คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 368

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405-410/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์: อำนาจรัฐบาลในการกำหนดเขตหวงห้ามใหม่ ย่อมลบล้างการหวงห้ามเดิม
เดิมอำเภอได้ประกาศหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณเดียวกันนั้นเพื่อประโยชน์ราชการทหาร ที่รกร้างว่างเปล่าน้นก็ยังคงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ในสภาพเดิม เป็นแต่เปลี่ยนประโยชน์ที่ใช้เสียใหม่จากการใช้สำหรับราษฎรเลี้ยงสัตว์มาเป็นใช้ประโยชน์ในราชการทหาร การหวงห้ามเดิมย่อมหมดสภาพไป ทั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามนั้นก็กำหนดให้เจ้ากรมแผนที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย ดังนี้อำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ดูแลตรวจตราที่ดินนั้นต่อไป นายอำเภอจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกานั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งนายอำเภอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405-410/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์: อำนาจรัฐในการหวงห้ามที่ดินใหม่ย่อมลบล้างการหวงห้ามเดิม
เดิมอำเภอได้ประกาศหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณเดียวกันนั้นเพื่อประโยชน์ราชการทหาร ที่รกร้างว่างเปล่านั้นก็ยังคงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ในสภาพเดิมเป็นแต่เปลี่ยนประโยชน์ที่ใช้เสียใหม่จากการใช้สำหรับราษฎรเลี้ยงสัตว์มาเป็นใช้ประโยชน์ในราชการทหารการหวงห้ามเดิมย่อมหมดสภาพไปทั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามนั้นก็กำหนดให้เจ้ากรมแผนที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานั้นด้วยดังนี้ อำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ดูแลตรวจตราที่ดินนั้นต่อไปนายอำเภอจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกานั้นเมื่อจำเลยฝ่าฝืนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งของนายอำเภอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณประโยชน์: การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเมื่อบุกรุกและอ้างสิทธิในที่ดินสาธารณะ
ที่สาธารณประโยชน์นั้น ไม่จำเป็นที่ทางราชการต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามสภาพ
นายอำเภอสั่งให้จำเลยออกจากที่ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าเป็นที่ของจำเลยนั้น ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน กรณีบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ การอ้างว่าเป็นที่ทำกินเดิมไม่เป็นเหตุสมควร
ที่สาธารณประโยชน์นั้นไม่จำเป็นที่ทางราชการต้องสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ก็เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ตามสภาพ
นายอำเภอสั่งให้จำเลยออกจากที่จำเลยรู้อยู่แล้ว++ สาธารณประโยชน์ จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าเป็นที่ของจำเลยนั้น ไม่ใช่เหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชุมนุมเพื่อยื่นคำร้องไม่ใช่การประชุมทางการเมือง
การที่จำเลยกับพวกประชุมกันเพื่อเขียนคำร้องทุกข์ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าพวกญวนที่ถูกเจ้าพนักงานจับไปในข้อหาคอมมูนิสต์ไม่ได้กระทำผิดอะไรนั้น ไม่ใช่เป็นการประชุมในทางการเมืองตามประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 13 จำเลยจึงไม่ผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 970/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชุมนุมเพื่อยื่นคำร้องไม่ถือเป็นการประชุมทางการเมืองตามประกาศคณะปฏิวัติ
การที่จำเลยกับพวกประชุมกันเพื่อเขียนคำร้องทุกข์ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าพวกญวนที่ถูกเจ้าพนักงานจับไปในข้อหาคอมมูนิสต์ไม่ได้กระทำผิดอะไรนั้น ไม่ใช่เป็นการประชุมในทางการเมืองตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 13 จำเลยจึงไม่ผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-229/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลหนองสาธารณะ: ความชอบธรรมตามกฎหมายปกครองท้องที่ และความสัมพันธ์กับประมวลกฎหมายที่ดิน
หนองสาธารณะที่ทางราชการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับคนและสัตว์ใช้อาบกินร่วมกัน นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะดูแลรักษาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 122 ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสาม นายอำเภอจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้บุกรุกหนองสาธารณประโยชน์ออกไปจากหนองนั้นได้ผู้ใดขัดขืนย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122 มิได้ถูกยกเลิกหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 และไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-229/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลรักษาสถานที่สาธารณะ และการสั่งให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่
หนองสาธารณที่ทางราชการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ สำหรับคนและสัตว์ใช้อาบกินร่วมกัน นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะดูแลรักษาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3 นายอำเภอจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้บุกรุกหนองสาธารณประโยชน์ออกไปจากหนองนั้นได้ ผู้ใดขัดขืนย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 มิได้ถูกยกเลิกหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 และไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062-1065/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีอาญา: เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องรับฟังพยานจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจำเลยให้การว่าคำสั่งของนายอำเภอไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำผิด
เมื่อศาลเห็นว่า พยานโจทก์ที่นำสืบมาแล้ว ไม่พอฟังลงโทษจำเลยได้ ศาลก็ไม่จำต้องฟังคำพยานจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062-1065/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธความผิดและการนำสืบพยาน: เมื่อโจทก์นำสืบพยานไม่พอฟัง ศาลไม่ต้องฟังพยานจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน จำเลยให้การว่า คำสั่งของนายอำเภอ ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้ ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ กระทำผิด
เมื่อศาลเห็นว่า พยานโจทก์ที่นำสืบมาแล้ว ไม่พอฟัง ลงโทษจำเลยได้ ศาลก็ไม่จำต้องฟังคำพยาน จำเลย ต่อไป
of 12