พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบโอนลอย: เจตนาคู่กรณีและผลทางกฎหมาย
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ ธ.ไป หาก ธ.ประสงค์ต้องการมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ก็จะต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนแล้วไปแก้ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นตามระเบียบได้ และถ้า ธ.ไม่ต้องการมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ธ.สามารถโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้ เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่า ธ.ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้ว จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่า การโอนหุ้นระหว่างจำเลยและ ธ.แบบโอนลอยนั้น คู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่า หากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็จะต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องต่อไป แต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาด ก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติต่อไปได้ กล่าวโดยชัดแจ้งคือ เป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดโดยฝ่ายจำเลยผู้โอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนฝ่ายตนแล้วมอบให้ฝ่ายผู้รับโอนไปเลือกปฏิบัติภายหลังให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปโดยลำพังได้ การโอนลอยหุ้นให้แก่ ธ.จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้น ยังมิได้เป็นขั้นตอนการโอนที่เสร็จเด็ดขาด และความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสอง ที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้นเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ ป.พ.พ.บัญญัติไว้เท่านั้น จึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบมีเงื่อนไข: เจตนาคู่สัญญา, แบบตามกฎหมาย, สิทธิผู้รับโอน, การซื้อขายหุ้น
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ธ. ไปหากธ. ประสงค์ต้องการมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นก็จะต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนแล้วไปแก้ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นตามระเบียบได้และถ้าธ. ไม่ต้องการมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นธ. สามารถโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่าธ. ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้วจึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่าการโอนหุ้นระหว่างจำเลยและธ. แบบโอนลอยนั้นคู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่าหากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็จะต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องต่อไปแต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาดก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติต่อไปได้กล่าวโดยชัดแจ้งคือเป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดโดยฝ่ายจำเลยผู้โอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนฝ่ายตนแล้วมอบให้ฝ่ายผู้รับโอนไปเลือกปฏิบัติภายหลังให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปโดยลำพังได้การโอนลอยหุ้นให้แก่ธ. จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้นยังมิได้เป็นขั้นตอนการโอนที่เสร็จเด็ดขาดและความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองที่บัญญัติว่าการโอนหุ้นชนิดระบุชื่อถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนมีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้นเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้นหาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นจึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน: บันทึกแบ่งที่ดินหลังจดทะเบียนใช้ได้ ยึดเจตนาการแบ่งตามที่ตกลง
ช.ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 19 ไร่ 26 ตารางวา แต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญ กว้างประมาณ10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบ แม้ ช.จะไม่ได้พิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตาม แต่ ช.ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้น หรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึก แต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ ช.จดทะเบียนการให้ ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้ว ทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไป บันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของ ช.แต่อย่างใดไม่ แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้ แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้น ช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง 4 ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้น ที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้ว ย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง 4 ไร่ ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ 10 วา โดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9347/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการให้ที่ดินตามบันทึกข้อตกลงมีผลผูกพัน แม้ไม่มีวันเดือนปี และลายมือชื่อผู้ให้ที่ดิน
