คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธาดา กษิตินนท์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2309/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การในชั้นฎีกาเป็นไปไม่ได้ตามกฎหมาย และการลงโทษที่เหมาะสมกับพฤติการณ์
การขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง จะต้องกระทำเสียก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา การที่จำเลยขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำให้การในชั้นฎีกา ย่อมเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักชวนลงทุนและสัญญาโอนหุ้นที่ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยชักชวนโจทก์เข้าร่วมลงทุนในบริษัทของจำเลย โดยให้โจทก์ซื้อหุ้นในบริษัทของจำเลย 3,000 หุ้น เป็นเงิน 300,000 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยรับไปแล้วโดยจำเลยสัญญาว่า เมื่อชำระแล้วจะโอนหุ้นในบริษัทของจำเลยให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยมาขอเงินจากโจทก์อีก 58,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในบริษัทและจะชำระเงินคืนเป็นหุ้นให้ โจทก์จึงจ่ายเงินให้จำเลยไป ซึ่งรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 358,000 บาท การที่จำเลยชักชวนโจทก์ให้ซื้อหุ้นในบริษัทของจำเลย เป็นเพียงคำรับรองที่จำเลยจะปฏิบัติในอนาคตขณะให้คำรับรองดังกล่าวยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะปฏิบัติตามคำรับรอง จึงไม่ใช่ความเท็จ นอกจากนั้นตามบัญชีผู้ถือหุ้น ก็ปรากฏว่าจำเลยมีหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวจำนวนถึง 9,940 หุ้น แสดงว่ามีหุ้นอยู่จริง มิได้หลอกลวงโจทก์ การที่จำเลยไม่โอนหุ้นให้แก่โจทก์จึงเป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาจ้างเหมา: ตัวแทนโดยปริยายและเจตนาผูกพัน
จำเลยที่ 1 เป็นบุตรเขยจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับราชการ มีอายุมากแล้ว จำเลยที่ 1 ทำสัญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ลงบนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขออนุญาตทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าวต่อเทศบาลด้วยตนเอง เมื่อก่อสร้างเสร็จ ท. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์ตกลงซื้ออาคารพาณิชย์จากจำเลยที่ 2 จำนวน 1 ห้อง โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้จะขายในสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาวางมัดจำ การที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าหนี้ตามฟ้องคดีนี้ไม่ถูกต้อง เพราะต้องหักเงินค่ามัดจำและค่าหินขัดออกก่อนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวข้องกับการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์แล้วเหตุใดจึงจะยอมให้มีการหักเงินกันได้ เพราะไม่ใช่หนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิด ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 เคยติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์กับโจทก์ กรณีดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เรื่องตัวแทนเชิด เพราะการเป็นตัวแทนเชิดนั้น ตัวการไม่ปรารถนาที่จะผูกพันกับบุคคลภายนอกสำหรับการกระทำของตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทนโดยปริยาย สัญญาจ้างเหมา การรับผิดในหนี้สัญญา และการหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 2 เคยมาติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ก่อนแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์กับโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของจำเลยที่ 2 กรณีดังกล่าวมิใช่เรื่องตัวแทนเชิดเพราะการตัวแทนเชิดนั้นตัวการไม่ปรารถนาที่จะผูกพันกับบุคคลภายนอกสำหรับการกระทำของตัวแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินบังคับคดี การโอนสิทธิเรียกร้อง และกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296
คำร้องของจำเลยอ้างว่า จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้างอาคารให้แก่ธนาคารแล้ว จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร มิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกผู้สุจริต และจำเลยไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยทำโดยวิธีปิดหมายการบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินนั้น เป็นคำร้องที่มีความหมายว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 นั่นเอง จึงต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ส่งเงินค่าจ้างจำเลยก่อสร้างอาคารตามที่โจทก์ขออายัดมายังเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินและส่งเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดจำนวน 4,198,251 บาท ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้แจ้งการอายัดให้จำเลยทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดเงินเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1595/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าจ้างหลังโอนสิทธิเรียกร้อง