คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ม. 18

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ก่อนฟ้องศาล
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534มาตรา 18 วรรคแรกที่บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของ รัฐวิสาหกิจนั้น ฯลฯ" ส่วนในวรรคสี่และวรรคหก บัญญัติไว้เป็นใจความว่า ผู้ร้องหรือสมาคมซึ่งไม่พอใจผลการพิจารณาคำร้องทุกข์ดังกล่าวของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบผลการพิจารณา คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด เห็นได้ว่าคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์จะมีอำนาจหน้าที่พิจารณาในการนี้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์เท่านั้นไม่ได้หมายความว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ได้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บังคับให้จำต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ไม่ จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดี มาสู่ศาล ตามนัยมาตรา 8 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522เมื่อคดีนี้สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และต้องจ่ายค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 หาได้มีบทบัญญัติกำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ในเรื่องการจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีกับรัฐวิสาหกิจผู้เป็นนายจ้างจำต้องยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ เพื่อให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาก่อน บทบัญญัติในมาตรา 18 เป็นบทที่กำหนดถึงอำนาจหน้าที่คณะของกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องการพิจารณาข้อร้องทุกข์ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจประสงค์จะให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์พิจารณาเท่านั้นแม้โจทก์ทั้งสี่จะมิได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ เมื่อโจทก์ทั้งสี่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว โจทก์ทั้งสียอมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ พ้นจากตำแหน่งนั้นมีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันทีเมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุโดยโจทก์ไม่มีความผิดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 46 การเลิกจ้างเช่นนี้จำเลยต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับตามข้อ 8 และข้อ 20 ดังที่ข้อ 21 ของระเบียบดังกล่าวไว้ด้วย และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นเรื่องการจ่ายค่าชดเชยหรือการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามที่กำหนดไว้ในข้อ 45 และข้อ 47 ของระเบียบที่กล่าวข้างต้นแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ทั้งสี่ไม่มีความผิดตามข้อ 46ของระเบียบดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ และสิทธิในการรับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
บัญญัติในมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นเพียงบทที่กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องการพิจารณาข้อร้องทุกข์ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจประสงค์จะให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์พิจารณาเท่านั้น มิใช่การกำหนดขั้นตอนซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายก่อนจึงจะมีอำนาจฟ้อง ดังนั้นเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะมิได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ โจทก์ทั้งสี่ก็มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่ พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 นั้นเป็นการให้โจทก์ทั้งสี่ออกจากงาน ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยจึงต้องจ่ายเงินเดือนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิให้แก่โจทก์ทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 และประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้นจะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบิตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ใช้บังคับ ให้ใช้กฎหมายเดิมคุ้มครอง
แม้โจทก์ทั้งสองจะถูกคำสั่งให้ลงโทษพักงานและงดทำงานล่วงเวลาภายหลังที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของโจทก์ที่ถูกกล่าวหาว่าทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมายรวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ข้อพิพาทเกิดขึ้นคือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 ยังคงบังคับตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่ อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อน วันที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตาม ขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบัติ ตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3866/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนในกฎหมายใหม่
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจได้เลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ก่อนที่พระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 จะมีผลใช้บังคับสิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีตามกฎหมายในการเลิกจ้างโจทก์รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากการเลิกจ้างนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เลิกจ้าง จึงนำพระราชบัญญัติ พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณา แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49ตามบทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้อยู่แล้วหากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง หาจำเป็นต้องอาศัยบทบัญญัติพ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีกไม่ ฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องที่อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯแม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์ก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ แต่ประการใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจไม่ต้องรอขั้นตอน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในการสั่งคืนงานกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานใช้ดุลพินิจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ หากเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างไม่จำต้องอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534อีก แม้โจทก์เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก็มีอำนาจฟ้องนายจ้างในข้อหาเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติพนักงาน-รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 ก่อน