พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10854/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ละเมิด: การฟ้องคดีซ้ำหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และความรับผิดทางละเมิดจากการใช้หลักฐานเท็จ
คดีแรกจำเลยฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญากู้เงิน จึงมีประเด็นเพียงว่าโจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญากู้เงินหรือไม่ ส่วนคดีหลังโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจงใจฟ้องหรือนำสืบในคดีแรกด้วยสัญญากู้เงินปลอมทำให้โจทก์เสียหาย คดีหลังจึงมีประเด็นว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฟ้องโจทก์คดีหลังจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
จำเลยปลอมสัญญากู้เงินใช้เป็นหลักฐานฟ้องโจทก์ และนำสืบสัญญากู้เงินปลอมนั้นจนศาลรับฟังและพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย เป็นการทำให้โจทก์เสียหายและเป็นละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
การที่จำเลยต้องชำระเงินที่ได้รับจากเจ้าพนักงานบังคับคดีคืนแก่โจทก์เป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่ง
จำเลยปลอมสัญญากู้เงินใช้เป็นหลักฐานฟ้องโจทก์ และนำสืบสัญญากู้เงินปลอมนั้นจนศาลรับฟังและพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย เป็นการทำให้โจทก์เสียหายและเป็นละเมิด ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
การที่จำเลยต้องชำระเงินที่ได้รับจากเจ้าพนักงานบังคับคดีคืนแก่โจทก์เป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9853/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งโดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ ผู้รับโอนมีสิทธิบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนตามคำพิพากษา
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดบัญญัติเกี่ยวกับสถานะของสถาบันการเงินที่เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากสถาบันการเงินประเภทอื่น ดังนี้ ทั้งโจทก์ บริษัท บ. และผู้ร้องจึงต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ทั้งสิ้น
การที่บริษัท บ. รับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้มาจากโจทก์แล้วนำไปขายแก่ผู้ร้องต่อจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินอันถือว่าเป็นการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท บ. กับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องก็ต้องนำสินทรัพย์ของโจทก์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาดังกล่าวมาบริหารตามบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ต่อไป กรณีมิใช่เป็นการโอนสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วยกันเองหรือโอนไปเพื่อให้ผู้ร้องบริหารสินทรัพย์แทนอันขัดต่อเจตนารมณ์ในการตรา พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การโอนสินทรัพย์ระหว่างบริษัท บ. กับผู้ร้องจึงมีผลสมบูรณ์
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องจึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้โดยชอบ แม้ผู้ร้องจะซื้อมาในราคาต่ำกว่ามูลหนี้เดิม แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิเต็มจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวนที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยยังคงค้างชำระหนี้กับโจทก์อยู่เท่าใดก็ต้องมีการชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบเพียงนั้น การซื้อสินทรัพย์ซึ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจของโจทก์ไม่ได้เป็นการค้ากำไรเกินควร
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะยกเว้นหลักกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากไม่มีบทบัญญัติในพระราชกำหนดทั้งสองที่จะยกมาปรับแก่คดี ก็ต้องบังคับไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่นำพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งของพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่ง
เมื่อสินทรัพย์ที่โอนกันนี้เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์นำมาฟ้องคดีนี้และศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว โจทก์และบริษัท บ. ต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวต่อมาจากบริษัท บ. กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ที่บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์คดีนี้ได้ทุกประการ
การที่บริษัท บ. รับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้มาจากโจทก์แล้วนำไปขายแก่ผู้ร้องต่อจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินทรัพย์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินอันถือว่าเป็นการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท บ. กับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องก็ต้องนำสินทรัพย์ของโจทก์ที่รับซื้อหรือรับโอนมาดังกล่าวมาบริหารตามบทบัญญัติของ พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ต่อไป กรณีมิใช่เป็นการโอนสินทรัพย์ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วยกันเองหรือโอนไปเพื่อให้ผู้ร้องบริหารสินทรัพย์แทนอันขัดต่อเจตนารมณ์ในการตรา พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การโอนสินทรัพย์ระหว่างบริษัท บ. กับผู้ร้องจึงมีผลสมบูรณ์
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์ของโจทก์มาจากบริษัท บ. ผู้ร้องจึงเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องคดีนี้โดยชอบ แม้ผู้ร้องจะซื้อมาในราคาต่ำกว่ามูลหนี้เดิม แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าของสิทธิเต็มจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาเต็มจำนวนที่ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ จำเลยยังคงค้างชำระหนี้กับโจทก์อยู่เท่าใดก็ต้องมีการชำระหนี้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องโดยชอบเพียงนั้น การซื้อสินทรัพย์ซึ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจของโจทก์ไม่ได้เป็นการค้ากำไรเกินควร
พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวต่างบัญญัติขึ้นเป็นกฎหมายเฉพาะยกเว้นหลักกฎหมายเกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากไม่มีบทบัญญัติในพระราชกำหนดทั้งสองที่จะยกมาปรับแก่คดี ก็ต้องบังคับไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่นำพระราชกำหนดฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งของพระราชกำหนดอีกฉบับหนึ่ง
เมื่อสินทรัพย์ที่โอนกันนี้เป็นสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์นำมาฟ้องคดีนี้และศาลมีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว โจทก์และบริษัท บ. ต่างมีสถานะเป็นสถาบันการเงินตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวต่อมาจากบริษัท บ. กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ที่บัญญัติให้ผู้ร้องมีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์คดีนี้ได้ทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ ศาลรับฟังใบเสร็จรับเงินประกอบพยานอื่นได้หากจำเลยมีโอกาสหักล้าง
