คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. 46 วรรคท้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดของลูกจ้าง แม้บอกกล่าวล่วงหน้าก็ถือว่าไม่เป็นธรรม
กรณีจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่ เมื่อโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ทั้งเหตุแห่งการเลิกจ้างก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างว่าเป็นนโยบายของจำเลยที่จะลดค่าใช้จ่ายเท่านั้น การเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดโดยอ้างเหตุดังกล่าว แม้จำเลยจะได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ก็เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2536 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม2536 ขณะที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2540 และเกิดกรณีพิพาทขึ้นจนเป็นมูลเหตุให้โจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะทำสัญญาจ้างได้ถูกยกเลิกและใช้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) บังคับแทนแล้ว จึงต้องนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) ที่ใช้บังคับอยู่ขณะเลิกจ้างมาบังคับใช้แก่คดีนี้เพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะงานต่อเนื่องไม่เข้าข้อยกเว้นค่าชดเชย: แม้งานมีกำหนดเวลา แต่หากเป็นงานต่อเนื่องตลอดปี ไม่ถือเป็นงานครั้งคราวตามกฎหมาย
งานหลักของจำเลยคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ จำเลยให้โจทก์ทั้งสามทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของจำเลยและลักษณะงานที่โจทก์ทำไม่แตกต่างไปจากงานของลูกจ้างที่จำเลยจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของจำเลยมีต่อเนื่องกันไปตลอดปี ลักษณะของงานที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามนั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ แต่เป็นงานที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปโดยตลอด ดังนั้น แม้จำเลยจะให้โจทก์ทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามหมดสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่
แม้โจทก์ทั้งสามจะกล่าวในฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยไม่ปรากฎสาเหตุ แต่จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ทั้งสาม เพราะจำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามเพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ มีการทำสัญญาจ้างเป็นหนังสือกำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาไว้ จึงมีประเด็นพิพาทเกิดขึ้นตามคำฟ้องและคำให้การว่า งานที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งสามทำนั้นมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาลหรือเป็นงานตามโครงการหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องและไม่ขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความ