พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6709/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องเนื่องด้วยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว และเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง โดยเห็นว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 มีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3904/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: จำกัดวงตามจำนวนหนี้ที่ฟ้อง
แม้ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลาย แต่เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว อำนาจในการจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 (1) แม้ไม่มีโจทก์นำยึด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจทำการยึดทรัพย์ได้เองและยึดทรัพย์ของจำเลยได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องพิจารณาถึงจำนวนหนี้ของโจทก์ ดังเช่นคดีแพ่งตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 284 บัญญัติไว้ เนื่องจากเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย สาเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของจำเลยเนื่องมาจากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง ไม่ใช่เพราะโจทก์ขอถอนฟ้องหรือขอถอนการยึดทรัพย์ การที่จะให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึดทั้งหมดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 179 (3) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่โจทก์อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายดังกล่าวจึงควรอยู่ในขอบเขตไม่เกินยอดจำนวนหนี้ที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ และการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ แม้มีการอุทธรณ์คำสั่ง
การที่ผู้ร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกัน 5 ครั้งมาเป็นเวลานานเกือบ 1 ปี ไม่ยอมนำสืบพยานหลักฐาน การขอเลื่อนครั้งที่สี่ศาลชั้นต้นกำชับไว้แล้วว่าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีอีกและให้ผู้ร้องเตรียมพยานมาศาลให้พร้อมสืบ ผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้ว ในวันสืบพยานครั้งที่ 5 ผู้ร้องไม่มีพยานมาศาล ขอเลื่อนคดีอ้างเหตุ ร. ทนายความติดหาเสียงเลือกตั้งทั้งที่ผู้ร้องแต่งตั้งทนายความไว้สองคนคือ ร. และ ท. เมื่อไม่ปรากฏว่า ท. ติดภาระใดหรือเจ็บป่วยเหตุขอเลื่อนคดีของผู้ร้องจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอแก่การรับฟัง มีลักษณะเป็นการประวิงคดี
แม้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3) ไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและอุทธรณ์ได้ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 228 วรรคสาม ให้ศาลชั้นต้นดำเนินคดีต่อไปและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีโดยไม่ต้องหยุดการพิจารณา เว้นแต่ศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการสมควรและมีคำสั่งให้งดการพิจารณาไว้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการพิจารณาหรืองดการวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ มีคำสั่งยกคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ จึงชอบด้วยเหตุผลและกระบวนพิจารณาแล้ว
แม้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 228 (3) ไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาและอุทธรณ์ได้ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 228 วรรคสาม ให้ศาลชั้นต้นดำเนินคดีต่อไปและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีโดยไม่ต้องหยุดการพิจารณา เว้นแต่ศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการสมควรและมีคำสั่งให้งดการพิจารณาไว้ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการพิจารณาหรืองดการวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีและถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ มีคำสั่งยกคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ จึงชอบด้วยเหตุผลและกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2446/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้จนกว่ามีคำพิพากษา
การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม มิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 หรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์จนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้บริหารของลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งมีข้อความเหมือนกับคำร้องฉบับลงวันที่เดียวกันที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง โดยขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ทำแผนและมีคำสั่งว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นโมฆะ และให้ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว โดยขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนแทน ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเป็นคำสั่งคำร้องศาลฎีกาว่า "คดีนี้ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว และประเด็นตามคำร้องได้มีการวินิจฉัยในคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว ให้ยกคำร้อง..." การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางมีข้อความทำนองเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกาในวันเดียวกัน กับทั้งประเด็นเดียวกับที่มีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน อันเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14