คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภาภูมิ สรอัฑฒ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7977/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม แม้คำพิพากษาใหม่จะเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ศาลยังคงยึดถือผลผูกพันเดิม
คำพิพากษาหรือคำสั่งขัดกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 146 นั้น จะต้องเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีแล้ว คดีนี้ศาลอุทธรณ์คงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าโจทก์ต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 5745/2546 ของศาลชั้นต้นว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยประเด็นในเนื้อหาแห่งคดีว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ แม้ต่อมาศาลฎีกาในคดีหมายเลขแดงที่ 5745/2546 ของศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่เป็นทางสาธารณะ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นในเนื้อหาแห่งคดี จึงถือไม่ได้ว่าคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวขัดกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ ผลแห่งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งถึงที่สุดในคดีนี้จึงมีว่า ตราบใดที่โจทก์ยังต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 5745/2546 ของศาลชั้นต้นอยู่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ โจทก์จะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นเพื่อนำมาเป็นเหตุฟ้องจำเลยทั้งสองไม่ได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7432/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม: การประเมินภาษีจากสินค้าขาดจากรายงาน, ราคาตลาด, และการแก้ไขเลขที่หนังสือแจ้งการประเมิน
วันที่ 24 เมษายน 2550 เจ้าพนักงานประเมินเข้าตรวจสภาพกิจการของโจทก์และตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ 6,500 กิโลกรัม อีกสี่เดือนต่อมาโจทก์ส่งรายงานภาษีซื้อ - ภาษีขาย พร้อมรายงานสินค้าและวัตถุดิบคงเหลือ แสดงยอดสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 24 เมษายน 2550 จำนวน 6,500 กิโลกรัม เจ้าพนักงานประเมินจึงตรวจยอดสินค้าคงเหลือจากรายงานสินค้าฯ โดยนำยอดยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 2550 บวกรายการรับตามใบกำกับภาษีซื้อ และหักรายการจ่ายตามใบกำกับภาษีขาย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึงวันที่ 24 เมษายน 2550 ซึ่งในรายงานสินค้าฯ ณ วันที่ 24 เมษายน 2550 โจทก์ต้องบันทึกยอดสินค้าคงเหลือ 161,577 กิโลกรัม แต่ตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ 6,500 กิโลกรัม โจทก์จึงมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าฯ 155,077 กิโลกรัม ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1 (8) (จ)
ป.รัษฎากร มาตรา 79/3 (3) บัญญัติว่า "การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (จ) ที่เกิดจากสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3) หรือ 87 วรรคสอง มูลค่าฐานภาษีให้ถือตามราคาตลาดของสินค้าในวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น" และมาตรา 78/3 บัญญัติว่า "ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการในกรณีดังต่อไปนี้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (5) การขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (จ)..." ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 189 (พ.ศ.2534) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มบางกรณีข้อ 8 ระบุว่า "ในกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามมาตรา 87 (3)... ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดเมื่อมีการตรวจพบ" และมาตรา 79/3 วรรคท้าย บัญญัติว่า "ราคาตลาดตามมาตรานี้ ให้ถือราคาเฉลี่ยของราคาตลาดที่ซื้อขายกันตามความเป็นจริงทั่วไปในวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น..." ดังนั้น มูลค่าของฐานภาษีของโจทก์จึงต้องถือตามราคาตลาดในวันที่เจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่ามีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบคือวันที่ 24 เมษายน 2550 ซึ่งตามใบกำกับภาษีขาย โจทก์ขายสินค้าเม็ดพลาสติกไป 3 ครั้ง มีราคาเฉลี่ย 45.66 บาทต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยดังกล่าวจึงนำไปใช้ในการคำนวณมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ขาดไปจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7053/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 460) พ.ศ.2549 เงินได้ที่จ่ายก่อนวันที่บังคับใช้ก็ได้รับยกเว้นหากเข้าหลักเกณฑ์
แม้ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 460) พ.ศ.2549 มาตรา 2 จะบัญญัติว่า ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2549 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2549 เป็นต้นไป แต่ตามความในมาตรา 3 (1) วรรคสอง บัญญัติให้เงินได้ที่ได้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ต้องจ่ายภายในห้ารอบระยะเวลาบัญชีนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป โดยไม่มีข้อความใดบัญญัติให้เงินได้ที่จ่ายตามมาตรา 3 (1) วรรคหนึ่ง ที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้จะต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายหลังวันที่ พ.ร.ฎ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 156) ฯ ซึ่งออกตาม พ.ร.ฎ ฉบับดังกล่าว ก็กำหนดเงื่อนไขในข้อ 3 ไว้แต่เพียงว่าต้องเป็นโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น โดยไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเงินได้ที่ได้จ่ายหลัง พ.ร.ฎ ฉบับนี้ใช้บังคับ ดังนั้น เงินได้ที่ได้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ตามมาตรา 3 (1) และได้จ่ายนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป แม้ก่อนวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ ฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ย่อมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7052/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายประกันค่าเช่าเพื่อประโยชน์กองทุนรวมฯ มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไร จึงห้ามนำมาคำนวณกำไรสุทธิ
รายจ่ายที่จะนำมาคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิได้นั้น ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ตลอดจนเหตุผลจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เป็นเพียงผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์แก่กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ และกองทุนรวมดังกล่าวมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าแก่โจทก์จนครบเมื่อมีการจดทะเบียนสิทธิการเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า การที่โจทก์ประกันค่าเช่าเพื่อให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนกับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ การประกันค่าเช่าจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กองทุนรวมดังกล่าว มิใช่เพื่อประโยชน์แก่โจทก์ ดังนั้น เงินที่โจทก์จ่ายเป็นเงินประกันค่าเช่าให้แก่กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์โกลด์ ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2550 จึงต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6903/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร
ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "หมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร หรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ..." การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่โจทก์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2553 กำหนดไว้ในหมวด 6 ระบบงานไปรษณีย์ การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ ข้อ 64 ว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือ 64.3 เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร 64.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานหรืออาคารหลายชั้นต่าง ๆ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เจ้าหน้าที่ของไปรษณีย์ได้นำหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปส่งให้แก่โจทก์ที่อาคารเลขที่ 255/6 รัชดาเพรสทีจ คอนโดมิเนียม ตรงตามที่อยู่ของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ โดยมี น. เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 จึงถือได้ว่าได้มีการจ่ายหนังสือแจ้งการประเมินให้แก่ผู้แทนของโจทก์แล้วในวันดังกล่าว โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 เกินกำหนดเวลา 30 วัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการประเมิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6899/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผล: สิทธิเครดิตภาษีและการคำนวณดอกเบี้ย
ที่ ส. เจ้าพนักงานของจำเลยเบิกความว่า คณะบุคคล ก. และ ว. เป็นหน่วยภาษีที่เป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร บุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน การจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ร่วมกันถือหุ้นดังกล่าวนั้น ต้องจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สิทธิในฐานะที่เป็นผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับถือเป็นการรับแทนผู้ร่วมหุ้น เงินปันผลที่ได้รับจึงถือเป็นเงินได้ของบุคคลแต่ละคนผู้ร่วมในคณะบุคคลนั้น ก็ปรากฏจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่า บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในนามของคณะบุคคล ก. และ ว. ได้จ่ายเงินปันผลให้คณะบุคคลดังกล่าว และผู้จ่ายเงินปันผลได้หักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายแล้ว โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคณะบุคคล ก. และ ว. ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้จ่าย เงินปันผลในระหว่างปีภาษี 2553 ให้แก่คณะบุคคล ก. และ ว. มิได้จ่ายเงินปันผลให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียวดังที่พยานจำเลยเบิกความ เมื่อคณะบุคคลดังกล่าวเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลได้รับเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลตามมาตรา 40 (4) (ข) จากบริษัทต่าง ๆ ในปีภาษี 2553 ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เกินกว่า 30,000 บาท คณะบุคคลจึงเป็นผู้มีเงินได้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของคณะบุคคลจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลเดียวโดยไม่มีการแบ่งแยก โดยผู้เป็นบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีอีกตามมาตรา 56 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร คณะบุคคลที่โจทก์ทั้งสองจัดตั้งขึ้นจึงมีสิทธิได้รับเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อคณะบุคคลยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินปันผลที่ได้รับตามมาตรา 65 วรรคสอง โดยนำเงินปันผลที่ได้รับมาเครดิตภาษีตามวิธีการที่มาตรา 47 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง บัญญัติไว้ แล้วมีภาษีที่ชำระเกิน จำเลยจึงต้องคืนภาษีแก่คณะบุคคล ก. และ ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6735/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม: สิทธิการรับดอกเบี้ย, การคำนวณดอกเบี้ย, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้า
คดีนี้ เจ้าพนักงานของจำเลยไม่ได้มีหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มเติม แต่มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนภาษีอากรไปยังโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามมาตรา 84/3 ประกอบมาตรา 4 ทศ แห่ง ป.รัษฎากร เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ข้อ 1 (2) จึงเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (3) ซึ่งมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติให้ดำเนินการในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ และ ป.รัษฎากร ได้บัญญัติไว้เพียงกำหนดเวลาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและแบบในการขอคืนเท่านั้น มิได้กำหนดให้ผู้ขอคืนภาษีอากรที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการขอคืนภาษีดังกล่าวต้องอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานด้วย เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นส่วนหนึ่งในการขอคืนค่าภาษีอากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาอุทธรณ์จากจำเลยก่อน
