พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันและรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ ไม่ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาไม่มีกำหนดอายุความชัดเจนใช้ 10 ปี
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่2ถึงที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่1ที่จำเลยที่2ถึงที่4ทำไว้ต่อโจทก์และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้องดังนี้คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งขัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้วส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้งครั้งละจำนวนเท่าใดและโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์และจำเลยที่2ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่1แต่จำเลยที่1และที่2ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้จำเลยที่1และที่2จึงไม่อาจโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อการสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิได้ตกเป็นโมฆะ สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศกำหนดให้จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเองมิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศจำเลยที่1เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่1ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่1ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศและเงินค่าตอบแทน1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)และ(7)เดิมแต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ10ปีตามมาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต: การฟ้องเรียกหนี้และอายุความ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทำไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้ว ส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้ง ครั้งละจำนวนเท่าใด และโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้ และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นโมฆะ
สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเอง มิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่ 1 ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว เงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ และเงินค่าตอบแทน 1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)และ (7) เดิม แต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้ และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นโมฆะ
สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเอง มิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่ 1 ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว เงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ และเงินค่าตอบแทน 1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)และ (7) เดิม แต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาซื้อขายเกียร์รถยนต์: ใช้มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30) หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงิน18,500บาทอันเป็นราคาเกียร์รถที่โจทก์ซื้อมาใหม่เนื่องจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาซื้อขายส่งเกียร์รถที่ชำรุดแล้วไม่ยอมซ่อมให้ทำให้โจทก์ต้องไปซื้อเกียร์รถมาใช้ใหม่จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาซื้อขายนั่นเองในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายเกียร์รถ
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงิน 18,500 บาท อันเป็นราคาเกียร์รถที่โจทก์ซื้อมาใหม่เนื่องจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาซื้อขายส่งเกียร์รถที่ชำรุดแล้วไม่ยอมซ่อมให้ ทำให้โจทก์ต้องไปซื้อเกียร์รถมาใช้ใหม่ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยทั้งสองผิดสัญญาซื้อขายนั่นเอง ในกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายเรื่องอายุความบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องหนี้จากตัวแทน และอำนาจฟ้องเมื่อมีการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนโจทก์ จำเลยก็รับว่าได้รับสินค้าของโจทก์ไว้ขายจริง ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเรื่องตัวแทน โจทก์ในฐานะตัวการฟ้องเรียกเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของจำเลย ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษจึงต้องใช้อายุความทั่วไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้อง ซึ่งมีกำหนด 10 ปี บังคับ เมื่อนับตั้งแต่โจทก์มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนจนถึงวันฟ้อง ยังไม่เกิน 10 ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์มิได้เรียกร้องให้จำเลยคืนค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายเสียก่อน จำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้น ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ ปัญหานี้โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบเงินค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามหนังสือนั้นให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ได้
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์มิได้เรียกร้องให้จำเลยคืนค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายเสียก่อน จำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้น ข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง และศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ ปัญหานี้โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบเงินค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามหนังสือนั้นให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินจากตัวแทนและการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนโจทก์จำเลยก็รับว่าได้รับสินค้าของโจทก์ไว้ขายจริงดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเรื่องตัวแทนโจทก์ในฐานะตัวการฟ้องเรียกเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของจำเลยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีกำหนด10ปีบังคับเมื่อนับตั้งแต่โจทก์มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน10ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์มิได้เรียกร้องให้จำเลยคืนค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายเสียก่อนจำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้นข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การไว้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองและศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ปัญหานี้โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบเงินค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายใน3วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วเมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามหนังสือนั้นให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกร้องค่าสินค้าจากตัวแทน - การโต้แย้งสิทธิและการแจ้งหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนโจทก์จำเลยก็รับว่าได้รับสินค้าของโจทก์ไว้ขายจริงดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นเรื่องตัวแทนโจทก์ในฐานะตัวการฟ้องเรียกเงินที่จำเลยได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนของจำเลยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีกำหนด10ปีบังคับเมื่อนับตั้งแต่โจทก์มอบสินค้าให้จำเลยไปขายแทนจนถึงวันฟ้องยังไม่เกิน10ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์มิได้เรียกร้องให้จำเลยคืนค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายเสียก่อนจำเลยจึงมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์นั้นข้อนี้แม้จำเลยมิได้ให้การไว้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสองและศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ได้ปัญหานี้โจทก์ได้ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบเงินค่าสินค้าที่ฝากให้จำเลยขายส่วนที่ยังเหลืออยู่ภายใน3วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วเมื่อจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ตามหนังสือนั้นให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยให้รับผิดในหนี้ดังกล่าวต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันอำพราง การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความฟ้องร้อง
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์นำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0769กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่41ของจำเลยที่1แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0485กาญจนบุรีแต่จำเลยที่1ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่งสำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเช่นทำสัญญากันเมื่อใดราคาเท่าใดมีเงื่อนไขในการในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไรมีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังส่วนคำว่าคิวนั้นเมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่1คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่40เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริงๆสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118เดิม โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายดังนั้นการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่41ให้แก่ส.ราคา352,000บาทนั้นความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อโจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่41โดยมีเงื่อนไขว่าหากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ส. ยึดคิวรถที่41ได้และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนส.ก็จะคืนคิวรถที่41ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใดการนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิดแต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย8203และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่1รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่41ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตได้นั้นโจทก์และจำเลยที่1จะต้องมีสัญญาต่อกันกล่าวคือจำเลยที่1จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่1และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าต่อมาจำเลยที่1ปฎิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่41แต่กลับให้จำเลยที่2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาดังกล่าวมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ฉะนั้นจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาปรับแก่คดีหาไม่ได้และกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่41ให้แก่ส. คิวรถที่41จึงยังเป็นของโจทก์อยู่แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่1ตามสัญญาจำเลยที่1กลับปฎิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่1ได้อนุญาตให้จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทนการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกัน การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความ
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธินำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0769 กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่ 41 ของจำเลยที่ 1 แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0485กาญจนบุรี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่ง สำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว เช่น ทำสัญญากันเมื่อใด ราคาเท่าใด มีเงื่อนไขในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไร มีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลัง ส่วนคำว่าคิวนั้น เมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้า/สัญญาซื้อขาย สัมพันธ์กับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในมูลหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายอันเป็นสัญญาซึ่งมีผลบังคับได้ตามกฎหมายชนิดหนึ่งโดยโจทก์บรรยายฟ้องว่าในการทำคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายจำเลยที่1ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไว้เพื่อชำระหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายและมีจำเลยที่2และที่3เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจากคำฟ้องของโจทก์จะเห็นได้ว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องคือหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายไม่ใช่หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้คือมีกำหนด10ปีและแม้โจทก์จะฟ้องคดีเกิน10ปีนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายแล้วก็ตามแต่จำเลยที่2ก็มิได้ยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยเฉพาะจำเลยที่2เพียงแต่ยกอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินขึ้นต่อสู้สถานเดียวศาลจะอ้างเอาอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องตามคำขอเบิกเงินล่วงหน้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาซื้อขายมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้เพราะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193เดิม