พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดของผู้ต้องหา, ข้อมูลการใช้โทรศัพท์, และเหตุผลหนักแน่นเพียงพอในการรับฟังพยานหลักฐาน
จำเลยที่ 2 เบิกความสอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 3 โทรศัพท์มาหาจำเลยที่ 2 บอกให้ไปรับของที่ตลาดบ้านนาอ้อให้จำเลยที่ 3 เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ให้การชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจไม่ได้เกิดขึ้นจากการบังคับขู่เข็ญ ทั้งคำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องปัดความผิดของจำเลยที่ 2 ผู้ซัดทอดให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียว คงเป็นการแจ้งเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าการปรักปรำกลั่นแกล้งจำเลยที่ 3 แม้คำให้การของจำเลยที่ 2 เป็นคำซัดทอด แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 โดยจะรับฟังลงโทษจำเลยที่ 3 ได้ต่อเมื่อมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษ หรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ร้อยตำรวจโท ว. เบิกความว่า พยานได้ตรวจสอบข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีการโทรศัพท์ติดต่อกัน โดยวันเกิดเหตุก่อนถูกจับกุม จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 3 รวม 6 ครั้ง และจำเลยที่ 3 โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 2 รวม 2 ครั้ง แม้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 โทรศัพท์ติดต่อจำเลยที่ 2 เกี่ยวกับเรื่องใด และพันตำรวจโท พ. กับพวกไม่ได้ยินคำพูดของจำเลยที่ 2 ขณะพูดโทรศัพท์กับจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่ตามข้อมูลการใช้โทรศัพท์ก็ระบุว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้โทรศัพท์ติดต่อกันซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่พันตำรวจโท พ. กับพวกให้จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ไปหาจำเลยที่ 3 เพื่อให้ไปรับเมทแอมเฟตามีนของกลาง หากจำเลยที่ 3 มิใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดังที่จำเลยที่ 2 ให้การไว้ในชั้นสอบสวน ก็ไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 จะโทรศัพท์ติดต่อจำเลยที่ 3 ในช่วงเวลานั้น เชื่อว่าจำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ไปรับเมทแอมเฟตามีนของกลางจริง จึงทำให้คำซัดทอดของจำเลยที่ 2 ประกอบไปด้วยเหตุผลและรับฟังเป็นความจริงได้ เป็นพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือในการพิสูจน์ความจริง คำซัดทอดของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำซัดทอดที่มีเหตุผลอันหนักแน่นอันควรแก่การเชื่อถือ และรับฟังได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อนุญาตฎีกาและคดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด การอุทธรณ์ฎีกาจึงไม่ชอบ
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา ไม่ส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และไม่มีเหตุที่จะงดการอ่านคำสั่งของศาลฎีกา โดยให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามฉบับ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการต่อไป คดีย่อมเป็นที่สุดนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 19 วรรคสาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความลับทางการค้า: มาตรการรักษาความลับไม่เพียงพอ ทำให้ข้อมูลไม่เป็นความลับทางการค้า
พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัตินิยามของความลับทางการค้าว่า "ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ" โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้อง ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นความลับทางการค้า มีลักษณะครบถ้วนที่จะเป็นความลับทางการค้าตามที่มาตรา 3 ดังกล่าวกำหนดไว้ การที่พนักงานบริษัทโจทก์คนอื่นนอกเหนือจากจำเลยที่ 2 สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งทั้งที่เป็นเอกสาร และเป็นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้องโจทก์ จึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1095-1096/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษคดียาเสพติดที่ศาลชั้นต้นรวมโทษแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่ควรแก้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 โดยแยกฟ้องเป็นสองสำนวน และมีคำขอให้นับโทษของจำเลยแต่ละสำนวนต่อกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน การกระทำของจำเลยในแต่ละสำนวนจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 โดยเรียงกระทงลงโทษจำเลยในสำนวนแรก จำคุก 25 ปี และปรับ 1,000,000 บาท และสำนวนที่สองจำคุก 25 ปี และปรับ 1,000,000 บาท จึงเป็นการนับโทษจำคุกของจำเลยทุกกระทงในสองสำนวนติดต่อกันแล้ว แม้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกคำขอให้นับโทษต่อ ก็เป็นเพียงการพิพากษาเกินเลยไปเท่านั้น ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องอุทธรณ์แต่อย่างใด เมื่อศาลชั้นต้นนับโทษต่อกันแล้วจึงต้องรวมโทษทั้งสองสำนวนเข้าด้วยกัน และนำโทษจำคุก 6 เดือน ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ. 2372/2555 มาบวกเข้ากับโทษจำคุกดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อมูลจากผู้ต้องขังเป็นประโยชน์ต่อการจับกุมคดียาเสพติด แม้ไม่ได้แจ้งความโดยตรง ก็อาจได้รับโทษน้อยลงตามกฎหมาย
คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถูกคุมขังอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง ส. บิดาของจำเลยที่ 1 แจ้งต่อร้อยตำรวจโท ร. ว่า ได้ไปเยี่ยมจำเลยที่ 1 ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลางแล้วจำเลยที่ 1 แจ้งต่อ ส. ว่า อ. เครือข่ายของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์จำหน่ายยาเสพติดให้แก่ลูกค้าในเขตจังหวัดนครราชสีมา และให้ ส. แจ้งข้อมูลดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ร้อยตำรวจโท ร. จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และได้รับคำสั่งให้สืบสวนสอบสวน ต่อมาร้อยตำรวจโท ร. จับกุม อ. ได้พร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน 400 เม็ด เป็นของกลาง เห็นว่า แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้ข้อมูลต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรง แต่การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งข้อมูลให้แก่ ส. บิดาของจำเลยที่ 1 เพื่อให้นำข้อมูลดังกล่าวไปแจ้งต่อร้อยตำรวจโท ร. จนสามารถจับกุม อ. ได้ตามข้อมูลที่จำเลยที่ 1 แจ้ง พอถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้กระทำความผิดเป็นผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีสัญญาประกัน: ศาลยืนตามคำวินิจฉัยเดิมว่ายังไม่เกินอายุความ หากจำเลยยังอยู่ในอายุความทางอาญา
ผู้ประกันที่ 1 ฎีกาว่า การบังคับคดีเกี่ยวกับสัญญาประกันต้องกระทำภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ขอให้ศาลฎีกาคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกันที่ 1 นั้น เป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาประกัน โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ประกันมีหน้าที่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลไปจนกว่าจะครบกำหนดอายุความทางอาญา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ประกันและออกหมายจับจำเลยที่ 2 โดยระบุให้จับตัวส่งศาลชั้นต้นภายในอายุความ 15 ปี นับจากวันที่ศาลชั้นต้นออกหมายจับและปรับผู้ประกัน จนถึงวันที่ผู้ประกันที่ 1 ยื่นคำร้องนี้มาจึงยังอยู่ภายในอายุความทางอาญาดังกล่าว ดังนั้น ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลชั้นต้น ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้ประกันตามคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ประกันที่ 1 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10786/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับควบคู่กับจำคุกในคดียาเสพติด ศาลฎีกาพิพากษาให้ลงโทษปรับตามกฎหมายยาเสพติด แม้ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์จะไม่ได้ลงโทษปรับ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษปรับจำเลยด้วยและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์กับส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาโดยชอบแล้ว ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยตามที่โจทก์อุทธรณ์หรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวถือว่าศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อความผิดของจำเลยต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ..." ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกเพียงสถานเดียว โดยมิได้ลงโทษปรับจำเลยด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10521/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่ง คสช. 37/2557 ต่อโทษอาวุธปืน: ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
แม้จำเลยจะไม่ได้หยิบยกคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2557 เรื่อง ให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ ซึ่งสั่ง ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2557 มาอ้างในระหว่างการพิจารณาคดีและคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วก็ตาม แต่จำเลยกำลังรับโทษตามคำพิพากษาดังกล่าวอยู่ หากปรากฏตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่าจำเลยไม่ต้องรับโทษในการกระทำของจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลให้กำหนดโทษเสียใหม่ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ภายหลังกระทำความผิดดังกล่าวระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 ได้มีคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2557 เรื่อง ให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ กำหนดให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในครอบครองนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 ไม่ต้องรับโทษ จึงต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวกฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่ผู้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครองแล้ว กรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 ภายหลังกระทำความผิดดังกล่าวระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 ได้มีคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 37/2557 เรื่อง ให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ กำหนดให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในครอบครองนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2557 ไม่ต้องรับโทษ จึงต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวกฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่ผู้มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครองแล้ว กรณีเป็นเรื่องที่มีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10354/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วฟ้องใหม่: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ใช่การถอนฟ้องเด็ดขาด หากมีเหตุผลความไม่ชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องเดิม
แม้คำร้องขอถอนฟ้องคดีก่อนจะระบุว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีดังกล่าวอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้อง โดยปรากฏว่าในคำฟ้องคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง แต่ทนายโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ ทั้งปรากฏว่าในวันรุ่งขึ้นหลังจากศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้มายื่นคำฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ในมูลคดีอาญาความผิดเดียวกันกับคดีก่อนและขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ในบทมาตราเดียวกัน โดยในคำฟ้องใหม่โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องใหม่ถูกต้องตามกฎหมายเชื่อว่าเหตุที่โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อนเนื่องจากเห็นว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในคำฟ้อง ซึ่งเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงประสงค์จะถอนฟ้องแล้วยื่นฟ้องใหม่ให้ถูกต้อง การถอนฟ้องคดีก่อนจึงมิใช่การถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 36 ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10300/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 การบอกเลิกสัญญาผู้จำหน่ายโดยอาศัยข้อตกลงบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า
จำเลยที่ 1 ให้การว่า คดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ แต่ในวันนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีคำสั่งให้งดการชี้สองสถาน และให้นัดสืบพยานโจทก์และพยานฝ่ายจำเลยต่อไป จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้าน กลับแถลงว่าประสงค์จะสืบพยานและดำเนินกระบวนพิจารณาถามค้านพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบและนำสืบพยานจำเลยที่ 1 จนเสร็จสิ้นกระบวนพิจารณา จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ และถือได้ว่ากรณีไม่มีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือไม่แล้ว จำเลยที่ 1 ไม่อาจยกปัญหาเรื่องอำนาจศาลขึ้นอุทธรณ์ได้อีก เพราะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาที่จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่รับวินิจฉัย
การวินิจฉัยปัญหาว่าสัญญาที่มีข้อสัญญาไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องยึดหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติอันเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยที่ 1 ได้เปรียบโจทก์หรือไม่ โดยมาตรา 4 วรรคสามดังกล่าว ได้ยกตัวอย่างของคำจำกัดความข้างต้นไว้ เช่น เป็นข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ เป็นต้น เมื่อสัญญาแต่งตั้งผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ ฮ. ระบุข้อตกลงไว้ชัดเจนแล้วเรื่องกำหนดเวลาของสัญญาว่าเป็นสัญญาแบบปีต่อปี โดยมีการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติในกรณีที่ไม่มีการแจ้งบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลา และสัญญาดังกล่าว ข้อ 8.1 ระบุว่า คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้โดยที่ไม่มีการปฏิบัติผิดสัญญาได้ โดยส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาถึงคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน ก่อนถึงวันครบอายุสัญญาของอายุสัญญาดั้งเดิมหรืออายุสัญญาที่ต่อออกไปของสัญญานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการต่ออายุสัญญาแก่จำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกเลิกการต่ออายุสัญญาแก่โจทก์เช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มียอดขายสินค้าและมาตรฐานการให้บริการต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยที่ 1 กำหนด จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิบอกเลิกการต่ออายุสัญญาตามข้อ 8.1 จึงไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ต้องปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติหรือเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบโจทก์ ดังนั้นข้อตกลงตามข้อ 8.1 จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
การวินิจฉัยปัญหาว่าสัญญาที่มีข้อสัญญาไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ต้องยึดหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติอันเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยที่ 1 ได้เปรียบโจทก์หรือไม่ โดยมาตรา 4 วรรคสามดังกล่าว ได้ยกตัวอย่างของคำจำกัดความข้างต้นไว้ เช่น เป็นข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือเป็นข้อตกลงให้สัญญาสิ้นสุดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ เป็นต้น เมื่อสัญญาแต่งตั้งผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ ฮ. ระบุข้อตกลงไว้ชัดเจนแล้วเรื่องกำหนดเวลาของสัญญาว่าเป็นสัญญาแบบปีต่อปี โดยมีการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติในกรณีที่ไม่มีการแจ้งบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลา และสัญญาดังกล่าว ข้อ 8.1 ระบุว่า คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้โดยที่ไม่มีการปฏิบัติผิดสัญญาได้ โดยส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาถึงคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน ก่อนถึงวันครบอายุสัญญาของอายุสัญญาดั้งเดิมหรืออายุสัญญาที่ต่อออกไปของสัญญานี้ เป็นข้อสัญญาที่ให้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการต่ออายุสัญญาแก่จำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิบอกเลิกการต่ออายุสัญญาแก่โจทก์เช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มียอดขายสินค้าและมาตรฐานการให้บริการต่ำกว่ามาตรฐานที่จำเลยที่ 1 กำหนด จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิบอกเลิกการต่ออายุสัญญาตามข้อ 8.1 จึงไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ต้องปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติหรือเป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบโจทก์ ดังนั้นข้อตกลงตามข้อ 8.1 จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม