คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ภาภูมิ สรอัฑฒ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15306/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางและค่าปรับของเจ้าของร่วมที่ซื้อห้องชุดจากการประมูล
หนี้ที่เกิดจากเจ้าของร่วมมีหน้าที่ชำระตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มิได้ห้ามมิให้บุคคลอื่นชำระหนี้แทนเจ้าของห้องชุดที่เป็นเจ้าของร่วม เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันออกหนังสือรับรองการปลอดหนี้ จึงจำเป็นอยู่เองที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องชำระหนี้ค่าใช้จ่ายและค่าปรับให้แก่จำเลยทั้งสองหรือไม่ เพียงใด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวโดยไม่จำต้องให้จำเลยทั้งสองฟ้องแย้งเข้ามาในคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14863/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่เลือกปฏิบัติต่อเพศขัดต่อกฎหมาย และโมฆะ
เดิมผู้ร้องกำหนดเกษียณอายุของพนักงานชายเมื่ออายุ 55 ปี พนักงานหญิงเมื่ออายุ 45 ปี ต่อมาสหภาพแรงงานทอผ้า ม. ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานในกิจการของผู้ร้องและผู้ร้องต่างแจ้งข้อเรียกร้อง จนมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุ 47 ปี แม้การทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จะเกิดขึ้นจากเสรีภาพในการเจรจาต่อรอง แต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันขึ้นนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 15 บัญญัติให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้ ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านจะเป็นตัวแทนของสหภาพแรงงานทอผ้า ม. เข้าร่วมเจรจาและทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวด้วยก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในส่วนที่กำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 47 ปี แตกต่างจากกำหนดเกษียณอายุของพนักงานชายเมื่ออายุครบ 55 ปี โดยไม่ปรากฏว่าลักษณะหรือสภาพของงานแตกต่างกัน จึงเป็นการปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงโดยไม่เท่าเทียมกัน ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 15 ข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ผู้ร้องจึงต้องให้ผู้คัดค้านเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปี เท่าเทียมกับลูกจ้างชาย กรณีจึงไม่มีเหตุอนุญาตให้เลิกจ้างผู้คัดค้านตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการเกษียณอายุได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12941/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีสำเร็จก่อนพิทักษ์ทรัพย์ แต่มีคดีพิพาทเรื่องเจ้าหนี้จำนอง ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาและส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการ
แม้การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ตาม แต่เนื่องจากผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะผู้รับจำนองได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 17767 และ 16632 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยในคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำฟ้องบังคับจำนอง แต่จำเลยคัดค้าน ระหว่างการพิจารณาว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์สินดังกล่าวหรือไม่ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คดีระหว่างผู้ร้องกับจำเลยดังกล่าวในชั้นบังคับคดีจึงมีกรณีพิพาทว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยหรือไม่ ถือเป็นคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ประกอบกับจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามมาตรา 22 (1) เมื่อต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยมีคำขอให้จำหน่ายคดี โดยให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ศาลย่อมมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ตามที่มาตรา 25 ตอนท้าย บัญญัติไว้ การที่ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพื่อให้ผู้ร้องไปดำเนินการทั้งหลายต่อในคดีล้มละลายเพื่อประโยชน์ในการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลย ผู้ร้องไม่เสียสิทธิในการได้รับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10774/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม, การประเมินภาษีเกินกำหนด, และค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร
ในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ การประเมิน ย่อมเป็นอันยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (1) และมาตรา 8
แบบแจ้งการประเมินอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม มีข้อความระบุเกี่ยวกับใบขนสินค้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มที่อ้างถึง ชื่อยานพาหนะ วันนำเข้า และเหตุให้ค่าภาษีอากรขาด โดยมีรายละเอียดจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระ ภาษีอากรที่ชำระไว้แล้ว ภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่ม เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม จึงเห็นได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์สำแดงประเภทพิกัดผิดพลาดจนเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องหรือชำระภาษีอากรขาดไป มีการอ้างอิงข้อกฎหมายที่ใช้ในการประเมินตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และ พ.ร.บ.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 ทั้งยังได้แจ้งพิกัดอันเป็นข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตามที่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าถูกต้องให้โจทก์ทราบแล้วด้วย โจทก์เคยถูกจับกุมเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าแผ่นฟิล์มและขอระงับคดีโดยยินยอมชำระค่าปรับและค่าภาษีที่ขาดมาก่อน ประกอบกับคำอุทธรณ์ของโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านการประเมินโดยละเอียด แสดงให้เห็นว่าโจทก์ทราบและเข้าใจเหตุผลในการประเมิน สำหรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์มีข้อความตามเหตุผลที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ ประกอบกับโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โดยโต้แย้งข้อเท็จจริงข้อกฎหมายไว้อย่างละเอียดตรงตามประเด็นและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ถือได้ว่าแบบแจ้งการประเมินอากรขาเข้าและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวได้ระบุเหตุผลอันประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมาย ข้อพิจารณาในการใช้ดุลพินิจในการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยครบถ้วนตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 แล้ว
โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0028 - 4188 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2538 สินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0038 - 5029 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2538 และสินค้าตามใบขนสินค้าเลขที่ 0106 - 0058 - 3313 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2538 ซึ่งนับถึงวันที่โจทก์ได้รับแบบแจ้งการประเมินในวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องของจำเลยในส่วนอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าทั้งสามฉบับจึงขาดอายุความตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินการนำเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าในส่วนนี้รวม 117 ฉบับ ซึ่งแต่ละข้อหาตามใบขนสินค้าแต่ละฉบับไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จะฟ้องแต่ละข้อหาแยกเป็นรายคดีก็ได้แต่เพื่อความสะดวกโจทก์ได้ฟ้องรวมกันมา แต่ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้เป็นรายข้อหา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10743/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-ประกาศกระทรวงแรงงาน: ไม่อาจใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังบังคับสัญญาเดิมที่เกิดก่อนประกาศมีผลใช้บังคับ
การค้ำประกันเป็นสิทธิในทางแพ่ง ต้องใช้กฎหมายในขณะเกิดเหตุหรือเกิดความเสียหาย
การที่ประกาศฯ ข้อ 12 ที่ว่านายจ้างที่เรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากลูกจ้างเป็นทรัพย์สินหรือให้บุคคลค้ำประกันไว้มีมูลค่าเกินว่า 60 เท่าของค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยอยู่ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ให้นายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่เกินกว่าจำนวนมูลค่าของหลักประกันที่กำหนดไว้ในประกาศฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ เป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติให้นายจ้างดำเนินการหลังจากประกาศฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ไม่ใช่กรณีที่ให้ประกาศฯ มีผลย้อนหลัง
ตาม ข้อ 2 ระบุให้ประกาศฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ก. ลูกจ้างของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ต้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ผู้ค้ำประกันการทำงานของ ก.) ได้ทำกับโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10547/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการคืนภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ไม่ส่งมอบเอกสารหลักฐานให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหาผลผลิตตามขั้นตอนการผลิตตามความเป็นจริงได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของโจทก์ในแต่ละเดือนคำนวณผลผลิต ย่อมเป็นวิธีการที่เหมาะสมและยอมรับได้
หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าพนักงานประเมินในการคืนภาษีให้โจทก์น้อยกว่าที่โจทก์ขอคืนไว้ เมื่อโจทก์ไม่มีภาระภาษีที่จะต้องชำระเพิ่มเติมอีก จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังที่โจทก์อ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9425/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดสรรที่ดิน น.ส.3ก. แม้ไม่ขออนุญาต ก็ยังเป็นการจัดสรรตามประกาศ คปต. ฉบับที่ 286 และเกิดภาระจำยอม
