พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลาง: เจ้าของรถมีสิทธิฟ้องเมื่อไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่บรรทุกแร่ผิดกฎหมายและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่ 1 ดูแลรักษาไว้ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 ต่อมาอธิบดีของจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้ ค.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น ดังนี้เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดทั้งได้ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ของกลางแก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดีของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 14 เบญจ วรรคสี่ นอกจากนี้การที่จำเลยทั้งสองยึดรถยนต์ของกลางซึ่งเป็นของโจทก์ไว้นั้นก็เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ด้วย โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อติดตามเอาคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกเป็นของแผ่นดินของรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งแร่ผิดกฎหมาย เมื่อเจ้าของไม่แสดงตัวตามประกาศ
พนักงานสอบสวนมิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ. 2510 มาตรา 4 การที่ บ. ผู้เช่าซื้อไปแสดงตัวต่อพนักงานสอบสวนและขอรับรถยนต์พิพาทซึ่งใช้เป็นยานพาหนะกระทำผิดในการบรรทุกแร่ผิดกฎหมายโดยไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองขณะจับกุมคืน จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้ตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทอันจะเป็นเหตุให้กรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจที่จะประกาศหาตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถยนต์พิพาท เมื่อการประกาศที่จำเลยที่ 2 กระทำไปชอบด้วยกฎหมายโจทก์ผู้เป็นเจ้าของและ บ. ผู้ครอบครองรถยนต์พิพาทไม่แสดงตัวเพื่อขอรับคืนภายในกำหนดเวลาตามประกาศรถยนต์พิพาท จึงตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 15 เบญจ วรรคสามโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกรถยนต์พิพาทคืน