คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 164 (เดิม)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าและการลวงขายสินค้า จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและห้ามใช้เครื่องหมายการค้าที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
การที่ ต. บิดาของโจทก์ที่ 2 ได้รับพระราชทานตราตั้งและพระครุฑจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ใช้กิจการของห้างทองตั้งโต๊ะกังเมื่อปี 2464 แสดงให้เห็นว่ากิจการค้าทองของห้างตั้งโต๊ะกังเป็นกิจการค้าทองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไป จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพิ่งจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าทองโดยใช้ชื่อว่า "บริษัทห้างทองโต๊ะกังบุญสิริ จำกัด" เมื่อปี 2528 หลังจากกิจการห้างทองตั้งโต๊ะกังมีชื่อเสียงมาถึงประมาณ 64 ปี การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำคำว่า "โต๊ะกัง" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของประชาชนโดยทั่วไปว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 มาใช้ประกอบเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้าทองและโลหะอันมีค่าต่างๆ เช่นเดียวกับกิจการของโจทก์ทั้งสองโดยไม่ได้รับอนุญาต และที่จำเลยทั้งสี่ติดป้ายประกาศชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเน้น คำว่า "โต๊ะกัง" และใช้ตัวอักษรใหญ่กว่าคำว่า "บุญสิริ" มาก แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนาไม่สุจริตแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในชื่อทางการค้าคำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 โดยมิชอบ และเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าทองของจำเลยทั้งสี่เป็นกิจการค้าทองของโจทก์ทั้งสอง และทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิในชื่อทางการค้าคำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ของโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ระงับความเสียหาย และขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อ "โต๊ะกัง" ประกอบอยู่ในชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "บริษัทห้างทองโต๊ะกังบุญสิริ จำกัด" ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 18, 420 และ 421
โจทก์ทั้งสองขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 1 มิให้มีคำว่าโต๊ะกังประกอบอยู่ในชื่อนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 หากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนานั้นไม่ถูกต้อง เพราะบทบัญญัติมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 2 คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" หรือคำว่า "โต๊ะกัง" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสองที่จะบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ทั้งที่เป็นภาษาไทย จีน และภาษาอังกฤษจะได้รับการจดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.ลักษณะเครื่องหมายแลยี่ห้อการค้าขาย พระพุทธศักราช 2457 และโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แต่ปรากฎว่าโจทก์ทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าวกับสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ที่โจทก์ทั้งสองผลิตออกจำหน่ายตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายดังกล่าวจึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน โจทก์ที่ 2 ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าของจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 มีสิทธิดีกว่านั้นได้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายนั้น
การฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) มิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไป 10 ปี นับแต่วันที่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม โจทก์ทั้งสองฟ้องคดียังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว คดีของโจทก์ทั้งสองที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งห้านั้นจึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ของโจทก์ทั้งสองที่ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรไทยและจีนคำว่า "โต๊ะกัง" และ "ตั้งโต๊ะกัง" เป็นสินค้าและเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป มาใช้เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ เช่นเดียวกับของโจทก์ทั้งสอง กับถือโอกาสนำเครื่องหมายการค้าทั้งห้าไปยื่นขอจดทะเบียนกับสินค้าดังกล่าวในจำพวกที่ 14 ทั้งจำพวก ด้วยเห็นว่าขณะนั้นโจทก์ที่ 2 ยังมิได้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรไทยและจีน คำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" กับสินค้าจำพวกที่ 14 ดังกล่าว ทั้งยังแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงในชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 2 โดยไม่ชอบมาตั้งเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อให้ประชาชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าทองของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์ทั้งสอง พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่า จำเลยที่ 2 ยื่นขอจดเครื่องหมายการค้าทั้งห้าดังกล่าวโดยมีเจตนาไม่สุจริต และมีเจตนาเพื่อทำลวงขายสินค้าทองและโลหะอันมีค่าต่าง ๆ ว่าเป็นของโจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์ที่ 2 จะยังมิได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่ 14 ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และแม้โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม โจทก์ที่ 2 ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลวงขายนั้นได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ทั้งสองถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายอักษรไทยและจีน คำว่า "โต๊ะกัง" และ คำว่า "ตั้งโต๊ะกัง" ที่ยังไม่จดทะเบียน โจทก์ที่ 2 ไม่อาจจะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จำเลยทั้งสี่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งห้าเครื่องหมายนั้นกับสินค้าทุกประเภทของจำเลยทั้งสี่ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า.2474 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ศาลชอบที่จะพิพากษาห้ามจำเลยทั้งสี่ได้เพียงมิให้จำเลยทั้งสี่ใช้เครื่องหมายการค้าทั้งห้านั้นกับสินค้าจำพวกที่ 14 ทั้งจำพวกในลักษณะที่เป็นการลวงขายสินค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสี่ว่าเป็นสินค้าโจทก์อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าบำรุงรักษาสัญญาอุตสาหกรรม: การใช้บทบัญญัติใหม่ vs. บทบัญญัติเดิม และข้อยกเว้นสัญญา
โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจและขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โจทก์ไม่เป็นพ่อค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ซึ่งต่อมา ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" เป็น "ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น ดังนั้น โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ประกอบการค้า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกเอาค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสีย จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ฯ มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535) หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้ต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ใช้บังคับ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 เรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกในช่วงเดือนเมษายน 2531 ถึง 7 มิถุนายน 2535 จึงไม่ขาดอายุความ คงขาดอายุความเฉพาะสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป
ตามสัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ข้อ 10 ตกลงกันว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมเอาจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำปล่อยให้น้ำท่วมขังตามที่จำเลยนำสืบ จำเลยก็ไม่อาจบอกปัดความรับผิดชอบได้ แต่จำเลยสามารถดำเนินการโดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าว และถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัยของกรรมการโจทก์ จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการใด ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามข้อกำหนดในสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, ค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรม, สัญญา, การชำระหนี้, และเบี้ยปรับ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจและขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ โจทก์จึงไม่เป็นพ่อค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต่อมามาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" เป็น "ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34 (1) การที่โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเรียกเอาค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียจากจำเลย จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่ตรวจชำระใหม่ยังไม่ได้ออกมาบังคับใช้ หากโจทก์ฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เดิม แต่มีอายุความ 10 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม กรณีของปัญหาเช่นนี้มีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 15 บัญญัติให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้ ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาใช้ที่ดินกับโจทก์โดยตกลงยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมตามที่โจทก์กำหนด แต่จำเลยค้างชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียอันเป็นการผิดสัญญา และขอให้บังคับจำเลยชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียพร้อมเงินเพิ่มที่ชำระหนี้ล่าช้า เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องมาว่าโจทก์ได้จัดการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและให้บริการกำจัดน้ำเสียให้จำเลยแล้ว ก็หาทำให้คำฟ้องโจทก์เคลือบคลุมไม่ เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2535 และค่าบริการกำจัดน้ำเสียตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนกันยายน 2535 ให้โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องชำระค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรายเดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2535 อันเป็นเดือนสุดท้ายก่อนวันที่ 7 มิถุนายน 2535 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนเป็นการกำหนดค่าเสียหายอันเกิดจากการชำระหนี้ล่าช้าไว้ล่วงหน้าซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับศาลชอบที่จะลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก ศาลฎีกาจึงกำหนดให้โจทก์อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงินที่ค้างชำระในแต่ละเดือนนับจากวันสิ้นเดือนเป็นต้นไปถึงเดือนพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่ไม่ขาดอายุความเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2535 ซึ่งมีระยะเวลาเพียง 7 วัน ศาลฎีกาให้งดเพิ่มดังกล่าวเสีย สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์ขอมาในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนนั้น ในสัญญามิได้กำหนดอัตราไว้ แต่ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและค่าบริการกำจัดน้ำเสียรวมทั้งเงินเพิ่มเป็นหนี้เงินซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยไม่ถือว่าเป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ศาลฎีกาจึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
สัญญาการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมข้อ 10 ตกลงว่า จำเลยยินยอมให้โจทก์เก็บค่าบริการในการบำรุงรักษานิคมอุตสาหกรรมจากจำเลยได้เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่ได้กำหนดว่าโจทก์ต้องมีหน้าที่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสียให้จำเลย การที่โจทก์ไม่ดูแลท่อระบายน้ำเพื่อกำจัดน้ำเสีย ปล่อยให้น้ำท่วมขัง จำเลยสามารถดำเนินการตามสัญญาข้อ 16 โดยขอให้กรรมการโจทก์พิจารณาเรื่องดังกล่าวและถ้าหากจำเลยไม่พอใจการวินิจฉัย จำเลยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไปได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8462/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าไฟฟ้า, สัญญาค้ำประกัน, วงเงินความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน
พ.ร.บ.การไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501 มาตรา 6 บัญญัติว่า"ให้จัดตั้งการไฟฟ้าขึ้นเรียกว่า "การไฟฟ้านครหลวง" มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้...(2) จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและ (3) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการไฟฟ้านครหลวงหรือโจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ประกอบกับป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ได้เปลี่ยนคำว่า "พ่อค้า" ตามมาตรา 165 (1) เดิมเป็นคำว่า "ผู้ประกอบการค้า" ซึ่งมีความหมายกว้างขึ้น โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 193/34 (1) การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปจากจำเลยจึงเป็นการที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าการงานที่ได้ทำ ย่อมมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (1)
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าที่ขาดจำนวนไปในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนมกราคม 2533 ซึ่งขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ยังไม่ได้ออกมาใช้บังคับ หากโจทก์จะฟ้องคดีตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งตามมาตรา 165 (1) เดิม ไม่ถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้า จึงไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165 (1) ดังกล่าว แต่โจทก์อาจฟ้องได้ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งในกรณีเช่นนี้มี พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ (มีผลใช้บังคับวันที่ 8 มิถุนายน 2535)หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้าย พ.ร.บ.นี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" เมื่อกำหนดอายุความตามมาตรา 164 เดิม แตกต่างและมีระยะเวลายาวกว่ากำหนดอายุความตามมาตรา 193/34 (1) ที่ได้ตรวจชำระใหม่การฟ้องคดีของโจทก์จึงต้องบังคับตามกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยังไม่สิ้นสุดลงคดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
แม้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 บกพร่องโดยเดินช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดพลาดของพนักงานของโจทก์ผู้ติดตั้งเองโดยฝ่ายจำเลยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้แสดงค่าน้อยกว่าจำนวนกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ไปจริงก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 สัญญาต่อโจทก์ว่าจะชำระค่าไฟฟ้าตามอัตราที่โจทก์กำหนดตลอดไป ซึ่งแปลความหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 ยอมชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริงจำเลยที่ 1 จึงยังคงมีหน้าที่ตามที่ได้สัญญาไว้ดังกล่าวที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าตามที่ตนได้ใช้ไปจริง
ธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 ในวงเงินจำนวนรวม 290,000 บาท ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 และหนังสือเพิ่มวงเงินค้ำประกันและต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.2 หลังจากครบอายุหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้ว ได้มีการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ต่อมาตามลำดับ ข้อความในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ได้อ้างถึงหนังสือสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1ทุกฉบับ วงเงินค้ำประกันในเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 ก็เป็นไปตามเอกสารหมายจ.1 และ จ.2 คือจำนวน 260,000 บาท และเพิ่มวงเงินค้ำประกันอีกจำนวน30,000 บาท รวมเป็นจำนวน 290,000 บาท ทุกฉบับ และเอกสารหมาย จ.3ถึง จ.5 ได้ระบุข้อความตรงกันทั้ง 3 ฉบับ ว่า ข้อความและเงื่อนไขอื่น ๆ ในหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ขอต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ทำเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.5 เป็นสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ตนรับผิดเพิ่มเติมต่างหากจากสัญญาตามเอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 ส่วนที่ปรากฏว่าการต่ออายุหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ต้องปิดอากรแสตมป์ทุกฉบับและมีการเก็บค่าธรรมเนียมทุกครั้งด้วย ก็เป็นเรื่องของกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่กำหนดให้กระทำ จะให้แปลความหมายเลยไปถึงว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในวงเงินทุกฉบับรวมกันอันขัดต่อข้อความในหนังสือสัญญาไม่ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ในวงเงินจำนวนเพียง 290,000 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับรองตั๋วแลกเงินผูกพันลูกหนี้ สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปี ไม่ขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
เจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปีนับถัดจากวันที่ตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ตามป.พ.พ.มาตรา 1002 แต่คำขอของลูกหนี้ที่ 3 ที่ขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงินในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534วันที่ 20 พฤศจิกายน 2534 และวันที่ 5 ธันวาคม 2534 กำหนดใช้เงินในวันที่ 7มกราคม 2535 วันที่ 19 มกราคม 2535 และวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2535 ให้แก่บริษัทซ.ซึ่งแต่ละฉบับทำขึ้นในวันเวลาเดียวกันกับที่ลูกหนี้ได้ออกตั๋วแลกเงิน แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อแต่ฝ่ายเดียว ก็ถือได้ว่าเป็นคำเสนอขอให้เจ้าหนี้รับรองและยินยอมต่อเจ้าหนี้ ให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ตามจำนวนเงินตามตั๋วแลกเงินที่ได้สั่งจ่ายแต่ละฉบับตามคำขอให้เจ้าหนี้รับรองตั๋วแลกเงิน และลูกหนี้ยังได้เสนอให้สิทธิต่อเจ้าหนี้จะยอมชดใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้จนครบถ้วน ถ้าหากเรียกคืนตามตั๋วแลกเงินที่ยังขาดอยู่พร้อมกับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนอกเหนือจากตั๋วแลกเงิน ตลอดจนลูกหนี้ยินยอมชดใช้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เจ้าหนี้ต้องจ่ายเงินไปเกี่ยวกับการที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดแทนลูกหนี้ ทั้งยังยินยอมให้เจ้าหนี้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ ถ้ามีเงินฝากอยู่กับเจ้าหนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้า ครั้นเมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันออกตั๋วแลกเงินแต่ละฉบับ เจ้าหนี้ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ซ. ตามที่ลูกหนี้ขอให้เจ้าหนี้จ่ายเงิน ถือได้ว่าเจ้าหนี้ตกลงหรือยินยอมปฏิบัติตามคำขอของลูกหนี้ เป็นการสนองความประสงค์ของลูกหนี้แล้ว จึงเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันตามที่ตกลงนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะปฏิเสธว่าคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินของลูกหนี้ไม่มีความผูกพันหรือเป็นเพียงเอกสารประกอบการขอให้รับรองตั๋วแลกเงินโดยสิ้นความผูกพันไปพร้อมกับอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 ไม่ได้ สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วแลกเงินที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้กับเจ้าหนี้ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30(ใหม่) คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะต้องมีเจตนาและเปิดให้ใช้จริง สิทธิในการแก้ไขโฉนด
เดิมที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) โดย ป.บิดาโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ต่อมาทางราชการออกเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดิน บิดาโจทก์นำเจ้าพนักงานรังวัดชี้แนวเขตออกโฉนดโดยกันที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือไว้เป็นทางสาธารณประโยชน์เนื้อที่ 28ตารางวา และออกโฉนดเป็นโฉนดเลขที่ 643 และแม้จะมีข้อตกลงเกี่ยวกับที่ดินพิพาทระหว่าง ป. ด.และ ล.เจ้าของที่ดินข้างเคียงกับที่ดินแปลงพิพาทเพื่อให้มีการอุทิศที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างคนทั้งสามดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติได้ โดย ล.ไม่สามารถแบ่งที่ดินทางด้านทิศตะวันตกให้ ป.ได้ตามข้อตกลง และป.ก็ไม่ยกที่ดินพิพาทที่อยู่ทางด้านทิศเหนือให้เป็นทางเช่นกัน จึงไม่มีการเปิดใช้ที่ดินพิพาทเป็นทาง คงครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ตามเดิม เพียงแต่ที่ ป.ได้แจ้งต่อช่างรังวัดไว้โดยมิได้ไปแจ้งยกเลิกการแลกเปลี่ยนที่ดินกัน กรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการอุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะเพราะมิได้มีเจตนาอุทิศมาตั้งแต่ต้น และมิได้เปิดที่ดินพิพาทให้ใช้เป็นทางสาธารณะให้ผู้คนสัญจรไปมา ฉะนั้น ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป.อยู่ตามเดิม
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินที่ได้ออกโดยคลาดเคลื่อนตาม ป.ที่ดินมาตรา 61ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ โดยไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเรียกคืนเงินค่าสินค้าผิดพลาด: ไม่ใช่ความรับผิดชำรุดบกพร่อง แต่เป็นเรื่องไม่ชำระหนี้ตามสัญญา
การเรียกคืนเงินส่วนที่ชำระเกินในกรณีโจทก์ส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ หาใช่เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องซึ่งมีอายุความ 1 ปี ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะอายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยอาศัยมูลหนี้จากการกระทำละเมิดและการผิดสัญญาฝากทรัพย์เพราะจ่ายเงินของโจทก์ให้ผู้อื่นไปโดยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการธนาคารอันเป็นอาชีวะของจำเลย จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ที่ใช้ขณะเกิดเหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างของผู้ว่าฯ และอายุความตามสัญญา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัด ข้อ 5 ก็มีข้อความว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเอง หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยตัวแทนไม่ เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่ หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8346/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากตัวแทน: ไม่ใช่การซื้อขาย แต่เป็นความรับผิดในฐานะตัวแทน มีอายุความ 10 ปี
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นดอกเบี้ย โดยระบุอัตราดอกเบี้ย ต้นเงิน และระยะเวลาที่คิดดอกเบี้ยเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งสามารถคิดคำนวณจำนวนดอกเบี้ยดังกล่าวได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำนวนดอกเบี้ยรายเดือนเป็นเงินเดือนละเท่าใดอีก และคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่า โจทก์ขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้แก่ผู้ซื้อโดยจำเลยในฐานะกรรมการบริษัทซึ่งมีฐานะเป็นตัวแทนหรือผู้แทนของบริษัทตามบทบัญญัติของกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน และจำเลยได้รับเงินมัดจำกับเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อไว้แทนโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนต้องส่งมอบเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินค่าขายสินค้าที่จำเลยได้รับไว้แทนให้แก่โจทก์ เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทน มิใช่กรณีพ่อค้าฟ้องเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของซึ่งมีอายุความ 2 ปี และกรณีตัวการฟ้องเรียกเงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ตัวแทนรับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม
of 2