และผลกระทบต่อระยะเวลาคัดค้านการบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาให้แก่ธนาคารศรีนคร เงินค่าจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารศรีนคร มิใช่ของจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำขอให้อายัดเงินดังกล่าวเนื่องจากเป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคงภายนอกผู้สุจริต และจำเลยที่ 1 ไม่ทราบเรื่องการขออายัดเงินดังกล่าวเพราะการส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ทำโดยวิธีปิดหมาย การบังคับคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นการที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ดังนั้น การยื่นคำร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ภายใต้เงื่อนไขระยะเวลาตามมาตรา 296 วรรคสาม
เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งการอายัดให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบด้วยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2543 และได้จัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินให้โจทก์ตรวจรับรองกับจ่ายเงินสุทธิที่ได้จากการอายัดให้แก่โจทก์ไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2543 การบังคับคดีจึงเสร็จสิ้นลงในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2), 318 จำเลยที่ 1 เพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2544 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนพยาน: สัญญาว่าจ้างให้ข้อมูลและเบิกความในคดี ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
โจทก์เป็นผู้เคยช่วยติดต่อหาซื้อที่ดินให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 และ ง. ทั้งยังเป็นผู้ดูแลและหาคนมาเช่าที่ดิน โจทก์จึงเป็นผู้รู้รายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว การที่จำเลยทั้งสามไปหาข้อมูลรายละเอียดข้อเท็จจริงจากโจทก์ และโจทก์ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับทนายความและติดตามหาบุคคลที่เกี่ยวข้องไปเป็นพยานให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 งานของโจทก์เป็นงานรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคดี ส่วนที่โจทก์ต้องไปเบิกความเป็นพยานในฐานะเป็นผู้รู้รายละเอียดข้อเท็จจริงก็เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องที่ต้องกระทำ งานที่โจทก์ปฏิบัติไม่ขัดต่อกฎหมายเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งห้ามคู่ความให้ค่าตอบแทนแก่พยาน การที่จำเลยทั้งสามตกลงให้ค่าตอบแทนในการทำงานแก่โจทก์เป็นเรื่องที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามเสนอผลประโยชน์ให้แก่โจทก์เอง โจทก์มิได้เรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่พิพาทหรือคำนวณเป็นอัตราส่วนเอาจากทรัพย์สินที่พิพาท เมื่อเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยทั้งสามจะได้รับคืนและจำนวนคดีที่จำเลยทั้งสามเป็นความซึ่งใช้เวลานาน 8 ถึง 9 ปี ค่าตอบแทนที่จำเลยทั้งสามเสนอให้แก่โจทก์จึงไม่สูงจนเกินไปนัก ดังนั้น ข้อตกลงที่จำเลยทั้งสามว่าจ้างโจทก์ให้เบิกความเป็นพยาน ให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลเกี่ยวกับคดีตามความเป็นจริงโดยจะให้ค่าจ้างเป็นเงิน 2,000,000 บาท จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 774/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยรู้ว่ากำลังถูกผู้เสียหายที่ 2 กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจติดตามจับกุม การที่จำเลยกอดปล้ำต่อสู้และใช้มีดฟันแทงผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138, 140 และเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ด้วย
การเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) นั้น ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน แต่ผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่ต้นขาซ้ายด้านหลังต้องรักษาที่โรงพยาบาล 11 วัน หลังจากนั้นให้กลับไปรักษาตัวที่บ้านและต้องไปทำแผลทุกวัน ในระหว่างรักษาบาดแผลผู้เสียหายที่ 2 ยังสามารถทำงานได้ตามปกติและต้องไปล้างแผลทุกวัน แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 มิได้ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้ จึงไม่เข้าลักษณะอันตรายสาหัสตาม ป.อ. 297 (8) เพียงแต่เป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา295 เท่านั้น การที่จำเลยทำร้ายร่ายกายผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 296

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายยาเสพติดระหว่างจำเลยเอง ศาลต้องยกฟ้องหากฟ้องว่าจำหน่ายให้ผู้อื่น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้สายลับ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 การซื้อขายเมทแอมเฟตามีนรายนี้จึงเป็นการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองเท่านั้น ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ศาลต้องยกฟ้องในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
of 2