คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและการบังคับสิทธิเรียกร้องนอกเหนืออายุความที่กำหนด
สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งที่กำหนดให้คู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ซึ่งจะต้องปฏิบัติต่อกัน หากฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียหาย ฝ่ายที่ปฏิบัติผิดสัญญาจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การผิดสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะไม่มีข้อสัญญาที่กำหนดว่า หากนำรถที่เช่าซื้อออกขายไม่ได้ราคาเท่ากับราคาค่าเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดก็ตามแต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายต่าง ๆ เมื่อมีการเลิกสัญญาเช่าซื้อด้วย การที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อและนำเงินที่ได้มารวมกับค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์แล้ว ก็ยังต่ำกว่าราคาค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเช่าซื้อ ย่อมเห็นได้ชัดเจนว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นค่าเสียหายที่โจทก์พึงได้รับและกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์จึงชอบแล้ว
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 หมายถึงการฟ้องคดีในกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไป เช่นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการใช้รถบุบสลาย แต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทและนำเงินไปรวมกับค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วยังได้เงินต่ำกว่าค่าเช่าซื้อตามสัญญา ซึ่ง ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ที่ใช้อยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์, อายุความ, การทดรองจ่าย, และความรับผิดของตัวการ
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับโจทก์และแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์แทนจำเลย แล้วโจทก์ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยหลายครั้ง เมื่อหักทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยไม่ชำระ โดยได้แนบสำเนารายละเอียดการสั่งซื้อหุ้น การสั่งขายหุ้น ยอดเงินสุทธิการซื้อขายให้แก่จำเลยเป็นเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้ เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง
ตามสัญญาตั้งตัวแทนเอกสารหมาย จ.4 ขณะนั้นโจทก์ใช้ชื่อว่า" บริษัทไทยค้าหลักทรัพย์ จำกัด" ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "บริษัทหลักทรัพย์ไทยค้า จำกัด" การทำเอกสารตั้งตัวแทนตามเอกสารหมาย จ.16 ขึ้นใหม่ จึงเป็นเพราะโจทก์เปลี่ยนชื่อใหม่นั่นเอง ถือไม่ได้ว่าการตั้งตัวแทนตามเอกสารหมาย จ.4ได้สิ้นสุดลงไปแล้ว แต่เป็นการยืนยันตั้งโจทก์ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยต่อไปเช่นเดิม แม้ทั้งเอกสารหมาย จ.4 หรือ จ.16 มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้ง หรือมีหนังสือเลิกสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์แต่การเลิกสัญญาต้องกระทำด้วยการแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือโจทก์ได้แสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง และไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย สัญญาตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิกกัน จนกระทั่งโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระเงินส่วนที่ขาดอยู่ตามหนังสือทวงถามจึงถือได้ว่าโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาตัวแทนกับจำเลยในวันที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถาม ฉะนั้นการที่โจทก์ทำการเป็นตัวแทนให้จำเลยในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจนถึงวันบอกเลิกสัญญา การกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำแทนตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการ จำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เคยเรียกให้จำเลยไปชำระเงินเพิ่ม แต่จำเลยแจ้งว่าไม่มีเงินที่จะชำระ โจทก์จึงได้ทำการขายหุ้นที่โจทก์สั่งซื้อให้จำเลยเพื่อชำระค่าหุ้น ยังไม่พอแสดงว่ามีการหักกลบลบหนี้กันเสร็จสิ้นไปแล้ว
วิธีปฏิบัติระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการปฏิบัติต่อกันตามสัญญาตัวแทน โดยจำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ โดยให้โจทก์จ่ายเงินทดรองแทนจำเลยไปก่อน โจทก์ได้ผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลย และในการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลย เมื่อขายได้กำไรก็หักภาษี กำไรที่เหลือมอบให้จำเลย และในการที่โจทก์ซื้อขายแทนจำเลยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมจากจำเลย วัตถุประสงค์ของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลง มากกว่าประสงค์จะลงทุนอย่างแท้จริง เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่ว่าจำเลยต้องวางเงินประกันร้อยละ 30 ของวงเงินที่จำเลยมีสิทธิสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในแต่ละวัน หากซื้อเกินจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยก็จะต้องส่งเงินประกันร้อยละ 30 ภายใน 7 วัน มาเป็นสาระสำคัญของสัญญา ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จำเลยจะได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่ก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามหลักฐานที่โจทก์นำสืบ จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์
คดีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ออกทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 816ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา164 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อจำเลยแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521 แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์และออกเงินทดรองให้แก่จำเลยหลายคราวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2530 ยังไม่ถึง 10 ปี นับแต่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแต่ละคราวไป คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5943/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์: หนี้จากการซื้อขาย, อัตราดอกเบี้ย, และอายุความ 10 ปี
ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์กับโจทก์และแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์แทนจำเลยแล้วโจทก์ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยหลายครั้งเมื่อหักทอนบัญชีกันแล้วจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระโดยได้แนบสำเนารายละเอียดการสั่งซื้อหุ้นการสั่งขายหุ้นยอดเงินสุทธิการซื้อขายให้แก่จำเลยเป็นเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง ตามสัญญาตั้งตัวแทนเอกสารหมายจ.4ขณะนั้นโจทก์ใช้ชื่อว่า"บริษัทไทยค้าหลักทรัพย์จำกัด"ต่อมาโจทก์ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น"บริษัทหลักทรัพย์ไทยค้าจำกัด"การทำเอกสารตั้งตัวแทนตามเอกสารหมายจ.16ขึ้นใหม่จึงเป็นเพราะโจทก์เปลี่ยนชื่อใหม่นั่นเองถือไม่ได้ว่าการตั้งตัวแทนตามเอกสารหมายจ.4ได้สิ้นสุดลงไปแล้วแต่เป็นการยืนยันตั้งโจทก์ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำเลยต่อไปเช่นเดิมแม้ทั้งเอกสารหมายจ.4หรือจ.16มิได้กำหนดให้จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือมีหนังสือเลิกสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์แต่การเลิกสัญญาต้องกระทำด้วยการแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือโจทก์ได้แสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่อีกฝ่ายหนึ่งและไม่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยกับโจทก์ได้เลิกสัญญากันโดยปริยายสัญญาตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิกกันจนกระทั่งโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระเงินส่วนที่ขาดอยู่ตามหนังสือทวงถามจึงถือได้ว่าโจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาตัวแทนกับจำเลยในวันที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถามฉะนั้นการที่โจทก์ทำการเป็นตัวแทนให้จำเลยในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่จำเลยแต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนจนถึงวันบอกเลิกสัญญาการกระทำดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำแทนตัวการภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนตามที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยซึ่งเป็นตัวการจำเลยจึงต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการดังกล่าวให้แก่โจทก์การที่โจทก์เคยเรียกให้จำเลยไปชำระเงินเพิ่มแต่จำเลยแจ้งว่าไม่มีเงินที่จะชำระโจทก์จึงได้ทำการขายหุ้นที่โจทก์สั่งซื้อให้จำเลยเพื่อชำระค่าหุ้นยังไม่พอแสดงว่ามีการหักกลบลบหนี้กันเสร็จสิ้นไปแล้ว วิธีปฏิบัติระหว่างโจทก์จำเลยเป็นการปฏิบัติต่อกันตามสัญญาตัวแทนโดยจำเลยตั้งโจทก์เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้นหรือหลักทรัพย์โดยให้โจทก์จ่ายเงินทดรองแทนจำเลยไปก่อนโจทก์ได้ผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากเงินที่ทดรองจ่ายแทนจำเลยและในการขายหุ้นตามคำสั่งของจำเลยเมื่อขายได้กำไรก็หักภาษีกำไรที่เหลือมอบให้จำเลยและในการที่โจทก์ซื้อขายแทนจำเลยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมจากจำเลยวัตถุประสงค์ของโจทก์จำเลยจึงเป็นการค้าเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ขึ้นลงมากกว่าประสงค์จะลงทุนอย่างแท้จริงเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์จำเลยมิได้ยึดถือเอาระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ที่ว่าจำเลยต้องวางเงินประกันร้อยละ30ของวงเงินที่จำเลยมีสิทธิสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นในแต่ละวันหากซื้อเกินจำนวนเงินดังกล่าวจำเลยก็จะต้องส่งเงินประกันร้อยละ30ภายใน7วันมาเป็นสาระสำคัญของสัญญาดังนั้นไม่ว่าโจทก์จำเลยจะได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวหรือไม่ก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามหลักฐานที่โจทก์นำสืบจำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ คดีนี้เป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ออกทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา816ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เมื่อจำเลยแต่งตั้งโจทก์เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์เมื่อวันที่16กุมภาพันธ์2521แล้วต่อมาโจทก์ได้ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์และออกเงินทดรองให้แก่จำเลยหลายคราวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่2เมษายน2530ยังไม่ถึง10ปีนับแต่โจทก์ได้ออกเงินทดรองแต่ละคราวไปคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนกันและการให้สัตยาบันสัญญา การฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาฝากทรัพย์/เช่าทรัพย์: การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อมีการแจ้งหนี้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าข้าวเปลือกที่จำเลยรับฝากจากโจทก์แล้วสูญหายไปไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ทั้งการฟ้องให้ชำระเงินค่าข้าวเปลือกที่จำเลยรบฝากจากโจทก์แล้วสูญหายไปไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่) วันที่27กรกฎาคม2525โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบจำนวนน้ำหนักข้าวเปลือกแต่ละชนิดที่จำเลยรับฝากไว้ได้สูญหายไปจากการรับฝากของจำเลยและให้จำเลยชดใช้ราคาแทนนั้นถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แล้วอายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่31พฤษภาคม2533ยังไม่เกิน10ปีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการชนท่าเรือ และความรับผิดของตัวแทน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามข้อตกลงในคำร้องขอนำเรือเข้าท่าภายในอาณาบริเวณของโจทก์ที่จำเลยที่3ในฐานะตัวแทนจำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์โดยคำร้องดังกล่าวมีข้อความว่าข้าพเจ้ายอมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งเรือที่นำเข้าได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เพื่อนำเรือเข้ามาจอดซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่1ที่จะยอมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่เรือซัมเมอร์เบย์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งการแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้จึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164 จำเลยที่1เป็นนิติบุคคลต่างประเทศมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยถือได้ว่าจำเลยที่1มีภูมิลำเนาประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71การที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่1ในประเทศไทยและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ให้ติดต่อกับโจทก์แทนจำเลยที่1ทำสัญญากับโจทก์แทนจำเลยที่1จึงไม่ใช่กรณีทำแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศอันจะอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา824จำเลยที่2ที่3จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวและการที่จำเลยที่2และจำเลยที่3เข้าทำการเกี่ยวข้องกับโจทก์เป็นการทำในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่1จำเลยที่2และจำเลยที่3จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระเงิน
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30)และตามมาตรา169เดิม(มาตรา193/32)บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเมื่อตามสัญญาข้อ4จำเลยที่1จะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่4มกราคม2524การที่จำเลยที่1ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญาข้อ6ระบุว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ถือได้ว่าระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่4มกราคม2524ซึ่งนับถึงวันฟ้องไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนชำระหนี้ และอายุความคดีตัวการตัวแทน
พยานบุคคลของโจทก์ได้เบิกความรับรองพยานเอกสารว่ามีอยู่จริงและถูกต้อง แม้พยานโจทก์ที่เบิกความมาจะมิได้รู้เห็นขณะทำพยานเอกสาร แต่พยานเหล่านั้นเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพยานเอกสาร และเมื่อได้ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆแล้ว ก็สามารถรับรองความถูกต้องแท้จริงได้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95(2) ข้อตกลงในหนังสือแต่งตั้งตัวแทนมีสาระสำคัญว่าเมื่อโจทก์ซื้อหลักทรัพย์ตามคำสั่งของจำเลยและออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยภายใน 4 วัน นับแต่วันซื้อจำเลยจะต้องชำระเงินที่โจทก์ทดรองจ่ายจนครบพร้อมค่าใช้จ่ายและบำเหน็จ มี ส. เบิกความยืนยันว่า จำเลยเป็นผู้ลงชื่อออกตั๋วสัญญาใช้เงินชำระหนี้ให้โจทก์ แม้ ส. จะมิได้รู้เห็นขณะจำเลยลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ ส. เป็นผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและปฏิบัติการของโจทก์ และได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยเคยออกตั๋วสัญญาใช้เงินแลกเปลี่ยนกับฉบับเดิมที่ไม่ได้มีการชำระมาหลายครั้ง ลายมือชื่อของจำเลยในตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมอยู่ในความรู้เห็นของ ส.ดังนั้นส. จึงอยู่ในฐานะที่จะรับรองความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวได้คำเบิกความของพยานจึงไม่ใช่พยานบอกเล่าที่จะต้องห้ามมิให้รับฟัง การที่ ก. พยานโจทก์เบิกความว่าตามหลักฐานที่โจทก์ส่งศาลในวันเบิกความไม่มีฉบับใดยืนยันว่าโจทก์ซื้อหุ้นบริษัท ส.และบริษัทฟ. แต่เมื่อ ก. ได้เบิกความไว้ด้วยว่า เอกสารที่ศาลขอหมายเรียกไปก่อนมาเบิกความนั้นได้จัดส่งมาให้แล้ว แต่ส่งผิดไปที่ศาลอื่น จึงไม่มีเอกสารดังกล่าวให้พยานตรวจดู จะฟังว่าโจทก์มิได้ซื้อหลักทรัพย์ของ 2 บริษัทดังกล่าวและมิได้ออกเงินทดรองแทนจำเลยหาได้ไม่ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ที่ค้าง โจทก์จึงนำหุ้นของจำเลย5 รายการ ออกขายในตลาดหลักทรัพย์นำเงินมาหักชำระหนี้ที่ค้าง และจำเลยยอมรับว่ามีการขายหุ้นของจำเลยไปจริงดังนี้ เมื่อปรากฏตามหนังสือตั้งตัวแทนซึ่งมีข้อความว่าหากจำเลยผิดนัดในการชำระเงิน ยอมให้โจทก์เลือกปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง และยอมให้โอนขายหลักทรัพย์ดังกล่าวแก่บุคคลใด ๆ ในราคาที่เห็นสมควร ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนี้ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมนำหุ้นที่ซื้อแทนจำเลยไว้ออกขายได้โดยไม่จำต้องมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แม้ในคำฟ้องจะใช้คำว่า ขอเรียกค่านายหน้า แต่กรณีนี้ความจริงเป็นเรื่องที่โจทก์เรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยในกิจการที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยเข้าลักษณะตัวการตัวแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด10 ปี มิใช่ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าฉาง: จำเลยผูกพันตามสัญญาในฐานะส่วนตัว แม้ไม่ได้ระบุเป็นตัวแทน, อายุความฝากทรัพย์ 10 ปี
ข้อความในสัญญาเช่าฉางระบุว่าจำเลยเป็นผู้ให้เช่าฉางของจำเลยแต่ผู้เดียวโดยมิได้ระบุว่าเป็นตัวแทนผู้ใดต้องถือว่าจำเลยยอมผูกพันตนเองเข้ารับผิดตามสัญญาเป็นการส่วนตัวการที่จำเลยนำพยานบุคคลเข้าสืบว่าตนกระทำในฐานะเป็นตัวแทนโดยไม่ยอมรับผิดเป็นส่วนตัวจึงเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 โจทก์เช่าฉางจากจำเลยแล้วนำข้าวเปลือกเก็บไว้โดยจำเลยเป็นผู้รับและจ่ายข้าวเปลือกคืนโจทก์เข้าลักษณะฝากทรัพย์เมื่อข้าวเปลือกที่ฝากขาดหายไปจากการครอบครองของจำเลยผู้รับฝากการที่โจทก์ผู้ฝากฟ้องเรียกราคาข้าวเปลือกที่ฝากคืนจากจำเลยซึ่งมิได้มีบทกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ไว้จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมซึ่งมีอายุความสิบปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ
โจทก์ทำสัญญาประกันผู้ต้องหาไว้ต่อศาลอาญาจำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ว่าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นจากสัญญาประกันผู้ต้องหาจำเลยยินยอมรับผิดต่อโจทก์สัญญาดังกล่าวนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่นต้องนำอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)มาใช้บังคับ
of 10