ช. ได้จดทะเบียนให้โจทก์ซึ่งเป็นหลานและจำเลยซึ่งเป็นบุตรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่19ไร่26ตารางวาแต่ได้ทำบันทึกแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์เพียง4ไร่ด้านหน้าติดคลองภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นเส้นตรงขึ้นไปโดยโจทก์จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้รับให้ไว้โดยชอบแม้ช. จะไม่ได้พิมพ์ลายนิ้วมือไว้เป็นผู้ให้ในบันทึกเช่นที่พิมพ์ไว้ในหนังสือสัญญาให้ที่ดินด้วยก็ตามแต่ช. ก็ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกนั้นหรือแม้จะไม่ได้ลงวันเดือนปีที่ทำบันทึกไว้ในบันทึกแต่ก็ทำในวันเดียวกับที่ช. จดทะเบียนการให้ทั้งก็ระบุถึงวันเดือนปีที่จดทะเบียนการให้ลงในบันทึกด้วยแล้วทั้งสองประการนี้จึงไม่เป็นเหตุที่จะทำให้การรับฟังบันทึกดังกล่าวเสียไปบันทึกดังกล่าวก็หาใช่คำมั่นจะให้ของช. แต่อย่างใดไม่แม้จะเป็นการทำขึ้นภายหลังที่มีการจดทะเบียนการให้แต่ก็เป็นเพียงเอกสารอันเป็นหลักฐานยืนยันถึงเจตนาของการจดทะเบียนการให้ที่ดินพิพาทแก่โจทก์จำเลยนั้นช.แบ่งส่วนให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง4ไร่ตามที่ระบุในบันทึกเท่านั้นที่ดินส่วนที่เหลือนอกนั้นเป็นของจำเลยซึ่งโจทก์จำเลยก็ลงลายมือชื่อรับรู้แล้วย่อมรับฟังประกอบการจดทะเบียนได้โจทก์คงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเพียง4ไร่ด้านหน้าติดคอลงภาษีเจริญกว้างประมาณ10วาโดยวัดเป็นเส้นตรงขึ้นไปโจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามส่วนดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน การผูกพันตามประกาศ และการเรียกร้องหนี้
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง. ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศเป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้วการที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้และขอให้โจทก์นำเอกสารต่างๆพร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้นถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั่งหนึ่งก่อนดังนั้นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วแม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้ สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ2ว่าบริษัทง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินฉบับใดๆก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล"ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณีๆไปและในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้เช่นได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้วหรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสนอแม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ประกาศของจำเลยข้อ2นี้จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด ตามประกาศของจำเลยข้อ3มีใจความว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ยกับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปีภายในระยะเวลาไม่เกิน10ปีจะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ10ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงินจนกว่าจะครบจำนวนดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆตามประกาศดังกล่าวดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตัวสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับละ500,000บาทปีละ4ฉบับมีกำหนดเวลา10ปีโดยไม่มีดอกเบี้ยสำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน4ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่10มิถุนายน2530แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้และให้โจทก์นำเอกสารต่างๆไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยโจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่างๆไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่24กุมภาพันธ์2532จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2532จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้4ฉบับแรกฉบับละ500,000บาทโดยไม่มีดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่1มีนาคม2532เป็นต้นไปและทุกวันที่1มีนาคมของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด10ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอซื้อ/แลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงิน: สัญญาผูกพันเมื่อตอบรับ แม้มีข้อจำกัดในประกาศ
ตามประกาศของจำเลยมีข้อความให้ประชาชนผู้มีชื่อระบุเป็นผู้รับเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อขอความยินยอมให้เปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามวันเวลาและสถานที่ที่ระบุในประกาศ เป็นหนังสือเชิญชวนให้ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ง.ทำคำเสนอขอแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินจากจำเลยโดยจำเลยสงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ เมื่อโจทก์มีหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงจำเลยจึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่มีต่อจำเลยแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ได้ และขอให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ พร้อมด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลยนั้น ถือว่าเป็นคำสนองของจำเลยที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งตั๋วสัญญาใช้เงินไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อน ดังนั้น สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยได้เกิดขึ้นและมีผลผูกพันกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะอ้างว่าธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิในภายหลังตามอำเภอใจได้
สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ 2 ว่า...บริษัท ง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล..." ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณี ๆ ไป และในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้ เช่น ได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้ว หรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์ มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสมอ แม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ ประกาศของจำเลย ข้อ 2 นี้ จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด
ตามประกาศของจำเลย ข้อ 3 มีใจความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ย กับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี จะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน จนกว่าจะครบจำนวน ดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าวดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ 500,000 บาท ปีละ 4 ฉบับมีกำหนดเวลา 10 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย สำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน2530 แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้ และให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ ไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลย โจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ 4 ฉบับแรก ฉบับละ 500,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2532 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด 10 ปี
สำหรับประกาศของจำเลยที่มีข้อความในข้อ 2 ว่า...บริษัท ง.สงวนสิทธิที่จะไม่รับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใด ๆ ก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผล..." ข้อความตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงให้สิทธิจำเลยในการพิจารณารับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นกรณี ๆ ไป และในการพิจารณาจำเลยอาจยกข้อต่อสู้ เช่น ได้มีการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นแล้ว หรือตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่มีมูลหนี้ตามกฎหมายขึ้นต่อสู้โจทก์หรือประชาชนผู้แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวได้ แต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้ก่อนที่จะมีการแสดงเจตนาสนองรับไปยังโจทก์ มิใช่ว่าจำเลยจะสามารถมีสิทธิปฏิเสธหรือยกเลิกการรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินในภายหลังได้เสมอ แม้จำเลยจะอ้างว่าต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยไม่อนุมัติให้จำเลยรับเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่อาจลบล้างสิทธิของโจทก์ที่ได้เกิดมีขึ้นแล้วได้ ประกาศของจำเลย ข้อ 2 นี้ จึงหาอาจทำให้จำเลยสามารถเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ในภายหลังได้แต่อย่างใด
ตามประกาศของจำเลย ข้อ 3 มีใจความว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยรับเปลี่ยนให้มีหลักการดังนี้ เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้และไม่มีดอกเบี้ย กับจะจ่ายเงินเท่ากับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่รับเปลี่ยนโดยทยอยจ่ายเงินคืนทุกปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี จะชำระคืนแต่ละงวดเท่ากับร้อยละ 10 ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน จนกว่าจะครบจำนวน ดังนี้การที่โจทก์แสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อจำเลยตามประกาศดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ย่อมต้องผูกพันตามข้อกำหนดและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามประกาศดังกล่าวดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้โดยมีจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ 500,000 บาท ปีละ 4 ฉบับมีกำหนดเวลา 10 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย สำหรับวันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับแรกจะเริ่มต้นนับตั้งแต่เมื่อใดนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน2530 แจ้งไปยังโจทก์ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้จำเลยรับแลกเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ได้ และให้โจทก์นำเอกสารต่าง ๆ ไปติดต่อจำเลยเพื่อดำเนินการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นของจำเลย โจทก์เพิ่งจะส่งเอกสารต่าง ๆ ไปให้จำเลยตามหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 จำเลยจึงต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่เปลี่ยนมือไม่ได้ 4 ฉบับแรก ฉบับละ 500,000 บาท โดยไม่มีดอกเบี้ย นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2532 เป็นต้นไป และทุกวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไปจนกว่าจะครบกำหนด 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัยบุคคลภายนอก: การตีความข้อยกเว้นความรับผิดต่อผู้โดยสารและผู้ขับขี่
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด 2 การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 2.2 มีข้อความว่า "ความรับผิดต่อผู้โดยสาร บริษัทจะใช้ค่าสินไหม-ทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย..." ข้อ 2.8 มีข้อความว่า "การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง..." ข้อ 2.11 มีข้อความว่า "การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ 2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย..." ตามข้อความในข้อ 2.2 และ ข้อ 2.8 ข้างต้น เป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลย ส่วนข้อ 2.11 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัด จะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 หาได้ไม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้ว ข้อ 2.11 มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือ ณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับ ณ.เท่านั้น น.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและ ร.ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.11 น.คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจาก ณ.ผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.8 เมื่อ ณ.ยินยอมให้ น.ยืมรถยนต์ของตนไปขับ และ น.ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ ร.ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.11 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย การตีความขอบเขตความคุ้มครอง และความรับผิดของผู้รับประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด2การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกข้อ2.2มีข้อความว่า"ความรับผิดต่อผู้โดยสารบริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย"ข้อ2.8มีข้อความว่า"การคุ้มครองผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง"ข้อ2.11มีข้อความว่า"การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย"ตามข้อความในข้อ2.2และข้อ2.8ข้างต้นเป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลยส่วนข้อ2.11เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัดจะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8หาได้ไม่ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายจ.3ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้วข้อ2.11มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับณ. เท่านั้นน. ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและร. ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.11น. คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากณ. ผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.8เมื่อณ. ยินยอมให้น. ยืมรถยนต์ของตนไปขับและน. ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ร. ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ2.11ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8461/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกเรื่องการหักภาษีอากร และการคิดดอกเบี้ยจากเงินที่รับเกิน
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการรับซื้อแร่ดีบุก ข้อ 6 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณราคาซื้อแร่ดีบุกสุทธิไว้ว่า (ก) ให้หักค่าถลุงจากราคาซื้อแร่ดีบุกเบื้องต้น (ข) หักค่ามลทินสกปรก (ค) หักออกเป็นเงินบาทมีจำนวนค่าเท่ากับภาษีทั้งมวล (ไม่รวมภาษีเงินได้และภาษีบำรุงท้องที่) และอากรทั้งมวลที่บริษัทผู้ถลุงหรือผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทย หรือหน่วยราชการใด ๆ โดยเหตุเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกในการถลุงโลหะดีบุกจากแร่ดีบุกและในการขายและการส่งออกนอกประเทศไทย ซึ่งโลหะดีบุกที่ผลิตได้จากแร่ดีบุก และ (ง) ราคาซื้อเบื้องต้นสำหรับแร่ดีบุกเมื่อหักรายการต่าง ๆ ที่คิดหักตามข้อ 6 (ก) (ข) และ (ค) แล้ว ก็เป็นราคาซื้อสุทธิ ดังนี้ข้อกำหนดและเงื่อนไขที่จะนำเงินภาษีอากรมาหักเพื่อคำนวณราคาซื้อสุทธิตามข้อ 6(ค) นั้นคือเงินที่ผู้ซื้อต้องเสียให้แก่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเนื่องในการซื้อแร่ดีบุกซึ่งมิได้กำหนดไว้ตายตัวแน่นอน แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าคือจำนวนที่รัฐบาลไทยหรือหน่วยราชการเรียกเก็บอยู่ในขณะที่มีการซื้อขายกัน ฉะนั้นเงินภาษีที่จะนำมาหักได้จึงต้องเป็นเงินที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องเสียตามจำนวนที่แท้จริง เมื่อมีประกาศกระทรวงการคลังลดค่าภาษีการค้าลงร้อยละ 2 ของค่าภาษีที่ต้องเสีย จำนวนที่ลดลงนี้ผู้ซื้อจึงไม่ต้องชำระ จะนำมาหักออกจากราคาซื้อเบื้องต้นไม่ได้ ข้อกำหนดและเงื่อนไขนี้ชัดแจ้งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงหรือเจตนารมณ์ของคู่สัญญามาประกอบการตีความ จำเลยในฐานะผู้ซื้อจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าแร่ดีบุกในส่วนที่ได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ของค่าภาษีการค้าคืนให้แก่โจทก์
เมื่อกรณีเป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการคำนวณหาราคาแร่ดีบุกสุทธิที่ซื้อขายกันอยู่ว่าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาควรเป็นอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลยย่อมไม่ทราบราคาที่ต้องคืนว่ามีจำนวนแน่นอนเป็นเท่าใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนตั้งแต่เมื่อใด อันจะถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกโดยให้ชำระเงินที่รับเกินไป ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
เมื่อกรณีเป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการคำนวณหาราคาแร่ดีบุกสุทธิที่ซื้อขายกันอยู่ว่าตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาควรเป็นอย่างไร ก่อนฟ้องจำเลยย่อมไม่ทราบราคาที่ต้องคืนว่ามีจำนวนแน่นอนเป็นเท่าใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระเงินคืนตั้งแต่เมื่อใด อันจะถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องถือว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยคืนเงินนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้ซื้อปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายแร่ดีบุกโดยให้ชำระเงินที่รับเกินไป ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้าในตลาดนัด: การจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับประเภทที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526 ข้อที่ 27 ระบุว่า ผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้น มีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาต แต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้ง เช่น ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด แต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้ เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้ แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้ว และได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วย เช่น กรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิต คือ ปลาเลี้ยง ปลาสวยงามต่าง ๆ ตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลา อุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วย ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2527 ข้อ 2 ประเภทแผงค้า (4) สัตว์มีชีวิตก็ดี ตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ระบุว่าประเภทสินค้า สัตว์มีชีวิตก็ดี มิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัด ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่ 2ว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ประเภทไว้ ณ สถานที่เดียวกัน ผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่ง ช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะ ดังนั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงาม และมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน