้สาระดังกล่าว
บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่พนักงานธุรการของโจทก์นำมาเสนอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตราพนักงานรับฟ้องไว้โดยสภาพบันทึกดังกล่าวไม่ใช่การฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วยวาจา แต่เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานเพื่อจะฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาด้วยวาจาและเป็นความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น
ในวันที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาโจทก์ไม่ได้มาศาล จึงไม่อาจมีการฟ้องคดีด้วยวาจาได้ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยได้ พิพากษายกฟ้องก็ไม่ได้เพราะยังไม่มีฟ้อง ข้อความที่ระบุในเอกสารบันทึกการฟ้อง คำรับสารภาพ คำพิพากษาตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงมาตรา 20 ว่า ศาลจึงพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ริบของกลาง ให้จำเลยจ่ายสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ก่อนข้อความที่ศาลบันทึกว่า ศาลออกนั่งพิจารณา เวลา 16.35 นาฬิกา นั้น เป็นข้อความของแบบพิมพ์ซึ่งศาลลืมขีดฆ่าออกเท่านั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็ไม่ถูกต้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำหน่ายคดีจากสารบบความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาร่วมชำระหนี้และดอกเบี้ยค้างชำระ: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ตามสัญญาร่วมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่า การที่ผู้ให้สัญญายอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าบริการโทรศัพท์ ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิมนั้น ไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม จึงมิใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ สัญญาเดิมไม่ระงับและการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ก็ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แม้จะมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ ก็มิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (2) จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระตั้งแต่งวดที่ 2 คือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2543 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอคิดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 40,703 บาท นับแต่วันผิดนัดคือวันที่ 7 มิถุนายน 2536 จนถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) โจทก์จึงฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2536 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2538 ไม่ได้เพราะขาดอายุความ 5 ปี คงเรียกได้เฉพาะดอกเบี้ยหลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2538 เป็นต้นไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยโจทก์หลายคนที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลเหตุแห่งคดีเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งไม่รับฟ้อง
โจทก์แต่ละคนเป็นสมาชิกและผู้รับประโยชน์ของสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์แต่ละคนมีข้อตกลงกับฝ่ายจำเลยว่า จำเลยทั้งหกจะจ่ายเงินสงเคราะห์ศพให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิต แต่ปรากฏว่าเมื่อไปขอรับเงินสงเคราะห์ศพเพื่อจัดการศพได้รับแจ้งจากจำเลยทั้งหกว่าไม่มีเงินจ่ายสงเคราะห์ศพ และอ้างว่าสมาชิกทุกคนได้ลาออกหมดซึ่งความจริงสมาชิกยังมิได้ลาออกและไม่ได้กระทำผิดระเบียบ การที่จำเลยทั้งหกกระทำผิดข้อตกลงและสัญญาที่ให้ไว้ข้างต้นและเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาโดยปริยาย จำเลยทั้งหกจึงต้องคืนเงินหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งหนึ่งร้อยเก้าถือว่าโจทก์แต่ละคนมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี เป็นคู่ความร่วมในคดีเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจสอบสวนคดีพรากผู้เยาว์ต่อเนื่อง - สถานที่แจ้งความและจับกุม - อำนาจพนักงานสอบสวน
ผู้เสียหายอยู่กับ พ. ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ผู้เสียหายถูกพรากหายตัวไป และ พ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเขาพนม จำเลยพาผู้เสียหายไปพักในหลายท้องที่ต่างกัน จึงเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ เป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไปและเป็นความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) (3) (6) และ วรรคสอง พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงมีอำนาจสอบสวน
พ. ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน แต่พนักงานสอบสวนไม่รับแจ้งความร้องทุกข์เนื่องจาก พ. และผู้เสียหายพักอยู่ที่บ้านในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต จึงเท่ากับไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางเขน พ. จึงไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคต ว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นหลานสาวถูกจำเลยพรากตัวไป ต่อมาจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้ที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ดังนั้น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลคูคตจึงเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำความผิดก่อน จึงเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามมาตรา 19 วรรคสาม (ข) มีอำนาจสรุปสำนวนและทำความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ส่งไปพร้อมสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 140, 141
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามข้อเท็จจริงก่อนที่จำเลยจะพาผู้เสียหายไปที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และพักอยู่ที่นั่นหลายวันจนถูกจับกุมตัว จำเลยพาผู้เสียหายไปที่บ้านพี่สาวของจำเลยที่บางแคก่อนและพักอยู่ 1 คืน จากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายนั่งรถโดยสารเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร และพักอยู่ที่จังหวัดกระบี่ ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลใดทั้งที่มีโอกาสทำได้ และร่วมประเวณีกันหลายครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารย์โดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก ไม่ใช่วรรคสามเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงนำไปสู่ข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปี จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายและการส่งมอบการครอบครองทำให้จำเลยมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะพยายามปฏิรูปที่ดิน
ป. ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทได้ขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่โจทก์จะประกาศให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินเขตปฏิรูปซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วย แล้วจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่า ป. ได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนที่ดินพิพาทโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลย จำเลยรับโอนมาโดยชอบติดต่อกันมา จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 แม้ต่อมา ป. จะยื่นคำร้องต่อโจทก์ขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทและโจทก์ได้พิจารณาจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ได้ตามขอ แต่เมื่อในขณะโจทก์จัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น ป. มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยไปแล้ว จึงไม่ใช่เกษตรกรผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอีกต่อไป การจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ตลอดจนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้ ป. จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามประกาศของโจทก์เองที่กำหนดให้ผู้ขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินต้องเป็นเกษตรกรผู้ได้เข้าทำประโยชน์หรือครอบครองที่ดินนั้นอยู่ก่อน โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อการเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินทำประโยชน์ สิทธิครอบครองย่อมเกิดขึ้นก่อนสิทธิปฏิรูปที่ดิน การจัดให้ผู้ไม่สิทธิครอบครองเข้าทำประโยชน์จึงไม่ชอบ
ป. เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองให้แก่จำเลยไปตั้งแต่เดือนมกราคม 2532 แล้ว จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 และมาตรา 1778 การที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์จัดให้ ป. ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจึงขัดต่อหลักเกณฑ์ตามประกาศของโจทก์ข้อ 1 ข. (1) เพราะขณะโจทก์จัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์นั้นเป็นการกระทำภายหลังวันที่ 19 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันออกประกาศอันเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป. ได้มอบการครอบครองให้จำเลยไปแล้ว ป. จึงไม่ใช่เกษตรกรผู้ครอบครองที่ดิน การจัดให้ ป. เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ตลอดจนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01 ให้ ป. จึงไม่ชอบ
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์ฟ้องว่าได้ที่ดินพิพาทมาโดย ป. สละการครอบครองให้ มิได้ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท และไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทมาใช้ในการปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4)
of 2