พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7479/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุก: การเข้าไปในบ้านผู้อื่นโดยไม่มีเจตนาบุกรุก และการไม่ออกทันทีหลังถูกไล่
แม้ได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปจอดในบริเวณบ้านของผู้เสียหายและสอบถามหาผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายออกจากห้องครัวมา จำเลยสอบถามเรื่องไก่ของจำเลยที่หายไปและให้ผู้เสียหายดูแลคนงานของผู้เสียหายให้ดี ๆ จนเกิดการโต้เถียงกัน ผู้เสียหายไล่ให้จำเลยออกจากบ้าน จำเลยยังไม่ยอมออก จากนั้นประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยจึงเดินไปที่รถจักรยานยนต์ของจำเลย ขับออกไปจากบ้านผู้เสียหาย แต่เมื่อพิจารณาลักษณะและสภาพที่ตั้งบ้านของผู้เสียหาย เป็นบ้านชั้นเดียว มีเสารั้วปูนปักรั้วล้อมรอบและขึงด้วยลวดหนามเว้นช่องทางเข้าบ้านไว้ ไม่มีประตูกั้น ถนนหน้าบ้านผู้เสียหายไม่ได้หวงกั้น บุคคลใดจะเข้าออกก็ได้และเป็นการสะดวกแสดงว่าผู้เสียหายมิได้หวงห้ามในการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าไปในบริเวณบ้านของผู้เสียหาย และที่จำเลยเข้าไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องไก่ที่หายไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเข้าไปเพื่อสอบถามผู้เสียหาย เมื่อเกิดมีการโต้เถียงกันและผู้เสียหายไล่จำเลยออกไป แม้จำเลยยังไม่ออกไปทันที แต่หลังจากนั้นไม่นานเพียงประมาณ 3 ถึง 4 นาที จำเลยก็เดินไปที่รถจักรยานยนต์แล้วขับออกไปจากบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวนั้น ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิได้เข้าไปได้ไล่ให้ออก อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5988/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง, การชดใช้ค่าเสียหายจากการเลือกตั้งใหม่, และอำนาจฟ้องของ กกต.
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2549 ต่อมามีผู้ร้องคัดค้านและคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำวินิจฉัยสั่งการ ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าว พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับ แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 ออกมาใช้บังคับ ซึ่งได้กำหนดสัดส่วนองค์ประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งในมาตรา 8 แตกต่างไปจากกฎหมายฉบับเดิมก็ตาม ศาลจะหยิบยกกฎหมายฉบับที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์
ข้อความตามมาตรา 8 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2541 บัญญัติว่า การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการการเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม หมายถึงจำนวนคนไม่ใช่สัดส่วนที่คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อขณะลงมติมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และกรรมการการเลือกตั้งทั้งสามคนได้ลงมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยและให้มีการเลือกตั้งใหม่ จึงเป็นการลงคะแนนไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการตามนัยแห่งกฎหมายข้างต้นแล้ว
การฟ้องผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้รับผิดค่าเสียหายที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 99 วรรคหนึ่ง นั้น เป็นการฟ้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรับผิดในทางแพ่งที่มีเหตุมาจากการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและให้เลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวด้วยก็ตาม กรณีมิใช่เป็นเรื่องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา เพียงแต่ว่าเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดว่าไม่เคยกระทำการฝ่าฝืนมาตรา 57 จนเป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีการเลือกตั้งใหม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบปฏิเสธความรับผิดตามคำให้การได้ และมีสิทธิอ้างคำพิพากษาในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ได้ และศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวประกอบได้ แต่พยานหลักฐานดังกล่าวจะมีน้ำหนักให้รับฟังได้ประการใดหรือไม่เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามหลักเรื่องภาระการพิสูจน์และการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน
มาตรา 99 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้มีการการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 56 หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง...ผู้กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 56 หรือผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินค่าใช้จ่ายในการให้มีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องชำระ คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีอำนาจในการยื่นฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่ง
ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครองโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง จึงต้องคืนค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19467/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ระยะเวลาความรับผิดไม่จำกัด 1 ปี หากมีเจตนาฝากเงินเพื่อประกันหนี้ตลอดไป
