พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าแผงค้า-การเพิกถอนสิทธิ-การปฏิบัติตามระเบียบ-อำนาจคณะกรรมการตลาด
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526ข้อที่27ระบุว่าผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้นมีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้งเช่นได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสดแต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้วและได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วยเช่นกรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิตคือปลาเลี้ยงปลาสวยงามต่างๆตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลาอุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วยย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าวนอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่3)พ.ศ.2527ข้อ2ประเภทแผงค้า(4)สัตว์มีชีวิตก็ดีตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานครระบุว่าประเภทสินค้าสัตว์มีชีวิตก็ดีมิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นและตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่2ว่าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลายๆประเภทไว้ณสถานที่เดียวกันผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่งช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะดังนั้นการที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงามและมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่ การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลาดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าช่วงตามสัญญาหลัก: อายุสัญญาเช่าต้องสอดคล้องกับสิทธิที่ผู้ให้เช่าช่วงมี
ตามสัญญาก่อสร้างอาคารให้สิทธิแก่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าได้มีกำหนดเวลา 20 ปี นับแต่วันลงนามในสัญญาคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2513ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533 โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงต่อมาย่อมมีสิทธิการเช่าตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าว จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าได้เพียงเท่าระยะเวลาการเช่าที่ตนมีสิทธิและตามสัญญาจองอาคารระหว่างโจทก์จำเลยได้เท้าความถึงเรื่องที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทขึ้นบนที่ดินราชพัสดุโดยโจทก์ได้สิทธิเช่าช่วงมาจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ดังนี้ ตามสัญญาจองอาคารที่ระบุให้มีอายุการเช่า 20 ปี จึงย่อมเป็นที่เข้าใจระหว่างคู่สัญญาแล้วว่า หมายถึงอายุการเช่า 20 ปี ตามที่โจทก์มีสิทธิตามสัญญาก่อสร้างอาคาร หากให้เริ่มนับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาเช่ากันในภายหลังจะทำให้มีอายุการเช่ามากกว่า 20 ปี เกินกว่าสิทธิที่โจทก์ให้เช่าช่วงได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ขณะทำสัญญาจองอาคารโจทก์ยังไม่ได้รับสิทธิการเช่าต่ออีก 5 ปี เพิ่งได้รับสิทธิดังกล่าวในภายหลังเพราะเกิดมีกรณีพิพาทระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำให้การก่อสร้างล่าช้า วัสดุก่อสร้างเสียหายเพื่อชดเชยความเสียหายนี้กระทรวงการคลังจึงได้ขยายระยะเวลาการเช่าออกไปให้อีก 5 ปี ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลย จึงถือว่าอายุการเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่กระทำกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองอาคารสิ้นสุดลงเพียงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2533จำเลยจึงบังคับให้โจทก์ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยมีอายุ 20 ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่ามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าช่วงและระยะเวลาการเช่าตามสิทธิของผู้ให้เช่าช่วง โดยอิงตามสัญญาก่อสร้างและสัญญาเช่าเดิม
ตามสัญญาก่อสร้างอาคารใช้สิทธิแก่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าได้มีกำหนดเวลา20ปีนับแต่วันลงนามในสัญญาคือวันที่20พฤศจิกายน2513ถึงวันที่20พฤศจิกายน2533โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงต่อมาย่อมมีสิทธิการเช่าตามที่ระบุในสัญญาดังกล่าวจึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าได้เพียงเท่าระยะเวลาการเช่าที่ตนมีสิทธิและตามสัญญาจองอาคารระหว่างโจทก์จำเลยได้เท้าความถึงเรื่องที่โจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารพิพาทขึ้นบนที่ดินราชพัสดุโดยโจทก์ได้สิทธิเช่าช่วงมาจากเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราดังนี้ตามสัญญาจองอาคารที่ระบุให้มีอายุการเช่า20ปีจึงย่อมเป็นที่เข้าใจระหว่างคู่สัญญาแล้วว่าหมายถึงอายุการเช่า20ปีตามที่โจทก์มีสิทธิตามสัญญาก่อสร้างอาคารหากให้เริ่มนับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่มีการทำสัญญาเช่ากันในภายหลังจะทำให้มีอายุการเช่ามากกว่า20ปีเกินกว่าสิทธิที่โจทก์ให้เช่าช่วงได้ซึ่งเป็นไปไม่ได้ขณะทำสัญญาจองอาคารโจทก์ยังไม่ได้รับสิทธิการเช่าต่ออีก5ปีเพิ่งได้รับสิทธิดังกล่าวในภายหลังเพราะเกิดมีกรณีพิพาทระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำให้การก่อสร้างล่าช้าวัสดุก่อสร้างเสียหายเพื่อชดเชยความเสียหายนี้กระทรวงการคลังจึงได้ขยายระยะเวลาการเช่าออกไปให้อีก5ปีซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลยจึงถือว่าอายุการเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยที่กระทำกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาจองอาคารสิ้นสุดลงเพียงวันที่20พฤศจิกายน2533จำเลยจึงบังคับให้โจทก์ทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้จำเลยมีอายุ20ปีนับแต่วันทำสัญญาเช่ามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีผสมทุนทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องจำนวนเงินทุนทรัพย์และเจตนาการเช่าเริ่มต้นจากสัญญาจอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาดังนี้จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกันถ้าหากอุทธรณ์ประเด็นเรื่องขับไล่ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ4,000บาทหรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าห้องละ200บาทต่อเดือนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองส่วนที่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระนั้นต้องพิจารณาว่าเกิน50,000บาทหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าเป็นเงิน28,320บาทแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องเป็นจำนวนเงิน51,600บาทจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนเงิน23,280บาทเท่านั้นดังนั้นคงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมาในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน สัญญาจองอาคารข้อ5ระบุว่าเมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปดังนี้เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วและนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จโจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันทีจำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันทีหากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ4ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใดเพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้เมื่อจำเลยให้ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า10ปีจนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20ปีการทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกันแต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้วจึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญอายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาแบ่งพินัยกรรมและแผนที่สังเขป ต้องพิจารณาเจตนาจริงของคู่สัญญาเหนือถ้อยคำตามตัวอักษร
ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม (มาตรา 171 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ว่า "ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ท่านให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร" ดังนั้น ในการพิจารณาปัญหาว่าโจทก์จำเลยตกลงแบ่งที่ดินกันอย่างไรจึงต้องพิจารณาจากสัญญาแบ่งพินัยกรรม และแผนที่สังเขปแนบท้ายสัญญาที่คู่ความอ้างส่งเป็นพยานหลักฐานในคดีประกอบกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำกัดการเรียกหลักประกันจากนายประกัน และความรับผิดของตัวแทนในการประกันตัว
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 5 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติจำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 112 ในอันที่จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย แม้มิได้จดทะเบียนก็บังคับได้ หากมีหลักฐานเป็นหนังสือและชำระหนี้แล้ว
แม้สัญญาใช้คำว่า หนังสือสัญญาการซื้อขาย แต่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันว่า โจทก์ในฐานะผู้ซื้อยินยอมให้จำเลยพักอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทต่อไป หากโจทก์ต้องการเข้าพักอาศัยในบ้านพิพาทเมื่อใดจำเลยยินยอม ขนย้ายสิ่งของออกจากบ้านพิพาทภายใน 1 วัน หลังจากโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบและจำเลยจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทให้โจทก์ภายใน 3 วัน ดังนี้ย่อมเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ เพราะมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้ต้องรับผิด และมีการชำระหนี้แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง จำเลยฎีกาว่า ที่ดินปลูกบ้านพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ จำเลยเท่านั้นมีสิทธิการเช่าอยู่อาศัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบบ้านพิพาทให้เท่านั้น มิได้ฟ้องขอสิทธิการเช่าด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยออกไปจากที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้