การที่ จ. ยื่นคำขอรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำนวน 226 แปลง และสร้างอาคารพาณิชย์เพื่อขายโดยทำถนนพิพาทเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกทางสาธารณะ ถือว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ทางพิพาทย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรรวมทั้งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ของโจทก์โดยผลแห่งกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 แม้ จ. จะมิได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือหลีกเลี่ยงการขออนุญาตจัดสรรที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว ก็ไม่ทำให้การจัดสรรที่ดินนั้นกลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9332/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างแสดงใบรับคำขออนุญาตขายวีซีดี ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีเจตนาประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน" บทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษเฉพาะผู้ประกอบกิจการดังกล่าวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของ อ. ผู้ไปขออนุญาตจากนายทะเบียนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นจะถือว่าจำเลยมีเจตนาประกอบกิจการจำหน่ายภาพยนตร์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า: ความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อวางหลักประกันฯ ไม่ใช่เมื่อชำระภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78/2 ไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ประกอบการที่วางหลักประกันโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไว้เป็นพิเศษ ความรับผิดของโจทก์สำหรับสินค้าเครื่องจักรที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ยกเว้นภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับผู้นำเข้าที่วางหลักประกันอากรขาเข้าอื่น กล่าวคือ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนนี้เกิดขึ้นเมื่อโจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาที่โจทก์วางหลักประกันอากรขาเข้า โจทก์คงนำเงินไปชำระค่าภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรครบถ้วนในกำหนดเวลาตามมาตรา 78/2 โจทก์จึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (3) และรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8302/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องพิจารณาขนาดทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะ การใช้เกณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกันถือว่าไม่ถูกต้อง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีประจำปีภาษี 2552 ที่พิพาท เท่ากับปีภาษี 2551 ซึ่งเป็นปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว แต่ค่ารายปีของทรัพย์สินแต่ละรายอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้แล้วแต่ข้อเท็จจริงของแต่ละปี ทั้งนี้การพิจารณาเพิ่มหรือลดค่ารายปีต้องมีเหตุผลและต้องคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้งและบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 โจทก์ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาทครั้งแรกเมื่อปีภาษี 2548 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนดค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์ตามอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางที่จำเลยกำหนดในบันทึกข้อความที่ กท 7000/2912 ซึ่งโรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ต่อมาจำเลยมีบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 จัดกลุ่มตามพื้นที่ที่ตั้งเขตใหม่ ทำให้โรงเรือนของโจทก์จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 และมีอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางต่ำลง แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เท่ากับค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วและนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 455/1-2 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 3 ซึ่งมีความกว้างกว่าถนนเจริญราษฎร์ที่โรงเรือนของโจทก์ตั้งอยู่ อีกทั้งมีราคาประเมินที่ดินที่สูงกว่า และนำไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 3609/9 ซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันกับโจทก์ โดยไม่นำไปเทียบเคียงกับค่ารายปีของโรงเรือนเลขที่ 358/1 และโรงเรือนเลขที่ 299/10 ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันกับโจทก์ และเจ้าพนักงานของจำเลยประเมินค่ารายปีโรงเรือนทั้งสองแห่งดังกล่าวโดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 อันแสดงให้เห็นว่าการกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับอาคารลักษณะพิเศษในเขตเดียวกันใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ทำให้โจทก์ต้องรับภาระภาษีมากกว่าโรงเรือนรายอื่นที่มีลักษณะทรัพย์สินคล้ายคลึงกับโจทก์ที่ตั้งอยู่ในเขตเดียวกัน อันก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของผู้เสียภาษี การกำหนด ค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยสำหรับโรงเรือนของโจทก์จึงยังไม่เหมาะสมและไม่มีเหตุผลเพียงพอ กรณีจึงมีพฤติการณ์และเหตุผลอันสมควรให้ประเมินค่ารายปีโรงเรือนของโจทก์โดยใช้อัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางตามบันทึกข้อความที่ กท 1302/222 ซึ่งเป็นคุณแก่โจทก์มากกว่า
of 11