พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อขอเปลี่ยนบัตรประชาชน โดยผู้มีสัญชาติไทย ศาลแก้ไขบทลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย ฉะนั้นในวันที่ 29 มกราคม 2557 และวันที่ 20 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน จำเลยจึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2512 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุดโดยแจ้งข้อมูลว่าจำเลยเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 สัญชาติไทย พร้อมเลขประจำตัวประชาชนของ จ. แม้ที่จำเลยแจ้งว่ามีสัญชาติไทยไม่เป็นความเท็จ แต่การที่จำเลยแจ้งว่าเกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2511 นั้น เป็นความเท็จเพราะจำเลยเกิดวันที่ 1 มกราคม 2512 และจำเลยยังใช้เลขประจำตัวประชาชนของ จ. โดยอ้างว่าจำเลยชื่อ จ. เป็นบุตร ย. และ ส. ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 137 ฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตาม ป.อ. มาตรา 267 และฐานแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนกรณีบัตรชำรุด ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด: บิดาตามกฎหมาย vs. บิดาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส
บิดาตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 4 บัญญัติว่า "บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด (1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาญาจักรไทย?" และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับ ผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย" ฉะนั้น การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือไม่ ต้องบังคับตามบทกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาญาจักรไทยจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ผู้ร้องต้องเกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งหมายถึงบิดาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติลาวแม้เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ส่วนหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยมีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่าผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่นและบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แต่หามีผลลบล้างกฎหมายไม่
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาญาจักรไทยจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ผู้ร้องต้องเกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งหมายถึงบิดาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติลาวแม้เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10 ส่วนหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยมีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่าผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่นและบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย เป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง แต่หามีผลลบล้างกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิด: บิดาต้องเป็นบิดาตามกฎหมาย แม้มิได้สมรสกับมารดา ก็ไม่ได้สัญชาติ
ผู้ร้องเกิดในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติลาว แม้เกิดจากบิดาผู้มีสัญชาติไทยแต่ไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย ผู้ร้องย่อมไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 10
หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่า ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่น และบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่มีผลลบล้างกฎหมาย
หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดและปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของบุคคลตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ที่ว่า ผู้เกิดนอกราชอาณาจักรไทยโดยบิดาผู้มีสัญชาติไทยกับมารดาผู้มีสัญชาติอื่น และบิดามิได้สมรสกับมารดาย่อมได้สัญชาติไทย หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงการกำหนดแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องไม่มีผลลบล้างกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิ: คดีไม่ขาดอายุความแม้ฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในไทยจากบิดามารดาจดทะเบียนสมรส และการเพิกถอนสัญชาติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและมีหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนคนญวนอพยพโดยอ้างว่าโจทก์ทั้งเจ็ดถูกถอนสัญชาติไทยเป็นเหตุให้นายทะเบียนคนญวนอพยพแจ้งให้โจทก์ไปทำทะเบียนประวัติคนญวนอพยพเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย บ.บิดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทยจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกิดบุตรคือโจทก์ในราชอาณาจักรไทยดังนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.2408มาตรา7(1)(3)และมิใช่กรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่337ลงวันที่13ธันวาคม2515ข้อ1(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยตามกฎหมายและผลกระทบของการถอนสัญชาติจากกรณีมารดาเป็นชาวต่างด้าว
การที่จำเลยจำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากทะเบียนบ้านและมีหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนคนญวนอพยพ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งเจ็ดถูกถอนสัญชาติไทยเป็นเหตุให้นายทะเบียนคนญวนอพยพแจ้งให้โจทก์ไปทำทะเบียนประวัติคนญวนอพยพเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
บ.บิดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกิดบุตรคือโจทก์ในราชอาณาจักรไทยดังนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2408มาตรา 7(1)(3) และมิใช่กรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(3)
บ.บิดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย จดทะเบียนสมรสในประเทศไทยกับมารดาโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและเกิดบุตรคือโจทก์ในราชอาณาจักรไทยดังนี้โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2408มาตรา 7(1)(3) และมิใช่กรณีที่โจทก์เกิดจากมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้สั่งการให้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านเนื่องจากโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านได้แสดงชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้นส่วนที่โจทก์กล่าวในฟ้องถึงจำเลยที่1ในฐานะเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในเขตจังหวัดนั้นมาด้วยแม้จะเป็นตำแหน่งที่ไม่มีในกฎหมายก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดเสียไปและการที่จำเลยที่1ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่2ในฐานะนายทะเบียนท้องถิ่นทราบว่าโจทก์ทั้งสองไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และสั่งให้จำเลยที่2ดำเนินการตามระเบียบจำเลยที่2จึงได้ดำเนินการถอนชื่อโจทก์ทั้งสองออกจากทะเบียนบ้านตามคำสั่งของจำเลยที่1เช่นนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วแม้การกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นการปฏิบัติราชการตามหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนก็ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ไปไม่. โจทก์ทั้งสองมีมารดาเป็นคนญวนอพยพซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวโจทก์ที่1เกิดเมื่อวันที่13ธันวาคม2501และโจทก์ที่2เกิดเมื่อวันที่15กรกฎาคม2503ในขณะที่โจทก์ทั้งสองเกิดไปปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมารดาของโจทก์ทั้งสองเพิ่งจดทะเบียนสมรสกับส.ซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยและโจทก์อ้างว่าเป็นบิดาของโจทก์เมื่อวันที่16มีนาคม2504ดังนั้นในขณะเกิดเหตุมารดาโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวและไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ทั้งสองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337แล้วแม้ภายหลังที่โจทก์ทั้งสองเกิดโจทก์ทั้งสองจะมีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายคือส.ก็ตามก็หาทำให้โจทก์ทั้งสองเกิดสิทธิที่จะได้สัญชาติไทยไม่และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142เมื่อโจทก์ทั้งสองถูกถอนสัญชาติไทยดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิ่มชื่อโจทก์ทั้งสองลงในทะเบียนราษฎร์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยจากประกาศ คปช. 337 กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่วๆไปอีกไม่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทยและการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 และในข้อ 3ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่วๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฯ กรณีบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมารดาเป็นคนต่างด้าว
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาของโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 แม้บิดามารดาของโจทก์จะได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง มีผลให้โจทก์กลายเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์กลับได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้กับกรณีทั่ว ๆ ไปอีกไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษ ยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และในข้อ 3 ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่ว ๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ได้กำหนดเรื่องการถอนสัญชาติไทยและการได้สัญชาติไทยของบุคคลบางประเภทไว้เป็นพิเศษ ยิ่งกว่าการเสียสัญชาติไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และในข้อ 3 ของประกาศนั้นยังระบุไว้อีกด้วยว่า ถ้ามีบทกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ก็ให้ใช้ประกาศนี้แทนแสดงให้เห็นว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 มีผลบังคับเป็นพิเศษยิ่งกว่าพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสัญชาติโดยทั่ว ๆ ไปทั้งนี้เพราะการได้สัญชาติก่อให้เกิดสิทธิบางประการแก่ผู้ได้รับสัญชาติแต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดหน้าที่แก่รัฐต่อผู้ได้รับสัญชาติด้วยจึงเป็นอำนาจของรัฐที่จะให้สัญชาติแก่ผู้ใดตามเงื่อนไขที่รัฐเห็นว่าเหมาะสมซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายเหตุการณ์บ้านเมืองและความจำเป็นของแต่ละประเทศเมื่อปรากฏว่าโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้มีคำสั่งยกเว้นเป็นอย่างอื่นโจทก์ก็ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ด้วยเหตุผลพิเศษตามที่ระบุไว้ในประกาศของคณะปฏิวัตินั้น