คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทรงศิลป์ ธรรมรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13985/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานโจทก์พิรุธและขัดแย้งกัน ศาลยกฟ้องคดียาเสพติดเนื่องจากความน่าสงสัยในพยานหลักฐาน
แม้อุทธรณ์ของจำเลยจะไม่ปรากฏว่าจำเลยอุทธรณ์โต้แย้งในข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน 202 เม็ด มาส่งมอบให้แก่ ศ. หรือไม่ จึงยกฟ้องโจทก์ในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 202 เม็ดดังกล่าว กับข้อหาต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน 202 เม็ดดังกล่าว จึงเป็นข้อเท็จจริงเดียวที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในเรื่องนี้ร้อยตำรวจเอก ณ. เบิกความว่า ขณะพยานกับพวกเข้าจับกุมจำเลย จำเลยไม่ยอมให้จับกุมและใช้มือทั้งสองข้างชกต่อย โดยพยานถูกชกต่อยที่บริเวณหน้าอก และจ่าสิบตำรวจ ช. เบิกความว่าถูกชกต่อยที่บริเวณใบหน้า แต่ไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานใด ๆ ว่าพยานทั้งสองได้รับบาดเจ็บ ซึ่งถ้าถูกจำเลยชกต่อยจริง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าน่าจะมีร่องรอยผิวหนังถลอกหรือฟกช้ำบ้าง ตรงกันข้ามกับจำเลยที่มีบาดแผลฟกช้ำทั่วไปตามร่างกาย พูดไม่ได้ มีลักษณะปากแข็งเกร็งและมีรอยฟกช้ำบริเวณแขนและขา จากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมาจึงมีความสงสัยตามสมควรเช่นเดียวกันว่า จำเลยได้กระทำความผิดข้อหานี้หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13360/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนของคนพิการ ศาลฎีกาตัดสินให้มีความผิดฐานฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
การที่จำเลยกับพวกมีการวางแผนและตระเตรียมอาวุธไปพร้อมตีทำร้ายผู้ตายหลายครั้งทั้งที่ผู้ตายเป็นคนพิการไม่มีทางต่อสู้ได้ จนได้รับบาดแผลและถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล และเป็นการไตร่ตรองไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11783/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการลักทรัพย์ในห้างสรรพสินค้า: ประมาทเลินเล่อของผู้เสียหายและผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่ตั้งแต่เวลาห้างจำเลยที่ 1 ปิดบริการเป็นต้นไป คือ ตั้งแต่เวลา 22 นาฬิกา จนถึง 10 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น ซึ่งหากในช่วงดังกล่าวมีทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่หายไป จำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบแก่ผู้เช่าพื้นที่ แสดงว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 มีความเข้าใจในข้อสัญญาดังกล่าวตรงกันบางส่วนว่า ในเวลาที่ห้างจำเลยที่ 1 เปิดทำการ โจทก์ทั้งสองจะต้องรับผิดชอบดูแลรักษาทรัพย์สินด้วยตนเอง หากเกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ว่าด้วยเหตุประการใดก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในช่วงเวลาที่ห้างจำเลยที่ 1 ปิดทำการ จำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบในความสูญหายของทรัพย์สินโจทก์ทั้งสอง สำหรับข้อที่ไม่ตรงกันนั้นโจทก์ทั้งสองอ้างว่า ความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เริ่มแต่เมื่อโจทก์ทั้งสองปิดร้านให้บริการแล้วด้วย เห็นว่า วันใดที่โจทก์ทั้งสองไม่เปิดร้านให้บริการก็ดี หรือเปิดร้านให้บริการแล้ว แต่ปิดร้านก่อนถึงเวลาห้างจำเลยที่ 1 ปิดทำการตามปกติ ซึ่งยังเป็นช่วงเวลาที่อาจมีร้านค้าอื่นยังไม่ปิดบริการ ยังมีประชาชนเข้าออกในการจับจ่ายซื้อของหรือยังมีพนักงานของร้านค้าต่าง ๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่เช่าของตน จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถควบคุมพื้นที่ทุกส่วนของห้างได้เด็ดขาดเพราะยังมีประชาชนเดินเข้าออกอยู่ภายในห้าง ซึ่งง่ายแก่การที่มิจฉาชีพจะแอบแฝงตัวเข้ามาโจรกรรมทรัพย์สินของร้านค้าต่าง ๆ ได้โดยไม่ผิดสังเกต ผิดกับช่วงเวลาที่ห้างปิดทำการแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 จะไม่อนุญาตให้ผู้เช่าพื้นที่ทุกรายรวมทั้งบุคคลภายนอกอยู่หรือเข้าไปภายในห้างได้ จึงเป็นความรับผิดของจำเลยที่ 1 เมื่อทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่สูญหายไป ดังนี้ ช่วงเวลาที่โจทก์ทั้งสองปิดร้านก่อนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 ปิดห้างตามปกติ จึงเป็นความรับผิดของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเอง ข้อตกลงที่ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในช่วงเวลาที่ห้างเปิดทำการ จึงไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เอาเปรียบโจทก์ทั้งสองเกินสมควร จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและบังคับกันได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11637/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทไม่ใช่หลักฐานการกู้ยืม หากไม่มีพยานหลักฐานยืนยันการกู้ยืม และมีข้อพิรุธในรายละเอียดของสัญญา
เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับมิได้มีคำว่ากู้หรือยืมเลย และอ่านข้อความในเช็คพิพาททั้งหมดก็ไม่มีข้อความใดเลยที่ส่อแสดงให้รู้ได้ว่าเป็นการกู้ยืมเงินกัน อีกทั้งสภาพของเช็คก็เป็นการใช้เงิน ไม่ใช่การกู้หรือยืมเงิน เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับจึงมิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10317/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับบุริมสิทธิหนี้ค่าส่วนกลาง: ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18(2) พ.ร.บ.อาคารชุด มีบุริมสิทธิก่อนเจ้าหนี้จำนอง
พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 (เดิม) วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษา และการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 และมาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้อันเกิดจากค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ให้นิติบุคคลอาคารชุดมีบุริมสิทธิ ดังนี้ (1) บุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 259 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของห้องชุดนั้นนำมาไว้ในห้องชุดของตน (2) บุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ให้ถือว่าเป็นบุริมสิทธิในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิตามมาตรา 273 (1) แห่ง ป.พ.พ. และมีอยู่เหนือทรัพย์ส่วนบุคคลของแต่ละเจ้าของห้องชุด วรรคสอง บัญญัติว่า บุริมสิทธิตาม (2) ถ้าผู้จัดการได้ส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ถือว่าอยู่ในลำดับก่อนจำนอง เห็นได้ว่า เฉพาะบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตาม มาตรา 18 วรรคสอง เท่านั้นที่มีอยู่เหนือห้องชุดของลูกหนี้ และบุริมสิทธิค่าใช้จ่ายส่วนนี้ หากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดได้ส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ให้ถือว่าอยู่ในลำดับก่อนเจ้าหนี้จำนอง สำหรับบุริมสิทธิเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง เป็นสิทธิของนิติบุคคลอาคารชุดที่มีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของห้องชุดนำมาไว้ในห้องชุดของตน ดังนี้ในกรณีที่นิติบุคคลอาคารชุดจะบังคับชำระหนี้ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง เอาจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นห้องชุดของลูกหนี้ นิติบุคคลอาคารชุดมีฐานะเป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญ ไม่มีบุริมสิทธิเหนือห้องชุดของลูกหนี้ แม้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะได้ส่งรายการหนี้ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิได้รับชำระหนี้จากห้องชุดนั้นก่อนเจ้าหนี้จำนอง
รายการหนี้ค่าใช้จ่ายที่โจทก์ส่งให้เจ้าพนักงานที่ดินเป็นยอดหนี้รวมของค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยไม่ได้แยกให้เห็นว่า จำเลยเป็นหนี้ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง จำนวนเท่าใด อันจะก่อให้เกิดบุริมสิทธิเหนือห้องชุดของจำเลยก่อนหนี้จำนอง แต่เมื่อเป็นค่าใช้จ่ายปกติที่เกิดขึ้นในทุกเดือน และโดยสภาพประมาณได้ว่าไม่น่าจะน้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบให้ได้ความชัดแจ้งถึงจำนวนหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดให้เพียงกึ่งหนึ่งของหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้บุริมสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนหนี้จำนองของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9743/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติด: การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน มีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 0.110 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ศาลจะลงโทษบทใดบทหนึ่งก็ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือฐานเสพและจำหน่ายยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อขณะจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก หรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล พนักงานสอบสวนต้องนำตัวจำเลยขณะเป็นผู้ต้องหาไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด การที่พนักงานสอบสวนดำเนินการฝากขังตลอดมาและพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5010/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์โดยตรง การยกข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นมาโต้แย้งไม่ถือเป็นการฎีกา
