พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีซื้อขายปุ๋ย, ลักษณะการเป็นพ่อค้า, และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์เป็นองค์การของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามมาตรา 6 (1) ถึง (8) ตามสัญญาซื้อปุ๋ย จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินค่าปุ๋ยให้โจทก์ในวันทำสัญญาไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ส่วนที่เหลือชำระภายใน 12 เดือนโดยโจทก์คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือนของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระเท่านั้นซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำ โจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา165 (1) เดิม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะฟ้อง เพราะไม่ได้ซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระเพื่อหากำไร จึงนำอายุความ 2 ปี ตามบทกฎหมายดังกล่าวมาบังคับใช้แก่โจทก์ไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการซื้อปุ๋ยแทน หนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10และที่ 17 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่ 1จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน 920,260 บาท ชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว 46,020 บาท คงค้างชำระ 874,240 บาท โจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน ของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523 ถึงเดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 73,873.28 บาท รวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระ ณ เดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 948,113.28 บาท ในเดือนกันยายน 2524 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก 5,000 บาท จึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาท แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน รวมอยู่ด้วย ก็มิใช่ดอกเบี้ย ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม แต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา 224 วรรคแรก
ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ฎีกาว่า หนังสือมอบอำนาจไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าจำเลยที่ 1ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำการซื้อปุ๋ยแทน หนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10และที่ 17 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าหนังสือสัญญาซื้อปุ๋ยไม่ผูกพันจำเลยที่ 1จำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 และที่ 17 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ซื้อปุ๋ยจากโจทก์เป็นเงิน 920,260 บาท ชำระค่าปุ๋ยในวันทำสัญญาแล้ว 46,020 บาท คงค้างชำระ 874,240 บาท โจทก์ได้คิดราคาปุ๋ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน ของราคาปุ๋ยที่ค้างชำระนับแต่เดือนกันยายน2523 ถึงเดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 73,873.28 บาท รวมเป็นราคาปุ๋ยค้างชำระ ณ เดือนกันยายน 2524 เป็นเงิน 948,113.28 บาท ในเดือนกันยายน 2524 จำเลยที่ 1 ได้ผ่อนชำระค่าปุ๋ยอีก 5,000 บาท จึงคงเหลือค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาท แม้ยอดค้างชำระดังกล่าวจะมีราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน รวมอยู่ด้วย ก็มิใช่ดอกเบี้ย ฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินค่าปุ๋ยค้างชำระ 943,113.28 บาทกรณีมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยเนื่องจากการผิดนัดในกรณีนี้มิใช่ดอกเบี้ยค้างส่งซึ่งมีอายุความ 5 ปี ตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 166 เดิม แต่เป็นดอกเบี้ยที่กำหนดแทนค่าเสียหายตามมาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการนำเช็คไปแลกเงินสดและการรับสภาพหนี้
จำเลยมีเจตนาก่อหนี้ด้วยวิธีนำเช็คไปแลกเงินสด อันเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งที่ใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระเงินแต่เพียงบางส่วนจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ให้จนครบ หนี้อันเกิดจากนำเช็คไปแลกเงินสดกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ ปรากฏว่าจำเลยชำระหนี้เป็นบางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2534 อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2536 ภายในอายุความสิบปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่า การนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือกฎหมายลักษณะกู้ยืม เมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า 50 บาท มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น จำเลยให้การว่า โจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสด ไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า การนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรง ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือกฎหมายลักษณะกู้ยืม เมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า 50 บาท มิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญ โจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้น จำเลยให้การว่า โจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสด ไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกเทศสัญญาเช็ค – อายุความสิบปี – การรับสภาพหนี้ – ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้รับรอง
จำเลยมีเจตนาก่อหนี้ด้วยวิธีนำเช็คไปแลกเงินสดอันเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งที่ใช้บังคับได้เมื่อโจทก์ได้รับชำระเงินแต่เพียงบางส่วนจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ให้จนครบหนี้อันเกิดจากการนำเช็คไปแลกเงินสดตามกฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ปรากฏว่าจำเลยชำระหนี้เป็นบางส่วนแก่โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่30มิถุนายน2534อันเป็นการรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30เมษายน2536ภายในอายุความสิบปีสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยฎีกาว่าการนำเช็คไปแลกเงินสดไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือออกกฎหมายลักษณะกู้ยืมเมื่อการนำเช็คไปแลกเงินสดมีจำนวนเงินเกินกว่า50บาทมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยไว้เป็นสำคัญโจทก์จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดหาได้ไม่นั้นจำเลยให้การว่าโจทก์บรรยายฟ้องเป็นเรื่องการนำเช็คไปแลกเงินสดไม่ใช่เรื่องการกู้ยืมหรือผิดสัญญาซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญดังนั้นฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงขัดแย้งกับคำให้การของจำเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกเกินอำนาจของผู้จัดการมรดก เจ้าของมรดกมีสิทธิเรียกคืน
เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรม มรดกย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาททันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ทายาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 164 เดิม คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินพิพาททั้งสามแปลงระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7256/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างสิทธิในการติดตามเอาคืนทรัพย์สิน
เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมมรดกย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาททันทีโจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่1โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่2ซึ่งไม่ใช่ทายาทถือได้ว่าจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกโจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความกรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา164เดิมคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินพิพาททั้งแปลงระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองกรรมสิทธิ์โดยปริยายและความรับผิดในสัญญาซื้อขาย
การที่จำเลยนำรถยนต์มาขายให้แก่โจทก์เท่ากับว่าจำเลยผู้ขายได้รับรองโดยปริยายว่า จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำมาขาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นให้แก่โจทก์ได้ จึงเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เนื่องจากโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน 240,000 บาท คืนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ หาใช่การฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิอันมีอายุความ 3 เดือน ตามมาตรา 481แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ การฟ้องคดีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายรถยนต์ และอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหาย ไม่ใช่การรอนสิทธิ
การที่จำเลยนำรถยนต์มาขายให้แก่โจทก์เท่ากับว่าจำเลยผู้ขายได้รับรองโดยปริยายว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่นำมาขายเมื่อปรากฏว่าจำเลยไม่มีและไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันนั้นให้แก่โจทก์ได้จึงเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากโจทก์ต้องชำระเงินจำนวน240,000บาทคืนให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไปจากโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้หาใช่การฟ้องคดีในข้อรับผิดเพื่อการรอนสิทธิอันมีอายุความ3เดือนตามมาตรา481แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่การฟ้องคดีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและการบังคับอายุความสิทธิเรียกร้องเงินคืน
เอกสารหมาย ล.3 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเอกสารและโจทก์ก็มีหนังสือตอบปฏิเสธว่าไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องไปตรวจพิสูจน์เท่ากับโจทก์ไม่รับรองว่าสำเนาเอกสารถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่แสดงเหตุขัดข้องที่ไม่ส่งต้นฉบับและไม่นำผู้รับรองสำเนาเอกสารมาเบิกความรับรอง จึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ และได้ยืมเงินงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนและปฏิบัติงานตามโครงการ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืม หากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งใช้ใบยืมจนครบ จำเลยที่ 1ก็จะต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบ ดังนี้ถือว่าเงินที่จะต้องคืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเรื่องนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่ (มาตรา 164 เดิม) คือมีอายุความ 10 ปี เมื่อนับแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คืนเงินจนถึงวันฟ้องเรียกเงินคืนยังไม่พ้น 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 448 มาใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ และได้ยืมเงินงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนและปฏิบัติงานตามโครงการ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืม หากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งใช้ใบยืมจนครบ จำเลยที่ 1ก็จะต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบ ดังนี้ถือว่าเงินที่จะต้องคืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเรื่องนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่ (มาตรา 164 เดิม) คือมีอายุความ 10 ปี เมื่อนับแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คืนเงินจนถึงวันฟ้องเรียกเงินคืนยังไม่พ้น 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 448 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกัน และอำนาจฟ้องตามสัญญา การแปลงหนี้ การผิดนัดชำระหนี้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัทล.โดยน.กรรมการบริษัทกับอ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลยโดยอ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัทล.เป็นหนี้โจทก์จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าอ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเองหาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้นย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของอ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคสองโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349และ350แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัทล.อยู่ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใดๆที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไปบันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลยแต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัทล.ให้แก่โจทก์และบริษัทล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้กรณีต้องด้วยมาตรา314ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัทล.และบริษัทล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์ บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัทล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด4เดือนนับแต่วันทำสัญญาเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลงมิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการสัตยาบันข้อตกลง แม้ไม่มีตราสำคัญก็มีผลผูกพันได้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม