คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อดิเทพ ถิระวัฒน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 106 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12137/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ถือเป็นความผิดใช้เอกสารราชการปลอม
ความผิดฐานปลอมเอกสารต้องเป็นการกระทำต่อเอกสารอันเป็นผลให้เอกสารนั้นผิดแผกแตกต่างไป ด้วยเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง แม้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการ แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่ามีเพียงการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้แต่อย่างใด สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวยังคงเป็นเอกสารที่แท้จริง การปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นเพียงการปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น เมื่อจำเลยใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12137/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมลายมือชื่อในสำเนาบัตรประชาชน ไม่ถือเป็นเอกสารราชการปลอม แต่เป็นเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264
ความผิดฐานปลอมเอกสารไม่ว่าจะเป็นการทำปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอมหรือลงลายมือชื่อปลอมนั้น ต้องเป็นการกระทำต่อเอกสารอันเป็นผลให้เอกสารนั้นผิดแผกแตกต่างไป ด้วยเจตนาให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง แม้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจะเป็นเอกสารราชการ แต่ได้ความว่ามีเพียงการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงของโจทก์ร่วม โดยไม่มีการเติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แตกต่างไปจากสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนี้แต่อย่างใด สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวยังคงเป็นเอกสารที่แท้จริง การปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมลงในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจึงเป็นเพียงการปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรกเท่านั้น เมื่อจำเลยใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ร่วมดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คงมีความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12132/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นอันเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน เพราะกรณีมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 ดังนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12131/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเกษียณอายุเร็วตามโครงการของบริษัท และสิทธิขอคืนภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศเรื่อง โครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดประจำปี 2550 ที่ให้พนักงานออกจากงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ โดยความสมัครใจร่วมกันคือข้อกำหนดส่วนหนึ่งในหลักเกณฑ์การเกษียณอายุงาน โดยเพิ่มเติมจากข้อบังคับธนาคารเพื่อการเกษตรฯ ฉบับที่ 4 ที่กำหนดให้เกษียณเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือเกษียณอายุงานก่อนอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ การที่โจทก์ใช้สิทธิตามประกาศนี้แม้จะเป็นเวลาที่ยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการเกษียณอายุโดยการออกจากงานเมื่อสิ้นกำหนดเวลาการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพประจำปีภาษี 2550 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงเป็นผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะพิพากษาคดีนี้ มีเจตนารมณ์ที่จะใช้บังคับแก่บุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียเท่านั้น มิได้บัญญัติขยายรวมไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี แต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังเช่นโจทก์ในคดีนี้ ซึ่งต่อมาภายหลังจึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 63 ดังกล่าว โดยมาตรา 63 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติให้บุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในปีภาษีแต่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย บุคคลนั้นมีสิทธิได้รับเงินคืนแต่ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด กรณีของโจทก์จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ ป.รัษฎากร มาตรา 63 เดิม เมื่อกรณีของโจทก์ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์จึงมีความชอบธรรมที่จะใช้สิทธิขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามมาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้กับกรณีทั่วไป จึงต้องคืนภาษีให้กับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11260/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปี และการคำนวณดอกเบี้ยที่จำกัดเพดานตามจำนวนภาษีที่คืน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84 บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีเครดิตภาษีเหลืออยู่มีสิทธินำเครดิตภาษีดังกล่าวไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป หรือมีสิทธิขอคืนภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้น และมาตรา 84/1 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติว่า ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 84 ให้มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีที่มีการขอคืนนั้น ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2546 ในวันที่ 12 เมษายน 2549 จึงเป็นการยื่นภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีที่มีการขอคืนแล้ว จำเลยจึงต้องคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์
ที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 4 ทศ วรรคสอง บัญญัติว่า ดอกเบี้ยที่ให้แก่ผู้รับคืนเงินภาษีอากรมิให้เกินกว่าจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10569/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีบริษัทจำกัดต้องมีกรรมการผู้มีอำนาจ และการแยกความผิดผลิต-ขายปุ๋ยเคมี
การฟ้องคดีอาญาต่อบริษัทจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคล ต้องมีกรรมการผู้อำนาจกระทำการแทนบริษัทซึ่งเป็นผู้แทนบริษัทจึงจะดำเนินคดีได้ ขณะยื่นฟ้อง ส. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงต้องนำตัว ส. มาส่งศาลชั้นต้นพร้อมกับฟ้อง โจทก์ไม่ได้นำตัว ส. มาศาลต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีตัวอยู่อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมายและต้องถือว่าโจทก์ไม่มีตัวจำเลยที่ 1 มาศาลในวันฟ้องด้วย การที่ศาลชั้นต้นประทับรับฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 165 วรรคหนึ่ง และทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วย
การร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อการค้ากับการร่วมกันขายปุ๋ยเคมีเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแยกต่างหากจากกันได้ แม้ปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนที่ขายไปจะเป็นส่วนหนึ่งของปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันผลิตเพื่อการค้า กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขายไปในช่วงเวลาเดียวกันก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาแยกการร่วมกันผลิตปุ๋ยเคมีปลอมและปุ๋ยเคมีที่ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อการค้าต่างหากจากการร่วมกันขายปุ๋ยเคมีตั้งแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันขายให้แก่ร้าน ฉ. แล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9801/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและรถยนต์กรณีคนต่างด้าว: สัญญาซื้อขาย, การครอบครอง, และการส่งมอบทรัพย์
แม้จำเลยจะมีชื่อในทะเบียนรถซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17/1 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยตกลงคืนรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยมอบสมุดคู่มือจดทะเบียนรถยนต์และนัดหมายโอนทะเบียนรถให้แก่กันแล้วย่อมแสดงให้เห็นว่า จำเลยยอมรับว่ารถยนต์เป็นของโจทก์โดยให้ใส่ชื่อจำเลยถือครองแทน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท
หากโจทก์มีความประสงค์จะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์กับจำเลยต้องทำสัญญาซื้อขายไว้อีก และเมื่อพิจารณาข้อความทั้งหมดในสัญญาดังกล่าวแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่า ต้องการจะซื้อบ้านพร้อมที่ดินพิพาทเป็นของตนเอง แต่เนื่องจากโจทก์เป็นคนต่างด้าว ไม่ได้ถือสัญชาติไทยจะมีสิทธิถือครองที่ดินได้ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวว่าหากวันใดมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในการถือสิทธิครอบครองที่ดินขอให้โอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์โดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินคืน เมื่อปรากฏว่าทรัพย์นั้นยังคงมีอยู่ที่จำเลยและจำเลยสามารถปฏิบัติการส่งมอบทรัพย์พิพาทตามที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงไม่ต้องชำระราคาทรัพย์ และจำเลยไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติด้วยการนำที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดแต่อย่างใด แต่กรณีที่ต้องบังคับตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนด ทั้งการบังคับให้จำหน่ายดังกล่าวก็หมายความเฉพาะที่ดินเท่านั้น ไม่รวมถึงสิ่งปลูกสร้างด้วย เพราะคนต่างด้าวไม่ต้องห้ามมิให้ถือกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง ตามคำฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินคืน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับให้จัดการจำหน่ายที่ดินพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9800/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและอำนาจฟ้องในคดีขับไล่ การยกฎีกาจำเลยร่วมที่ไม่เคยอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยได้เช่าจากโจทก์ที่ 2 ในอัตราค่าเช่าปีละ 200 บาท กับเรียกค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์ที่ 2 จะขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ 100 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยร่วมไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยร่วมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9449/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับรถยนต์ให้เช่า: ค่าเสื่อมราคา vs. มูลค่าต้นทุนที่เหลือ
โจทก์ซื้อรถยนต์มาประกอบธุรกิจให้เช่า มูลค่าต้นทุนจากการซื้อรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540 เมื่อรถยนต์เป็นสินทรัพย์ โจทก์คงมีสิทธิเพียงหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4 (5) ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่อาจนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามาถือเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ อย่างไรก็ตาม มูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าว โจทก์ย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เมื่อโจทก์ขายรถยนต์ โดยถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้จากการขายรถยนต์นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9449/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับธุรกิจให้เช่ารถยนต์: มูลค่าต้นทุนรถยนต์หลังหักค่าเสื่อมราคา
มาตรา 65 ตรี แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ... (20) รายจ่ายที่มีลักษณะทำนองเดียวกับที่ระบุไว้ใน (1) ถึง (19) ตามที่จะได้กำหนดโดย พ.ร.ฎ. ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2540 มาตรา 4 บัญญัติว่า รายจ่ายต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ (1) มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท และมาตรา 5 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 4 (1) ไม่ใช้บังคับกับรายจ่ายที่เกิดจากซื้อหรือการเช่าซื้อทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ในกรณีที่... (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ มีรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์และซื้อรถยนต์มาเพื่อการให้เช่า มูลค่าต้นทุนจากการซื้อรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ย่อมนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวได้ เมื่อรถยนต์เป็นสินทรัพย์ โจทก์คงมีสิทธิเพียงหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่ง ป.รัษฎากร ประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4 (5) ดังนั้น โจทก์จึงยังไม่อาจนำมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคามาถือเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ การที่โจทก์นำมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนและมีไว้เพื่อการให้เช่า เฉพาะส่วนที่เกินกว่าหนึ่งล้านบาท มาทยอยหักเป็นรายจ่ายควบคู่ไปกับการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับมูลค่าต้นทุนของรถยนต์ส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เมื่อโจทก์ขายรถยนต์โดยถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้จากการขายรถยนต์นั้น
of 11