พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร: การชำระภาษีเพิ่มเติมหลังนำเข้าสินค้า
ในวันนำเข้าสินค้าโจทก์ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้ส่วนจำนวนที่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มนอกเหนือจากที่โจทก์ได้สำแดงไว้โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางเงินสดและหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเพื่อนำสินค้าออกจากอารักขาของจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469มาตรา112ถือไม่ได้ว่าโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มในวันนำเข้าแล้วเมื่อต่อมาจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระเงินค่าภาษีอากรเพิ่มและโจทก์ได้นำเงินไปชำระและรับหนังสือค้ำประกันคืนก็เป็นการดำเนินการตามที่มาตรา112ทวิวรรคหนึ่งบัญญัติไว้จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินประกันก่อนนำของออกไปจากอารักขาตามมาตรา40ซึ่งจะถือว่าโจทก์ได้เสียอากรเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาของ ซึ่งจะอยู่ในบังคับสิทธิเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่ได้เสียไว้เกินในกำหนด2ปีนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าตามมาตรา10วรรคห้าแต่เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระค่าอากรเพิ่มเกินกว่าจำนวนที่พึงต้องชำระตามมาตรา112ทวิซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะต้องใช้กำหนดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค้างชำระหนี้ซื้อขาย: การคำนวณดอกเบี้ยและอายุความ
จำเลยเป็นหนี้เงินโจทก์ค่าซื้อปุ๋ยตามฟ้องแต่เมื่อไม่ปรากฎตามสัญญาและหนังสือขอซื้อปุ๋ยเชื่อว่าในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยส่วนใดส่วนหนึ่งโจทก์ผู้ขายมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระแล้วดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยเพราะเหตุที่จำเลยค้างชำระหนี้ค่าปุ๋ยจำนวน11,900บาทนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกจึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)หากเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดทดแทนค่าเสียหายภายหลังเมื่อศาลพิพากษาคดีอันไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม)ซึ่งมีกำหนด10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ใช้บังคับได้แม้ไม่มีการมอบอำนาจ และอายุความหนี้เล็ตเตอร์ออฟเครดิต 10 ปี
หนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริงส่วนเจ้าหนี้หาจำเป็นต้องมาเป็นคู่สัญญาหรือมอบอำนาจให้บุคคลใดมาเป็นคู่สัญญาแทนไม่เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่บริษัทส.ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงหนังสือรับสภาพหนี้จึงใช้บังคับได้โดยโจทก์ไม่จำต้องมอบอำนาจให้ล. เป็นคู่สัญญาแทน โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ของบริษัทส. มิได้ฟ้องเรียกหนี้ตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำเลยทั้งสองก็มิได้ปฏิเสธว่าบริษัทส. มิได้เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับข้อเท็จจริงนั้นแล้วคดีไม่จำต้องอาศัยพยานหลักฐานอื่นอีกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่จึงไม่ทำให้ผลการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงเมื่อบริษัทส. ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและจำนองค้ำประกันหนี้จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของบริษัทส. ที่โจทก์ใช้เงินแทนบริษัทส. ไปก็เป็นการชำระตามข้อผูกพันในสัญญาที่บริษัทส. ขอให้โจทก์เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นให้กรณีจึงมิใช่เรื่องที่ลูกจ้างเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปก่อนแทนผู้ว่าจ้างจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(8)เดิมมาใช้บังคับมิได้และหนี้ตามสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19-20/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา: ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่อง แต่เป็นการผิดสัญญา จึงใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ผู้ว่าจ้างฟ้องให้จำเลยที่1ผู้รับจ้างซึ่งฝ่าฝืนข้อสัญญาให้ชำระค่าจ้างเพราะความผิดของจำเลยที่1ที่โจทก์ได้ให้บุคคลภายนอกทำการแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้คืนดีและเป็นไปตามสัญญาแทนจำเลยที่1ซึ่งโจทก์ได้จ่ายเงินให้บุคคลภายนอกไปแล้วโดยสิ้นเชิงซึ่งจำเลยที่1ต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นด้วยจึงไม่เป็นการฟ้องจำเลยที่1ผู้รับจ้างเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องได้ปรากฎขึ้นในตัวทรัพย์ที่ส่งให้โจทก์อันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ตามที่โจทก์ฟ้องให้ผู้รับจ้างรับผิดในกรณีเช่นนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามมาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7314/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพัน คดีนี้จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์เสียหาย จึงต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นพนักงานของโจทก์โดยมีจำเลยที่2และที่3เป็นผู้ค้ำประกันความเสียหายของจำเลยที่1ขณะปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่1ปฏิบัติหน้าที่โดยลำพังมิได้รับอนุญาตหรือได้รับมอบหมายจากโจทก์อันเป็นความประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอย่างร้ายแรงคิดเป็นเงินจำนวน349,494.55บาทจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจะชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์แต่จำเลยที่1ไม่ชำระขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้โจทก์จึงถือว่าฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับอีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นคำฟ้องที่ขัดกันเองไม่ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยที่1เป็นทนายความว่าความให้โจทก์จึงถือว่าโจทก์เป็นตัวการและจำเลยที่1เป็นตัวแทนเมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดฐานะเป็นตัวแทนกระทำการโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ผู้เป็นตัวการเสียหายซึ่งมิได้มีบทบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะแล้วย่อมมีอายุความฟ้องร้องสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)หาใช่เป็นกรณีละเมิดที่ต้องใช้อายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420,448ไม่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในสิบปีแล้วฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ เมื่อโจทก์ได้ทำบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลให้นิติกรหรือทนายความของโจทก์ทราบก่อนที่จำเลยที่1ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นนิติกรของโจทก์ว่าแม้ทนายความซึ่งได้แต่งตั้งโดยให้มีอำนาจให้ทำการประนีประนอมยอมความได้ก็ตามหากจะประนีประนอมยอมความแล้วให้ทนายความเสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะประนีประนอมยอมความต่อผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนแล้วให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนเสนอขออนุมัติต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ก่อนทุกครั้งซึ่งบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวได้เวียนไปให้หน่วยงานต่างๆในสังกัดโจทก์ทราบและได้รวบรวมไว้เป็นเล่มแต่ละปีสามารถตรวจสอบได้ง่ายและนิติกรทุกคนได้ทราบวิธีปฏิบัติดังกล่าวแล้วจึงต้องถือว่าจำเลยที่1ทราบและต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดทั้งก่อนวันที่จำเลยที่1ทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าวโจทก์ก็ได้ย้ำปรับความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลให้ทนายความของโจทก์ซึ่งรวมทั้งจำเลยที่1ให้ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดการที่จำเลยที่1ทำการประนีประนอมยอมความกับจำเลยในคดีดังกล่าวโดยมิได้เสนอความเห็นพร้อมด้วยรายละเอียดในเรื่องที่จะตกลงหรือประนีประนอมยอมความต่อ อ. ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพื่อขออนุมัติต่อโจทก์ย่อมถือว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของโจทก์เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการตกลงหรือประนีประนอมยอมความทางศาลอันเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่1จะอ้างเพียงว่าเมื่อในใบแต่งทนายความให้จำเลยที่1มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้แล้วจำเลยที่1ย่อมมีอำนาจทำการตกลงหรือประนีประนอมยอมความตามที่จำเลยที่1เห็นสมควรโดยพลการหาได้ไม่เพราะในบันทึกวิธีปฏิบัติดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าแม้มีการมอบอำนาจให้นิติกรหรือทนายความประนีประนอมยอมความก็ให้นิติกรหรือทนายความเสนอขออนุมัติต่อโจทก์ทุกครั้งไปการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงเพราะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกดอกเบี้ยที่จำเลยในคดีดังกล่าวต้องชำระให้โจทก์ตามคำพิพากษาการที่จำเลยที่1รู้ว่าจำเลยที่1ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ชำระเงินแก่โจทก์หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้โดยสมบูรณ์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่1รับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งจำเลยที่1ยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังนั้นเอกสารบันทึกวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลและหนังสือย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการประนีประนอมยอมความทางศาลจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นโดยตรงในคดีซึ่งโจทก์จะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นๆแก่จำเลยที่3ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90แต่อย่างใดและโจทก์ได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นประกอบถามค้านจำเลยที่1ซึ่งเป็นพยานจำเลยที่3ในเวลาที่จำเลยที่1เบิกความแล้วเอกสารดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานและการที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าวก็เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1กระทำผิดหน้าที่โดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งถือว่าจำเลยที่1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยที่1จึงได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เช่นนี้เท่ากับเป็นการนำสืบว่าหนังสือรับสภาพหนี้มีมูลหนี้ที่จำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์จริงอันเป็นประเด็นโดยตรงในคดีตามฟ้องโจทก์หาใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ เมื่อประเด็นสาระสำคัญแห่งคดีโดยตรงซึ่งภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลยทั้งสามแล้วการที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสามมีหน้าที่นำสืบก่อนในประเด็นข้อนี้และเพื่อมิให้คดีล่าช้าจึงให้จำเลยทั้งสามนำสืบก่อนในทุกประเด็นข้ออื่นด้วยนั้นนับว่าชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้แพคกิ้งเครดิต: หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญารับชำระหนี้มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ออกให้แก่โจทก์พร้อมกับทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากจำเลยที่ 1ขอสินเชื่อเพื่อส่งสินค้าไปขายต่างประเทศกับโจทก์โดยทำสัญญาแพคกิ้งเครดิตนั้นเป็นหนี้ตามสัญญาแพคกิ้ง เครดิตซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฝากทรัพย์: ใช้ทั่วไป 10 ปี หากไม่มีกำหนดอายุความ
โจทก์ฝากเงินกับธนาคารจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์จะถอนเงินฝากเมื่อใดก็ได้โดยนำสมุดเงินฝากมาแสดง ปรากฎตามสมุดเงินฝากว่าครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2514 โจทก์มีเงินฝากคงเหลืออยู่ในบัญชี 60,123.84 บาทโจทก์มิได้ปิดบัญชีกับจำเลย การที่โจทก์ขอถอนเงินจากบัญชีของโจทก์ในปี 2529แล้วจำเลยไม่ยอมจ่ายเงินให้อ้างว่าบัญชีของโจทก์ปิดแล้วนั้น ย่อมเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 4 กันยายน 2532 ยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด: สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมและอายุความตามสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการ และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน 559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6468/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉางที่มีลักษณะสัญญาฝากทรัพย์: กำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
สัญญาเช่าฉางระหว่างโจทก์กับจำเลย นอกจากเป็นสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ยังมีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะเก็บรักษาข้าวเปลือกตามชนิดจำนวน น้ำหนัก มิให้เปลี่ยนแปลงหรือผิดไปจากสภาพเดิมถ้าเกิดความเสียหายหรือสูญหายขึ้น จำเลยต้องรับผิดชอบและชดใช้ราคาข้าวเปลือกที่ผิดชนิดหรือขาดจำนวนไปไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์รวมอยู่ในตัวด้วยฉะนั้นจำเลยในฐานะผู้รับฝากทรัพย์จึงต้องคืนทรัพย์ที่รับฝากไว้แก่โจทก์ เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไปจำเลยจึงต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์ การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีนี้ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และไม่มี กฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิไล่เบี้ย – ความรับผิดของคณะเทศมนตรีต่อความเสียหาย – การขยายเวลาอุทธรณ์
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น โดยอ้างเหตุว่าเงินส่วนนี้โจทก์มิได้ตั้งงบประมาณไว้ และไม่มีเงินอื่นใดที่จะโอนมา ต้องยืมเงินสะสมซึ่งจะต้องดำเนินการตามระเบียบโดยขอความเห็นชอบจากสภาเทศบาล และได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนี้ ถือว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชั้นต้นมีอำนาจขยายระยะเวลาตามคำร้องของโจทก์ได้ จำเลยทั้งสามปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะเทศมนตรีของโจทก์ ทำให้วัดเสาธงทองได้รับความเสียหาย โจทก์ชำระค่าเสียหายแก่วัดเสาธงทองแล้ว โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 มิใช่ฟ้องจำเลยให้รับผิดฐานละเมิด ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่)