สัญญาค้ำประกัน ข้อ 6 ระบุใจความสำคัญว่า โจทก์สัญญาจะฝากเงินประเภทออมทรัพย์กับจำเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของผู้กู้ทุกรายเป็นจำนวนเงินในอัตราร้อยละ 5 ของต้นเงินที่ผู้กู้แต่ละรายกู้ไปจากจำเลย และโจทก์มอบให้จำเลยหักเงินจำนวนหนี้เพื่อชำระหนี้เมื่อผู้กู้รายหนึ่งรายใดหรือทั้งหมดทุกรายผิดสัญญากับจำเลยเป็นคราว ๆ ไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า การนับระยะเวลาค้ำประกันให้นับระยะเวลาตามวันทำนิติกรรมของผู้กู้แต่ละราย ประกอบกับทางปฏิบัติที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์เบิกเงินฝากค้ำประกันที่เลยกำหนด 1 ปี รวม 3 ครั้ง โจทก์ยินยอมให้จำเลยกันเงินไว้ทั้ง 3 ครั้ง สำหรับผู้กู้ที่ค้างชำระหนี้จำเลย แสดงให้เห็นว่าข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อสัญญาในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้ในระยะเวลาขั้นต่ำ 1 ปี แต่ระยะเวลาขั้นสูงไม่ได้กำหนดไว้เท่านั้น จึงมิใช่การค้ำประกันจำกัดระยะเวลาความรับผิดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ของลูกค้าแต่ละราย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19287/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์มิได้สูญหาย แต่กลับไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย แล้วนำบันทึกคำแจ้งความไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วโอนขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอก เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายเป็นพิเศษในการกระทำความผิดดังกล่าว มีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18850/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คหลังล้มละลาย: การออกเช็คชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ถือเป็นการผูกนิติสัมพันธ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด หลังจากนั้นจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) แก่โจทก์ การออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็คซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย โดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16051/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา: เริ่มนับเมื่อพ้นระยะปลอดหนี้ 2 ปี ไม่ขาดอายุความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2541 อยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนหรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์กู้ยืมเงินเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา ส่วนการนำส่งคืนกองทุนยังให้โอกาสผู้กู้ยืมชำระคืนเมื่อสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี ทั้งยังกำหนดให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่เกินเงินฝากประจำหนึ่งปีของธนาคารออมสิน และห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยทบต้น กำหนดใช้คืนเป็นรายเดือนเป็นระยะเวลาสูงสุดถึงสิบห้าปี ในกรณีผู้ยืมถึงแก่ความตาย ให้หนี้ตามสัญญาระงับไป หรือกรณีผู้กู้พิการหรือทุพลภาพไม่สามารถประกอบการได้ คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจระงับการให้ชำระหนี้ตามสัญญาได้ โดยมีเหตุผลการออกพระราชบัญญัติเนื่องจากมีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการพัฒนามนุษย์ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ดังนั้นการให้กู้ยืมเงินตามพระราชบัญญัติก็เป็นไปเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และให้โอกาสแก่บุคคลผู้ด้อยโอกาสในสังคมโดยแท้ กรณีเป็นเรื่องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 หาใช่เป็นสิทธิเรียกร้องในเงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ อันมีอายุความห้าปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) ไม่ เพราะแม้ผู้กู้สามารถเลือกผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนหรือรายปีได้ แต่หากมีความจำเป็นอาจร้องขอผ่อนผันการชำระหนี้ตามระยะเวลาที่แตกต่างไปหรือชะลอการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15657/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในการยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายและการรับรองความถูกต้อง แม้จะมอบหมายให้สมุห์บัญชีดูแล
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 43 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนต้องยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งจัดทำขึ้นและผู้สมัครรับรองความถูกต้องภายในกำหนดเก้าสิบวันหลังจากวันประกาศผลเลือกตั้ง ผลแห่งกฎหมายทำให้จำเลยในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งมีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายและรับรองความถูกต้อง แม้บทบัญญัติในมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จะกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่งตั้งสมุห์บัญชีเลือกตั้งเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและรับรองความถูกต้องของบัญชีรายรับรายจ่ายของผู้สมัครก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องกระทำการให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้สมัครรับเลือกตั้งในบัญชีรายรับรายจ่ายที่สมุห์บัญชีเลือกตั้งได้จัดทำขึ้น โดยมิได้ตรวจสอบถึงความถูกต้องตามความจริงและครบถ้วนตามกฎหมาย อีกทั้งต้องมีหน้าที่รับรองความถูกต้องด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14924/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คพิพาท การพิสูจน์เจตนาฉ้อฉล และความรับผิดส่วนตัวของผู้สั่งจ่ายเช็ค