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง วางหลักสำคัญในการฎีกาว่า ฎีกาจะต้องคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยแสดงข้อคัดค้านด้วยการคัดลอกข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกล่าวไว้ในทางนำสืบโจทก์มาลำดับให้สั้นลง จากนั้นโจทก์นำมาเชื่อมต่อกับข้อความที่โจทก์ได้คัดลอกและตัดต่อข้อเท็จจริงรวมตลอดถึงเหตุผลอันเป็นคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น มาหักล้างข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ แล้วสรุปว่า ทางนำสืบโจทก์ฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ซึ่งข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ศาลชั้นต้นยกวินิจฉัยตามที่โจทก์ฎีกานั้น ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วไม่เห็นฟ้องด้วย โดยศาลอุทธรณ์ได้แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยต่างไปจากที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยหลายประการ อันเป็นการหักล้างการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เท่ากับโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านโดยตรงต่อคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่า มีข้อเท็จจริงใดที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานโจทก์ที่ควรรับฟังในข้อใด และข้อวินิจฉัยใดที่ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลไม่สมแก่ข้อเท็จจริงหรือไม่ถูกต้องในหลักกฎหมายใด ฎีกาของโจทก์จึงมีผลไม่ต่างไปจากการขอถือเอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นข้อฎีกาของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อการวินิจฉัยของศาลฎีกาโดยตรง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรม: ก่อการร้าย, พยายามฆ่า, อั้งยี่, ซ่องโจร, พาอาวุธ, และการปรับบทลงโทษ
ความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และคงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ฐานร่วมกันกระทำการอันเป็นส่วนหนึ่งของแผน ฐานเป็นอั้งยี่ และฐานเป็นซ่องโจร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จแล้วตั้งแต่มีการสมคบวางแผนเพื่อกระทำการอันเป็นความผิด แม้ยังมิได้มีการกระทำการตามที่ได้สมคบกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาจำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง และฐานใช้อาวุธปืนดังกล่าวในการกระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าเจ้าพนักงานจึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่าการกระทำความผิดทุกฐานดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียวนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ปัญหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงจากการนำสืบ ทำให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำประมาทของจำเลยว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์ด้วยความเร็วและเปลี่ยนช่องเดินรถโดยกะทันหัน เข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับในช่องเดินรถของผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ทางพิจารณาโจทก์ทั้งสองนำสืบว่า ก่อนเกิดเหตุมีรถจักรยานยนต์ที่ขับคู่กันมาเบียดรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับล้มลงในช่องเดินรถช่องที่ 1 ขณะผู้ตายกำลังจะลุกขึ้น จำเลยซึ่งขับรถตามหลังมาในช่องเดินรถที่ 2 ได้เปลี่ยนช่องเดินรถเข้ามาในช่องเดินรถที่ 1 โดยขณะขับรถจำเลยกำลังใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุย เป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนผู้ตาย ดังนี้ เหตุที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เสียหลักล้มลงไม่ได้เกิดจากการที่จำเลยขับรถเปลี่ยนช่องเดินรถมาเฉี่ยวชนตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้อง และขณะที่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนนั้น ผู้ตายและรถของผู้ตายล้มลงบนถนนแล้ว มิใช่ผู้ตายกำลังขับรถจักรยานยนต์อยู่บนถนนตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้อง รวมทั้งข้อที่โจทก์ทั้งสองนำสืบว่าจำเลยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุยในขณะขับรถยนต์นั้น โจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้กล่าวในฟ้อง ข้อเท็จจริงที่โจทก์ทั้งสองนำสืบเกี่ยวกับการกระทำประมาทของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำโดยประมาทของจำเลยตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายมาในฟ้อง ต้องห้ามมิให้ศาลพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาหลังกฎหมายเปลี่ยนแปลง - สิทธิอุทธรณ์และการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสอง ป.อ. มาตรา 83 หากจำเลยเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษา แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุด จำเลยจึงมิอาจยื่นคำร้องในภายหลังว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัมดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 66 วรรคสอง เดิม แม้โจทก์นำสืบว่าเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัม ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม มาตรา 66 วรรคสอง เดิม ได้ เพราะการกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ หากศาลฟังตามคำร้องของจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายในภายหลัง และความผิดของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (3) และมาตรา 66 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 (1)
of 12