พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรื่องเอกสารปลอม อายุความ 10 ปีนับจากคดีอาญาถึงที่สุด
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่นั้น ย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นเองว่าเป็นการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ โจทก์ฟ้องจำเลยในทางแพ่งขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายอันเนื่องมาจากจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอม ก็โดยอาศัยเหตุจากที่โจทก์เคยแจ้งความร้องทุกข์ให้อัยการศาลทหารฟ้องจำเลยคดีก่อนในทางอาญาเรื่องจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยและคดีถึงที่สุดแล้ว นับได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทกคดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังนั้น ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งที่ว่าจำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ฟังว่าจำเลยใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 เมื่อคดีอาญาถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาลงโทษจำเลยก่อนที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องคดีแพ่งย่อมมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32(มาตรา 168 เดิม) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคสามคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดวันที่ 28 เมษายน 2538 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2538ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาขาดอายุความ แม้ฟ้องล้มละลายก็ขอรับชำระหนี้ไม่ได้
หนี้ตามคำพิพากษาที่ผู้ร้องนำมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 เดิม แต่เจ้าหนี้ได้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวจึงขาดอายุความ และถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1) การที่เจ้าหนี้ได้ดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี และได้เงินมาบางส่วนแล้วนั้นไม่ใช่เป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีที่จะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง และแม้หนี้ตามคำพิพากษานั้นเจ้าหนี้ได้นำมาเป็นมูลฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วก็ตามก็ไม่ผูกพันศาลต้องถือตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกค่าภาษีอากร: เจตนาหลีกเลี่ยง vs. เหตุสุดวิสัย และการนับอายุความที่ถูกต้อง
อายุความในการเรียกค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 เป็นเรื่องอายุความเฉพาะกรณีที่กรมศุลกากรเรียกเงินอากรขาดเพราะเหตุตาม มาตรา 10 วรรคสาม แต่กรณีที่จำเลยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากร ซึ่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกค่าภาษีอากร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 167 เดิม คือสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิม ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจริงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1)และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความคดีอาญาถึงที่สุดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: บทเฉพาะกาล พ.ร.บ.อนุญาโตฯ 2530 ไม่กระทบสิทธิเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 168(เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้อง ของ จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ซึ่งมาตรา 227 มิใช่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2764/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย: คำพิพากษาเดิมเป็นหลักฐาน
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2524 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายวันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 ยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168(เดิม)และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย อาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาชั้นที่สุด อายุความสะดุดหยุดลงจากการบังคับคดี
ระยะเวลา 10 ปี ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความฟ้องร้องคดี เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง มูลหนี้ดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 หลังจากศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2522 แล้ว โจทก์ก็ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนมีการยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2523 ได้เงินชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนในวันดังกล่าว การดำเนินการชั้นบังคับคดีจนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2523 จึงเป็นการดำเนินการภายใน10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแพ่งซึ่งย่อมเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลา 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามคำพิพากษาตามยอม: 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลก็ดีโดยคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการก็ดี โดยประนีประนอมยอมความก็ดีท่านให้มีกำหนดอายุความสิบปี แม้ทั้งที่เป็นประเภทอันอยู่ในบังคับอายุความกำหนดน้อยกว่านั้นดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาตามยอมที่ถึงที่สุดซึ่งบังคับให้จำเลยที่ 2 จำต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความสิบปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตามคำพิพากษาตามยอม: นับจากวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด
จำเลยที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนแบ่งแยกที่พิพาทไม่เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาตามยอมที่ถึงที่สุดซึ่งบังคับให้จำเลยที่ 2จำต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงมีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 โดยนับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดเป็นต้นไป