ขณะที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมานั้น ยังไม่เกิดข้อพิพาทกันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสวนลำไยระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ส. เช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงยังคงมีมูลหนี้ต่อกัน แม้หนี้ระหว่าง ป. กับ อ. จะไม่มีหลักฐานการซื้อขาย ก็มิได้แสดงว่าทั้งสองฝ่ายมิได้มีหนี้ต่อกันเพราะมิฉะนั้น ป. คงไม่สลักหลังส่งมอบเช็คให้แก่ อ. ในขณะที่รับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ การโอนเช็คด้วยการคบคิดกันฉ้อฉลที่จะเป็นเหตุให้ผู้สั่งจ่ายยกความเกี่ยวพันระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนขึ้นต่อสู้ผู้ทรงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 นั้นจะต้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลที่เกิดขึ้นขณะที่ผู้ทรงรับโอนเช็คเท่านั้น ดังนั้น การที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับไว้จึงมิใช่เป็นการคบคิดกับ ป. เพื่อฉ้อฉลจำเลยทั้งสอง แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 กับ ส. ได้มีการบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้แจ้งให้ อ. ทราบแล้ว ก่อนที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับจะถึงกำหนดเรียกเก็บเงิน แต่ อ. กลับนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินนั้น ก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ อ. รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับมาแล้ว จึงฟังไม่ได้ว่า อ. ได้รับโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับด้วยคบคิดกันฉ้อฉลหรือไม่สุจริต
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก ส. แล้วจำเลยที่ 2 ออกเช็คของจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มอบให้ ส. และ ป. ต่อมา ป. ได้สลักหลังเช็คดังกล่าวให้แก่ อ. สามีโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีหนี้ที่ต้องชำระเป็นส่วนตัว การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว และในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวมสองฉบับ โดยเช็คทั้งสองฉบับมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ค่าแบ่งผลประโยชน์ในการทำสวนลำไย และค่าดูแลรักษาสวนลำไยให้แก่ ป. ตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคล
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจาก ส. แล้วจำเลยที่ 2 ออกเช็คของจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มอบให้ ส. และ ป. ต่อมา ป. ได้สลักหลังเช็คดังกล่าวให้แก่ อ. สามีโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีหนี้ที่ต้องชำระเป็นส่วนตัว การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว และในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็ครวมสองฉบับ โดยเช็คทั้งสองฉบับมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้ค่าแบ่งผลประโยชน์ในการทำสวนลำไย และค่าดูแลรักษาสวนลำไยให้แก่ ป. ตามคำฟ้องของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอบังคับจำเลยที่ 2 รับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14202/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการบังคับคดีและการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี แม้ไม่ยื่นคำร้องตามกำหนด
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 289 จะบัญญัติว่า "ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด..." ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด เพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนองและเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้รับจำนองให้ได้รับจัดสรรการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวโดยจะสะดวกกว่าให้ผู้รับจำนองไปฟ้องบังคับแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในภายหลังเท่านั้น แต่ถ้าผู้รับจำนองไม่ยื่นคำร้องขอภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองต้องหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 287 อีกทั้งสิทธิรับจำนองเป็นทรัพยสิทธิซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมาย จะระงับสิ้นไปก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744 ดังนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงมีบุริมสิทธิที่จะบังคับเหนือทรัพย์พิพาทก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วยและเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้องแล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 732 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12211/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากร: สิทธิอุทธรณ์ตามกฎหมาย และผลของการไม่ใช้สิทธิ
จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินแล้วไม่อุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ฉ ทั้งมิได้อุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 การประเมินจึงยุติ ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าหนังสือแจ้งการประเมินไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินตามหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธิกล่าวอ้างว่าการประเมินที่ยังมีผลสมบูรณ์โดยไม่ถูกเพิกถอนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 42 วรรคสอง เป็นการประเมินที่ไม่ชอบเพื่อปฏิเสธความรับผิดในอันที่จะต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากร
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) และมาตรา 1087