พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นส่วนราชการ, การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติ, และความรับผิดชอบการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา68เดิมที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่านิติบุคคลนั้นจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นเมื่อไม่ปรากฎว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่2และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่4มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใดจำเลยที่2และที่4จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานครจำเลยที่1และกรมที่ดินจำเลยที่3ตามลำดับเท่านั้นไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่2และที่4 แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดินในคดีนี้แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่3หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61ดังนั้นจำเลยที่3ในฐานะที่เป็นกรมย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3 การที่วัดโจทก์ยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพในขณะนั้นขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวงซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)การอุทิศเช่นว่านี้ย่อมมีได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121มาตรา7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ.2477มาตรา3อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นเพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4374/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องนิติบุคคล, การอุทิศที่ดินเป็นทางสาธารณะ, และความรับผิดชอบของกรมที่ดินในการออกโฉนด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 68(เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีบัญญัติว่า นิติบุคคลนั้น จะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งบทบัญญัติทั้งหลายของประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายใดบัญญัติให้สำนักงานเขตพระนครจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีฐานะเป็นนิติบุคคลแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 จึงเป็นเพียงส่วนราชการในสังกัดของกรุงเทพมหานคร จำเลยที่1 และกรมที่ดินจำเลยที่ 3 ตามลำดับเท่านั้น และไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
การที่พระธรรมปาโมกข์รักษาการแทนเจ้าอาวาสโจทก์ในขณะนั้นยินยอมให้เทศบาลนครกรุงเทพ (จำเลยที่1 ในขณะนั้น) ขยายถนนอัษฎางค์เข้าไปในเขตที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตก เป็นกรณีที่วัดยินยอมให้มีการขยายเขตถนนเดิมซึ่งเป็นทางหลวงอยู่แล้วเข้าไปในที่วัดถือได้ว่าโจทก์ได้อุทิศที่ดินส่วนนี้โดยปริยายให้เป็นทางหลวง ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) และการอุทิศเช่นนี้ย่อมมีได้ ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7แก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 มาตรา 3 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เพราะกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดห้ามไว้ไม่ที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกส่วนที่ขยายเป็นถนนอัษฎางค์จึงเป็นทางสาธารณะ
แม้เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครจะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการออกโฉนดที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครก็เป็นข้าราชการที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมที่ดินจำเลยที่ 3 หากดำเนินการออกโฉนดที่ดินตลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างใดอธิบดีกรมที่ดินหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นกรม ย่อมถูกฟ้องเป็นจำเลยเพื่อให้รับผิดชอบดำเนินการในเรื่องการออกโฉนดที่ดินได้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในฮ่องกง, เอกสารมอบอำนาจ, และสิทธิในการรับเงินค่าปรับ
แม้โจทก์จะมิได้กล่าวในฟ้องว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครอบแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทย แต่โจทก์ได้กล่าวในฟ้องแล้วว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษซึ่งใช้บังคับไปถึงเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฯลฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยย่อมมีความหมายว่ากฎหมายของเมืองฮ่องกงได้ให้ความคุมครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศไทยแล้ว ส่วนภาพยนตร์ตามฟ้องที่อ้างว่าเป็นงานสร้างสรรค์ที่เป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายเมืองฮ่องกงกำหนดไว้นั้นเป็นกฎหมายอะไร บัญญัติขึ้นเมื่อไร และประกาศใช้เมื่อใดที่ไหนนั้น ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การไม่กล่าวไว้ในคำฟ้องถึงรายละเอียดดังกล่าวหาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา158 (5) แล้ว
เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่ จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญาและไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใด โจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
เอกสารสำคัญที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา47 วรรคสาม จะต้องเป็นเอกสารที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นเอกสารอันแท้จริงหรือไม่ จึงให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้คู่ความนั้นยื่นเอกสารตามวิธีการในวรรคสาม เมื่อศาลไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัย ทั้งมิได้นำสืบปฏิเสธความเป็นนิติบุคคลของโจทก์ร่วม ประกอบกับโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง และโจทก์ร่วมได้แนบเอกสารแสดงความเป็นนติบุคคลของโจทก์ร่วมมาท้ายคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เท่ากับยอมรับว่าโจทก์ร่วมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามคำฟ้องแล้ว
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ร่วมทำขึ้นที่เมืองฮ่องกงอันเป็นเมืองที่มีกงสุลไทยประจำอยู่ แม้กงสุลไทยมิได้รับรองความถูกต้องของเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 47 แต่โจทก์มีกรรมการบริษัทผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมเป็นพยานเบิกความว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดี โดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้าง ศาลก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยและจำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่าเอกสารนั้นมิใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่มีเหตุต้องวินิจฉัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นได้ทำถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม หรือไม่ฟังได้ว่า โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษาจำนวนกึ่งหนึ่งเพื่อบรรเทาความเสียหายและให้ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งส่วนหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติพิเศษซึ่งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องในคดีอาญาและไม่มีกฎหมายใดบังคับให้โจทก์ต้องระบุขอเงินค่าปรับดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องคดีอาญาแต่อย่างใด โจทก์ร่วมผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งแม้โจทก์จะมิได้ขอไว้ในคำขอท้ายฟ้อง