พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17591-17594/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องพิจารณาทางเลือกอื่นก่อนเลิกจ้าง การลดต้นทุนไม่ใช่เหตุอันสมควร
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าจำเลยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย จำเลยจึงเลิกจ้างลูกจ้างจำนวน 7 คน ซึ่งรวมถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ด้วยเนื่องจากโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มีผลการทำงานย้อนหลัง 3 ปี ต่ำกว่ามาตรฐาน ขาดงาน ลาป่วย ลากิจ ละทิ้งหน้าที่จำนวนมาก และเคยถูกลงโทษทางวินัย ศาลแรงงานภาค 1 จดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวว่าการใช้สิทธิลาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไม่ทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างมีเหตุผลมาจากจำเลยต้องการลดจำนวนลูกจ้างเพื่อลดต้นทุนการผลิต การที่จำเลยนำเรื่องการทำงานของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มาพิจารณาเพื่อเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 จึงเป็นการเลือกปฏิบัติ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นการให้เหตุผลเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทนั้นแล้ว แม้ศาลแรงงานภาค 1 จะวินิจฉัยโดยให้เหตุผลรวบรัดไปบ้าง แต่ก็ได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงโดยสรุปและวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยครบถ้วน คำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 1 จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่ จำเลยอ้างเหตุว่าคำสั่งซื้อจากลูกค้าของจำเลยลดลงตั้งแต่กลางปี 2551 ทำให้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนและเป็นเหตุให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อความอยู่รอดของกิจการจำเลย นับจากเวลาที่คำสั่งซื้อลดลงจนถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มีระยะเวลาเพียงประมาณ 6 เดือน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พยายามใช้วิธีการอื่นใดปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายของจำเลยลงหรือให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไปช่วยทำงานในหน้าที่อื่นแต่อย่างใด การที่จำเลยเลือกใช้วิธีการเลิกจ้างในทันทีเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย โดยมิได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนการเลิกจ้าง เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จึงยังไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ได้ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การพิจารณาว่าการเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่ จำเลยอ้างเหตุว่าคำสั่งซื้อจากลูกค้าของจำเลยลดลงตั้งแต่กลางปี 2551 ทำให้กิจการของจำเลยประสบภาวะการขาดทุนและเป็นเหตุให้ต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อความอยู่รอดของกิจการจำเลย นับจากเวลาที่คำสั่งซื้อลดลงจนถึงวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 มีระยะเวลาเพียงประมาณ 6 เดือน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยได้พยายามใช้วิธีการอื่นใดปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือลดค่าใช้จ่ายของจำเลยลงหรือให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ไปช่วยทำงานในหน้าที่อื่นแต่อย่างใด การที่จำเลยเลือกใช้วิธีการเลิกจ้างในทันทีเพื่อลดค่าใช้จ่ายของจำเลย โดยมิได้มีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดก่อนการเลิกจ้าง เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยเพียงฝ่ายเดียว จึงยังไม่มีเหตุอันสมควรและเพียงพอที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 และที่ 6 ได้ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องแสดงเหตุผลอันสมควรและหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจน
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ได้กล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและไม่ปรากฏเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าเหตุใดจำเลยจึงต้องปรับลดหรือยุบแผนกในส่วนที่โจทก์ทำงาน มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดที่จะต้องเลิกจ้างโจทก์ จำเลยพยายามหางานในตำแหน่งเหมาะสมให้โจทก์ทำก่อนที่จะเลิกจ้างโจทก์หรือไม่ จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเลือกปฏิบัติหรือไม่ เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและข้อเท็จจริงในสำนวนยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยให้การว่าจำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน แต่นำสืบว่าจำเลยต้องการลดตำแหน่งงานโดยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน เท่ากับจำเลยยอมรับว่าจำเลยไม่ได้ยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน ที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่ามีการยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานจึงไม่ชอบ ดังนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน แต่จำเลยเลือกเลิกจ้างโจทก์เพียงคนเดียวจากลูกจ้างในหน่วยงาน 30 คน โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเหตุผล เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและข้อเท็จจริงในสำนวนยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยให้การว่าจำเป็นต้องยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน แต่นำสืบว่าจำเลยต้องการลดตำแหน่งงานโดยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน เท่ากับจำเลยยอมรับว่าจำเลยไม่ได้ยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน ที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่ามีการยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงานจึงไม่ชอบ ดังนั้นข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่ได้ยุบหน่วยงานที่โจทก์ทำงาน แต่จำเลยเลือกเลิกจ้างโจทก์เพียงคนเดียวจากลูกจ้างในหน่วยงาน 30 คน โดยไม่ปรากฏหลักเกณฑ์การคัดเลือกและเหตุผล เป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่คู่ความนำสู้กันเท่านั้น การวินิจฉัยเรื่องสิทธิอุทธรณ์นอกประเด็นเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบ
โจทก์ (ลูกจ้าง) ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ) จ่ายค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง และเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยด้วยการตัดเงินเดือนโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้เฉพาะผู้มาทำงาน โจทก์ไม่ได้ทำงานระหว่างพักงานเพื่อสอบสวน ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยเลี้ยง โจทก์กระทำความผิดจำเลยจึงลงโทษทางวินัยโจทก์ได้และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานเพื่อสอบสวนตามข้อบังคับของจำเลย ประเด็นแห่งคดีมีว่า ระหว่างพักงานจำเลยมีสิทธิไม่จ่ายเบี้ยเลี้ยงและค่าจ้างแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยหรือไม่ และโจทก์กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้จำเลยลงโทษโจทก์ตามคำสั่งลงโทษทางวินัยได้หรือไม่ เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินโดยอาศัยสิทธิในทางแพ่ง คู่ความไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจในการนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์หรืออำนาจในการออกคำสั่งของจำเลย
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยยกเหตุที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบ และจำเลยไม่ได้ระบุหลักเกณฑ์การอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์ทราบไว้ในคำสั่งลงโทษทางวินัยขึ้นอ้างแล้วพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยของจำเลย โดยให้จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิดังกล่าว จึงเป็นการนอกประเด็นและยังไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20513-20657/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับอัตราค่าจ้างตามมติ ครม. การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และการสืบพยานหลังการเปลี่ยนแปลงตัวผู้รับมอบอำนาจ
คำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดบรรยายว่า โจทก์ทั้งหมดมีสิทธิได้รับการปรับอัตราค่าจ้างและได้รับบำเหน็จในส่วนที่ขาดตามมติคณะรัฐมนตรีและบันทึกข้อตกลงซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหา โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีและบันทึกข้อตกลงนั้น ส่วนที่โจทก์แต่ละคนได้รับเงินเดือนในแต่ละปีจำนวนเท่าใด ถ้ามีการปรับค่าจ้างจะต้องใช้อัตราเงินเดือนใดในการคำนวณ และโจทก์แต่ละคนจะได้รับเงินตามฟ้องจำนวนเท่าใดนั้น เมื่อโจทก์ทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลย จำเลยย่อมมีข้อมูลเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบพิสูจน์กันในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลางได้ คำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ทั้งหมดฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงโดยการปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งจำเลยได้ปฏิบัติมาโดยตลอด เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างของโจทก์ทั้งหมดตามมติคณะรัฐมนตรี เงินที่โจทก์ทั้งหมดฟ้องให้จำเลยปรับอัตราค่าจ้างจึงยังไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
องค์การค้าของคุรุสภาโอนไปเป็นองค์การค้าของจำเลยตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 83 (1) องค์การค้าจึงเป็นหน่วยงานภายในส่วนหนึ่งของจำเลย มาตรา 82 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหน้าที่และพนักงานที่โอนไปเป็นของจำเลยได้รับตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งข้อบังคับคณะกรรมการของจำเลยว่าด้วยการบริหารสำนักงาน พ.ศ.2547 ข้อ 31 (9) กำหนดให้โอนบรรดาส่วนงาน กิจการ เงิน ทรัพย์สิน หนี้ อัตรากำลังพนักงานเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ (องค์การค้าของคุรุสภา) ให้ไปเป็นขององค์การค้าของจำเลย ข้อ 32 กำหนดว่าบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หนังสือสัญญา หรือสิ่งอื่นใดที่อ้างถึงองค์การค้าของคุรุสภาหรือศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ก่อนการใช้ข้อบังคับนี้ให้ถือว่าอ้างถึงองค์การค้าของจำเลย เมื่อองค์การค้าของคุรุสภาได้ให้สิทธิประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของตนด้วยการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาครั้งที่ 15/2537 โดยปรับขึ้นค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีให้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของคุรุสภาตลอดมา การปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นสภาพการจ้างโดยปริยาย จำเลยย่อมจะต้องรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ทั้งหมดยังคงมีสิทธิในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายตามมาตรา 82 วรรคสอง เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานของจำเลยโดยไม่ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยตามที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมาย่อมไม่เป็นธรรมและไม่เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย
มติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับค่าจ้างแก่ลูกจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นลูกจ้างอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงอนุมัติ หาใช่ให้ปรับค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วในวันที่มติคณะรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับไม่ การปรับค่าจ้างให้เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยซึ่งนำหลักการของมติคณะรัฐมนตรีมาปรับใช้ย่อมต้องเป็นไปตามหลักการนั้นด้วย ดังนั้นโจทก์ที่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่เพียงแต่พิพากษาให้จำเลยปรับขึ้นค่าจ้างและจ่ายบำเหน็จส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์แต่ละคนในแต่ละช่วงเวลาตามสิทธิ โดยให้เป็นไปตามหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้ง และให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดสิทธิ จำเลยสามารถนำหลักการตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางไปเป็นหลักในการคิดคำนวณและดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เมื่อคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้กล่าวและแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยครบถ้วนจึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แล้ว
การที่จำเลยทราบถึงความมรณะของโจทก์ที่ 119 แล้วยื่นคำคัดค้านแต่เพียงว่าทนายความโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องและไม่รับรองความเป็นทนายของ อ. บุตรของโจทก์ที่ 119 โดยไม่ได้คัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบของศาลแรงงานกลาง ทั้งยังคงเข้าทำหน้าที่ของตนในวันนัดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์ต่อเนื่องกันมา จนกระทั่งศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ อ. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 119 ได้ จำเลยจึงยื่นคำร้องคัดค้านว่าศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 42 เป็นกรณีที่จำเลยทราบถึงกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แล้วยังคงดำเนินการในหน้าที่ของตนต่อไป เท่ากับจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นแล้ว จึงไม่อาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางในส่วนของโจทก์ที่ 119 ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เงินที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับอันเนื่องมาจากการปรับอัตราค่าจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย เงินนั้นยังไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง มิใช่ค่าจ้างที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการปรับอัตราค่าจ้างและเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดในวันใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้องของโจทก์แต่ละคน ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
โจทก์ทั้งหมดฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงโดยการปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งจำเลยได้ปฏิบัติมาโดยตลอด เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อจำเลยยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างของโจทก์ทั้งหมดตามมติคณะรัฐมนตรี เงินที่โจทก์ทั้งหมดฟ้องให้จำเลยปรับอัตราค่าจ้างจึงยังไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
องค์การค้าของคุรุสภาโอนไปเป็นองค์การค้าของจำเลยตาม พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มาตรา 83 (1) องค์การค้าจึงเป็นหน่วยงานภายในส่วนหนึ่งของจำเลย มาตรา 82 วรรคสอง บัญญัติให้เจ้าหน้าที่และพนักงานที่โอนไปเป็นของจำเลยได้รับตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ ทั้งข้อบังคับคณะกรรมการของจำเลยว่าด้วยการบริหารสำนักงาน พ.ศ.2547 ข้อ 31 (9) กำหนดให้โอนบรรดาส่วนงาน กิจการ เงิน ทรัพย์สิน หนี้ อัตรากำลังพนักงานเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ (องค์การค้าของคุรุสภา) ให้ไปเป็นขององค์การค้าของจำเลย ข้อ 32 กำหนดว่าบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หนังสือสัญญา หรือสิ่งอื่นใดที่อ้างถึงองค์การค้าของคุรุสภาหรือศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ก่อนการใช้ข้อบังคับนี้ให้ถือว่าอ้างถึงองค์การค้าของจำเลย เมื่อองค์การค้าของคุรุสภาได้ให้สิทธิประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ของตนด้วยการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาครั้งที่ 15/2537 โดยปรับขึ้นค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีให้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของคุรุสภาตลอดมา การปฏิบัติดังกล่าวจึงเป็นสภาพการจ้างโดยปริยาย จำเลยย่อมจะต้องรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว และโจทก์ทั้งหมดยังคงมีสิทธิในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายตามมาตรา 82 วรรคสอง เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานของจำเลยโดยไม่ปรับขึ้นค่าจ้างให้แก่เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยตามที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมาย่อมไม่เป็นธรรมและไม่เป็นไปตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย
มติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจปรับค่าจ้างแก่ลูกจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ยังมีสภาพเป็นลูกจ้างอยู่ในวันที่คณะรัฐมนตรีลงอนุมัติ หาใช่ให้ปรับค่าจ้างแก่ลูกจ้างที่พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างไปแล้วในวันที่มติคณะรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับไม่ การปรับค่าจ้างให้เจ้าหน้าที่ขององค์การค้าของจำเลยซึ่งนำหลักการของมติคณะรัฐมนตรีมาปรับใช้ย่อมต้องเป็นไปตามหลักการนั้นด้วย ดังนั้นโจทก์ที่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยไปก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจึงไม่มีสิทธิได้รับการปรับอัตราค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่เพียงแต่พิพากษาให้จำเลยปรับขึ้นค่าจ้างและจ่ายบำเหน็จส่วนที่ขาดให้แก่โจทก์แต่ละคนในแต่ละช่วงเวลาตามสิทธิ โดยให้เป็นไปตามหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีแต่ละครั้ง และให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดสิทธิ จำเลยสามารถนำหลักการตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางไปเป็นหลักในการคิดคำนวณและดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ เมื่อคำพิพากษาศาลแรงงานกลางได้กล่าวและแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยครบถ้วนจึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แล้ว
การที่จำเลยทราบถึงความมรณะของโจทก์ที่ 119 แล้วยื่นคำคัดค้านแต่เพียงว่าทนายความโจทก์ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องและไม่รับรองความเป็นทนายของ อ. บุตรของโจทก์ที่ 119 โดยไม่ได้คัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบของศาลแรงงานกลาง ทั้งยังคงเข้าทำหน้าที่ของตนในวันนัดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์ต่อเนื่องกันมา จนกระทั่งศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ อ. เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 119 ได้ จำเลยจึงยื่นคำร้องคัดค้านว่าศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 42 เป็นกรณีที่จำเลยทราบถึงกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ แล้วยังคงดำเนินการในหน้าที่ของตนต่อไป เท่ากับจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นแล้ว จึงไม่อาจยกกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างว่าคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางในส่วนของโจทก์ที่ 119 ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
เงินที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิที่จะได้รับอันเนื่องมาจากการปรับอัตราค่าจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย เงินนั้นยังไม่มีสภาพเป็นค่าจ้าง มิใช่ค่าจ้างที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แต่เป็นหนี้เงินที่คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เท่านั้น
เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินที่ได้จากการปรับอัตราค่าจ้างและเงินบำเหน็จส่วนที่ขาดในวันใด จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้องของโจทก์แต่ละคน ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8631/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการโต้แย้งคำพิพากษาศาลแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 123 วรรคหนึ่ง เป็นการให้สิทธิลูกจ้างเลือกที่จะนำคดีเสนอต่อศาลแรงงานหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ทางใดทางหนึ่ง หากลูกจ้างเลือกที่จะใช้สิทธิทางใดแล้วก็จะต้องดำเนินการในทางนั้นจนสุดสิ้นกระบวนการ ไม่อาจใช้สิทธิในอีกทางหนึ่งควบคู่ไปด้วยได้ การเลือกที่จะใช้สิทธิของลูกจ้างดังกล่าวย่อมเป็นไปตามความประสงค์ของลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงาน โดยระบุในคำร้องว่าประสงค์จะเรียกร้องเพียงค่าจ้างและค่าชดเชย จำเลยที่ 1 จึงต้องสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งเฉพาะเรื่องค่าจ้างและค่าชดเชยตามความประสงค์ของโจทก์ แต่ในส่วนของสินจ้างแทนการบอกกล่าวที่ล่วงหน้านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการ จำเลยที่ 1 จึงมิจำต้องสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคำสั่งในเรื่องดังกล่าว อันเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 124 แล้ว
โจทก์มิได้ฟ้องเพียงแต่ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 เท่านั้น แต่ยังได้ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยที่ 2 และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ในส่วนที่เกี่ยวกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่เรียกร้องโดยตรงต่อจำเลยที่ 2 จึงมิใช่สิทธิได้รับเงินที่โจทก์เลือกดำเนินการต่อพนักงานตรวจแรงงานที่จะต้องดำเนินการจนสุดสิ้นกระบวนการแต่เป็นการฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 โดยตรง เมื่อศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่า จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและดอกเบี้ยได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 ที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ถูกเลิกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย พร้อมกับฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานภาค 8 จะต้องพิพากษาจึงมีว่า มีเหตุเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค 8 ว่าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ โดยไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 และไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 17 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ จึงได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 1 ในส่วนของค่าชดเชยอันมีผลเป็นการทำลายคำสั่งจำเลยที่ 1 ที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ถูกเลิกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย และในส่วนของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ไม่ปรากฏในคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ศาลแรงงานภาค 8 พิพากษาโดยให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดและจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ แล้ว
ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 มานานกว่า 10 ปี โดยโจทก์มีความสัมพันธ์เป็นญาติใกล้ชิดกันกับหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 การจ่ายเงินเดือนก็ทำเพียงนำเงินสดใส่ซองมอบให้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินเดือนประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ให้โจทก์ตามกำหนดและโจทก์กับพี่ชายของจำเลยที่ 2 มีสาเหตุโกรธเคืองกันและมีเหตุการณ์ยกเลิกหนังสือมอบอำนาจการไม่อนุญาตให้ใช้รถกระบะ การไม่ชำระค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ ตลอดจนการเปลี่ยนกุญแจทางขึ้นห้องพักที่สอดรับกับการไม่จ่ายเงินเดือน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างอีกต่อไปจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกเอาบางส่วนของคำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค 8 มาแปลความว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ ถือว่าเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 8 เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
โจทก์มิได้ฟ้องเพียงแต่ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 125 เท่านั้น แต่ยังได้ฟ้องนายจ้างเป็นจำเลยที่ 2 และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ในส่วนที่เกี่ยวกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่เรียกร้องโดยตรงต่อจำเลยที่ 2 จึงมิใช่สิทธิได้รับเงินที่โจทก์เลือกดำเนินการต่อพนักงานตรวจแรงงานที่จะต้องดำเนินการจนสุดสิ้นกระบวนการแต่เป็นการฟ้องบังคับแก่จำเลยที่ 2 โดยตรง เมื่อศาลแรงงานภาค 8 เห็นว่า จำเลยที่ 2 เลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงพิพากษาให้จำเลยที่ 2 จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและดอกเบี้ยได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 ที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ถูกเลิกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย พร้อมกับฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้จ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย ประเด็นแห่งคดีที่ศาลแรงงานภาค 8 จะต้องพิพากษาจึงมีว่า มีเหตุเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานจำเลยที่ 1 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายแก่โจทก์หรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามคำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค 8 ว่าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ โดยไม่เข้ากรณีหนึ่งกรณีใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 และไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ทราบตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 17 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ จึงได้พิพากษาเพิกถอนคำสั่งจำเลยที่ 1 ในส่วนของค่าชดเชยอันมีผลเป็นการทำลายคำสั่งจำเลยที่ 1 ที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ถูกเลิกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย และในส่วนของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ไม่ปรากฏในคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ศาลแรงงานภาค 8 พิพากษาโดยให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดและจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ แล้ว
ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 มานานกว่า 10 ปี โดยโจทก์มีความสัมพันธ์เป็นญาติใกล้ชิดกันกับหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 การจ่ายเงินเดือนก็ทำเพียงนำเงินสดใส่ซองมอบให้ แต่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินเดือนประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ให้โจทก์ตามกำหนดและโจทก์กับพี่ชายของจำเลยที่ 2 มีสาเหตุโกรธเคืองกันและมีเหตุการณ์ยกเลิกหนังสือมอบอำนาจการไม่อนุญาตให้ใช้รถกระบะ การไม่ชำระค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ ตลอดจนการเปลี่ยนกุญแจทางขึ้นห้องพักที่สอดรับกับการไม่จ่ายเงินเดือน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์จะให้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างอีกต่อไปจึงเลิกจ้างโจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ยกเอาบางส่วนของคำวินิจฉัยของศาลแรงงานภาค 8 มาแปลความว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ ถือว่าเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาของศาลแรงงานภาค 8 เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5921/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องพิสูจน์ความผิดของลูกจ้างตามข้อบังคับและกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิด ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงิน จำเลยจึงตักเตือนเป็นหนังสือ แต่โจทก์กลับกระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาโดยระบุเหตุผลในการเลิกจ้างให้โจทก์ทราบแล้ว การกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง เป็นการทุจริตและกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ซึ่งศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุงาน อัตราค่าจ้างสุดท้าย และการกระทำของโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กระทำผิด ตลอดจนวันที่จำเลยบอกเลิกจ้างและวันที่การเลิกจ้างมีผล อันเป็นข้อเท็จจริงที่ใช้เป็นหลักในการวินิจฉัยเกี่ยวกับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมครบถ้วน แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่สามารถหาหลักฐานยืนยันได้ว่าโจทก์กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องเงินซ้ำอีก จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดดังที่จำเลยอ้าง การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายให้พร้อมทั้งวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิและจำนวนค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามกฎหมายครบทุกประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะรวบรัดไปบ้าง แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยโดยชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4032/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย เหตุจากไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงและให้เหตุผลไม่เพียงพอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิด และเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างร้ายแรง กระทำผิดซ้ำหนังสือเตือน ละทิ้งหน้าที่ ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย จำเลยมีเหตุที่จะเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ ส่วนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำผิดของโจทก์ ศาลแรงงานกลางอ้างถึงหนังสือเลิกจ้างที่จำเลยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิด หลายประการ แต่ไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงตามข้อกล่าวหานั้นว่า โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ กระทำผิดอะไร ที่ไหน เมื่อใด อย่างไร โดยศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงอื่นประกอบ แล้ววินิจฉัยคลุมไปที่เดียวว่า การกระทำของโจทก์ไม่น่าเป็นการกระทำผิดหากจะเป็นความผิดก็มิใช่ความผิดที่ร้ายแรงพอที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ และฟังไม่ได้ว่าโจทก์ไม่เชื่อฟังหรือดื้อดึง ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาอันเป็นกรณีร้ายแรงหรือเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นคำสั่งเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใด คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งยกคำพิพากษา ศาลแรงงานกลางเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676-5677/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้าง การพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการยกเหตุขัดคำสั่งเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
แม้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงสองข้อ คือ ข้อ 1. โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ และข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ เพียงใด แต่คำให้การของจำเลยนอกจากจะทำให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่แล้ว จำเลยยังให้การว่าโจทก์ยังฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงอีกด้วย ดังนั้นในประเด็นข้อ 2. นอกจากจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่แล้วยังต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้องบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของจำเลยหรือไม่ด้วยเมื่อศาลแรงงานพิพากษาคดีโดยมิได้วินิจฉัยในประเด็นหลัง จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง แต่ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังเป็นยุติธรรมมาแล้วเพียงพอที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวได้ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นนี้เสียเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยอีก
ตามคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม และมาตรา 119 ข้อห้ามดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะไม่ให้นายจ้างยกขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ในคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์จะอ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยก็สามารถยกเหตุว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยขึ้นต่อสู้ในภายหลังเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ได้
การที่โจทก์ทำการตรวจซ่อมรถให้แก่ผู้อื่นในเต็นท์หลังศูนย์บริการของจำเลย ย่อมมีเหตุอันควรที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานอยู่ในศูนย์บริการของจำเลยแห่งเดิมอีกต่อไป การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่สาขาอื่นไม่ปรากฏว่ามีการลดตำแหน่งและเงินเดือนของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
ตามคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยยกเหตุอื่นเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม และมาตรา 119 ข้อห้ามดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะไม่ให้นายจ้างยกขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้น ไม่รวมถึงสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ในคำสั่งที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์จะอ้างเหตุเลิกจ้างเพียงเหตุเดียวว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยก็สามารถยกเหตุว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยขึ้นต่อสู้ในภายหลังเพื่อไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ได้
การที่โจทก์ทำการตรวจซ่อมรถให้แก่ผู้อื่นในเต็นท์หลังศูนย์บริการของจำเลย ย่อมมีเหตุอันควรที่จำเลยจะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานอยู่ในศูนย์บริการของจำเลยแห่งเดิมอีกต่อไป การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปทำงานที่สาขาอื่นไม่ปรากฏว่ามีการลดตำแหน่งและเงินเดือนของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583