พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม พิจารณาจากสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เทียบกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ไปแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดส่วนอัตราเงินสมทบประกันสังคม: เปรียบเทียบสวัสดิการนายจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ประกาศคณะกรรมการประกันสังคม ฯ พ.ศ. 2534มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉินแต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้ง แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้ อยู่ในระดับเดียวกัน ประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 สมควรได้ 0 คะแนน เมื่อรวมคะแนนกับอีกแปดหัวข้อซึ่งมีคะแนนรวมเท่ากับ 0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดส่วนอัตราเงินสมทบประกันสังคม: เปรียบเทียบสวัสดิการนายจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลนายจ้างและลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคม โดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ โดยให้คะแนน 3 ระดับ คือ 0,-1,+1 ผลลัพธ์การให้คะแนน ถ้าได้คะแนน 0 และ -1 หมายถึงนายจ้างไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบถ้าได้คะแนน +1 หมายถึงนายจ้างได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ และตามประกาศของคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วยแบ่งเป็น 9 หัวข้อ โดยใน 8 หัวข้อโจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ส่วนหัวข้อเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลนั้นตามประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉินแต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้ง แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ สมควรได้คะแนน 0 เมื่อรวมคะแนนกับอีก 8 หัวข้อ คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯโจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทางกฎหมายขององค์การค้าของคุรุสภา: ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ
องค์การค้าของคุรุสภา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2493ตามมติของคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา ไม่ใช่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.2496 ที่มีผลใช้บังคับภายหลังจากที่มีการจัดตั้งองค์การค้าของคุรุสภาแล้ว และตาม พ.ร.บ.ครู พ.ศ.2488 มาตรา 4, 6กำหนดให้คุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกระทรวงศึกษาธิการ และให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นแก่กระทรวง-ศึกษาธิการในเรื่องการจัดการศึกษาโดยทั่วไป รวมทั้งการปกครองดูแลและคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ประกอบอาชีพครูโดยเฉพาะ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลหรือดำเนินการใด ๆ แก่ประชาชนโดยทั่วไป ทั้งตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ.2534 มาตรา 26 ก็ไม่ได้บัญญัติให้คุรุสภาเป็นส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ถือไม่ได้ว่าคุรุสภาซึ่งเป็นเจ้าขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นรัฐ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้นและไม่ใช่หน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ องค์การค้าของคุรุสภาจึงไม่ใช่รัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม กรณีสวัสดิการของนายจ้างสูงกว่าประโยชน์ทดแทน
การพิจารณาการจัดสวัสดิการของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายนั้นจะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบมิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อลูกจ้างส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการรวมแล้วสูงกว่าประโยชน์ทดแทนในกรณีตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินเดือนสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการลูกจ้างถึงแก่กรรม: พิจารณาโครงสร้างเงินเดือนทั้งระบบเพื่อลดอัตราสมทบประกันสังคม
การพิจารณาการจัดสวัสดิการของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายนั้นจะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบ มิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อลูกจ้างส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการรวมแล้วสูงกว่าประโยชน์ทดแทนในกรณีตายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินเดือนสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม: พิจารณาจากโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างทั้งระบบ
เมื่อปรากฏว่าสวัสดิการที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย นั้น บางกรณีลูกจ้างได้รับประโยชน์สูงกว่าบางกรณีได้รับประโยชน์ต่ำกว่าประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ตามพ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ดังนี้การจะพิจารณาว่าสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องมาจากการทำงานนั้น มีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ หรือไม่ จะต้องพิจารณาจากโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบ มิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง กรณีนี้เมื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบแล้วสวัสดิการของโจทก์ที่จัดให้แก่ลูกจ้างมีอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม: พิจารณาโครงสร้างเงินเดือนลูกจ้างทั้งระบบเพื่อเปรียบเทียบสวัสดิการนายจ้าง
การพิจารณาว่านายจ้างจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานมีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 55 หรือไม่จะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบมิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบแล้วสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างในกรณีการตายอันมิใช่เนื่องมาจากการทำงานนั้น มีการจ่ายในอัตราสูงกว่าประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ นายจ้างจึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06