แม้ภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเกิดจากมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายหรือมีเครดิตภาษียกมา ต่างก็ถือได้ว่าเป็นกรณีคืนเงินภาษีอากรที่ชำระตามแบบแสดงรายการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 161 (พ.ศ.2526) ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนภาษีอากร ข้อ 1 (2) โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำเลย
จากบทบัญญัติ มาตรา 84/3 และมาตรา 4 ทศ แห่ง ป.รัษฎากร จำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืนหมายถึงจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยอนุมัติให้คืนแก่โจทก์ หาใช่จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มหลังจากได้มีการหักกลบลบหนี้กันแล้ว การคิดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ได้คืนเงินภาษีอากรจึงต้องพิจารณาจากจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งคำสั่งคืนเงินอันเป็นวันสุดท้ายที่สามารถคิดดอกเบี้ยได้ หาอาจนำจำนวนเงินที่มีการหักกลบลบหนี้ภายหลังจากการมีคำสั่งแจ้งคืนเงินมาใช้เป็นฐานในการคำนวณดอกเบี้ย
สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกมาตามฟ้องโดยอ้างว่า การที่จำเลยไม่สั่งให้ดอกเบี้ยในระหว่างยังไม่ได้คืนเงินภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ในเวลาที่คืนเงินภาษีอากรล่าช้าแก่โจทก์ เป็นกรณีจำเลยไม่ให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์เพื่อบรรเทาความเสียหายในระหว่างได้รับเงินภาษีอากรล่าช้า โจทก์จึงขอเรียกค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของจำนวนเงินดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับคืนนั้น เป็นกรณีที่ยังมีข้อต่อสู้ให้ศาลต้องวินิจฉัยให้ชัดเจนเสียก่อนว่า โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยเนื่องจากเข้าหลักเกณฑ์การให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับเงินคืนภาษีอากรหรือไม่ และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานของจำเลยใช้ดุลพินิจไปตามอำนาจหน้าที่ จึงยังไม่สมควรกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่นำส่ง ผู้ซื้อถูกหักภาษี โจทก์พ้นความรับผิด
ป.รัษฎากร มาตรา 83/5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการขายทอดตลาด ให้ผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องเสีย" และวรรคสองบัญญัติว่า "ให้ผู้มีหน้าที่นำส่งตามวรรคหนึ่ง นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยยื่นรายการตามแบบนำส่งภาษีที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่และกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 52 และให้นำมาตรา 54 และมาตรา 55 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" ซึ่งตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าผู้จ่ายเงินตามมาตรา 50 และมาตรา 53 มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไป แล้วแต่กรณี" และมาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้ตามมาตรา 50 หรือมาตรา 53 แล้ว ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งต้องเสียภาษีพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินภาษีเท่าจำนวนที่ผู้จ่ายเงินได้หักไว้แล้วนั้น และให้ผู้จ่ายเงินรับผิดชำระเงินภาษีจำนวนนั้นแต่ฝ่ายเดียว" จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลย นอกจากนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 308 แสดงให้เห็นว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ทำหน้าที่ทอดตลาด จึงมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อข้อเท็จจริงตามที่คู่ความรับกันฟังได้ว่า ราคาหรือเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ที่ผู้ซื้อนำมาชำระแก่กรมบังคับคดีเป็นราคาที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว การที่กรมบังคับคดีนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ของโจทก์จนหมด โดยมิได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยตามมาตรา 83/5 จึงเป็นกรณีที่กรมบังคับคดีได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อและหักภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้วแต่มิได้นำส่งแก่จำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินต้องรับผิดชำระเงินภาษีแต่ฝ่ายเดียว มีผลให้โจทก์พ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่าจำนวนที่กรมบังคับคดีได้หักไว้แล้วนั้น ตามมาตรา 54 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6693/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีที่ดินใช้ประกอบกิจการให้เช่า ไม่ใช่ขายเพื่อหากำไร
โจทก์มีที่ดินพิพาทเพียงแปลงเดียวขณะที่ถูกเวนคืนโจทก์ใช้เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงานของโจทก์และมีไว้ให้ผู้อื่นเช่า อันแสดงให้เห็นว่าที่ดินและอาคารที่พิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้เพื่อประกอบกิจการไม่ได้มีไว้เพื่อขาย ประกอบกับการที่โจทก์ต้องโอนทรัพย์ก็เนื่องจากมี พระราชกฤษฎีกาออกมากำหนดให้ที่ดินที่โอนนั้นอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ซึ่งหากโจทก์ไม่ตกลงกับเจ้าหน้าที่ก็ต้องถูกเวนคืน ดังนั้น การที่โจทก์ยอมตกลงโอนที่ดินภายใต้สภาพบังคับเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การโอนโดยเจตนาหรือเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ กรณีของโจทก์จึงไม่เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ การฟ้องขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีส่วนท้องถิ่นในคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 91/11 และมาตรา 27 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: สัญญาประนีประนอมระหว่างสามีภริยา ต้องให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าบันทึกข้อตกลงสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดเป็นสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นสามีภริยากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จึงไม่รับฟ้อง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องจึงไม่ชอบ
of 11