ตามฟ้องของโจทก์นอกจากบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 106,000,000 บาท จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินให้โจทก์เป็นหลักฐานตามสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่แล้ว ยังได้บรรยายต่อไปว่า ในวันเดียวกันกับวันทำสัญญากู้เงิน จำเลยที่ 1 เมื่อได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปจากโจทก์แล้ว ก็ได้จำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 5334 และ 5335 เป็นประกันการกู้ยืมเงินดังกล่าวไว้ โดยแนบสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินมาท้ายฟ้องด้วย ตามสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินรวมสองโฉนด เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาจำนองที่ดินรวมสองโฉนด จึงเป็นกรณีที่หนังสือสัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวปรากฏในคำฟ้องตั้งแต่บรรยายฟ้องแล้ว เมื่อพิจารณาหนังสือสัญญาจำนองดังกล่าว เป็นหนังสือสัญญาที่ได้ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดิน มีข้อความสำคัญว่า จำเลยที่ 1 ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินซึ่งผู้จำนองได้กู้จากผู้รับจำนอง 106,000,000 บาท โดยให้ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ทั้งยังมีข้อความในข้อ 5 ว่า ให้ถือสัญญานี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วย และจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อผู้จำนองไว้ด้วย เช่นนี้ ถือได้ว่าหนังสือสัญญาจำนองที่ดินรวมสองโฉนด เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมชิ้นหนึ่งที่โจทก์ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้นอกเหนือจากหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ กรณีจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์มิได้ระบุใบเสร็จรับเงิน เป็นพยานหลักฐานในบัญชีพยานและมิได้ส่งสำเนาให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 อันต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังใบเสร็จรับเงิน เห็นว่า เมื่อโจทก์นำสืบพยานโดยเบิกความและอ้างส่งใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานประกอบคำเบิกความของโจทก์เสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานจำเลยทั้งสองหลังจากนั้นนานถึง 2 เดือนเศษ จำเลยที่ 1 ย่อมมีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน และนำสืบหักล้างหรือปฏิเสธได้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 และหม่อม อ. เบิกความ ก็เบิกความยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อช่องผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน และหม่อม อ. ลงลายมือชื่อช่องผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงินจริง คดีจึงมีเหตุสมควรที่จะรับฟังใบเสร็จรับเงิน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์มิได้ระบุใบเสร็จรับเงิน เป็นพยานหลักฐานในบัญชีพยานและมิได้ส่งสำเนาให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 และมาตรา 90 อันต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังใบเสร็จรับเงิน เห็นว่า เมื่อโจทก์นำสืบพยานโดยเบิกความและอ้างส่งใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานประกอบคำเบิกความของโจทก์เสร็จแล้ว ศาลชั้นต้นเลื่อนไปสืบพยานจำเลยทั้งสองหลังจากนั้นนานถึง 2 เดือนเศษ จำเลยที่ 1 ย่อมมีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน และนำสืบหักล้างหรือปฏิเสธได้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 และหม่อม อ. เบิกความ ก็เบิกความยอมรับว่า จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อช่องผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงิน และหม่อม อ. ลงลายมือชื่อช่องผู้รับเงินในใบเสร็จรับเงินจริง คดีจึงมีเหตุสมควรที่จะรับฟังใบเสร็จรับเงิน เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9593/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงจากการดำเนินกระบวนพิจารณา หากศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงนอกฟ้องมาวินิจฉัยถือเป็นการไม่ชอบ
แม้เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบมิใช่ข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่เกี่ยวกับที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องนำสืบ คดีนี้โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554 จำเลยจ้างโจทก์ที่ 1 ให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งที่ปรึกษา... ต่อมาต้นปี 2557 จำเลยเปลี่ยนแปลงผู้บริหารและตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 เป็นต้นไปจำเลยไม่ชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 1 อันเป็นการปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมีสิทธิเพียงถามค้านพยานโจทก์ แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างแก่โจทก์ที่ 1 ตั้งแต่เดือนกันยายน 2557 เป็นต้นไปตามคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเอาข้อเท็จจริงว่าคู่สัญญาฝ่ายจำเลยที่ลงลายมือชื่อสองคนในสัญญาโดยไม่ปรากฏว่าเป็นกรรมการบริษัทจำเลยหรือได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ทำสัญญากับโจทก์ทั้งสอง ไม่มีการประทับตราสำคัญของจำเลยมาวินิจฉัย ย่อมถือว่าจำเลยทำสัญญากับโจทก์ทั้งสองไม่ได้ สัญญาไม่ผูกพันจำเลย นำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องอำนาจฟ้องย่อมเป็นการหยิบยกเอาข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นหรือไม่เกี่ยวกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่มีหน้าที่ต้องนำสืบมาวินิจฉัย เป็นการไม่ชอบ
อนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ แล้วพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง คำขออื่นให้ยก เป็นการมิชอบ ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
อนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้องและไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์ แล้วพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง คำขออื่นให้ยก เป็นการมิชอบ ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9386/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด, การฟ้องคดีอาญาเกี่ยวข้องคดีแพ่ง, ตัวการ-ตัวแทน, การแก้ไขคำฟ้อง, ความรับผิดชอบทางละเมิด
ชื่อสกุลที่ถูกต้องของลูกหนี้มีอยู่ในรายงานสำนวนคดีของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลาย จำเลยที่ 7 เป็นทนายความ ควรมีความรอบคอบและระมัดระวังในการขอคัดข้อมูลประวัติบุคคลจากทางราชการเพื่อนำไปเป็นหลักฐานการฟ้องคดีล้มละลายซึ่งเป็นคดีที่มีความสำคัญ แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 7 ไปขอคัดชื่อสกุลของโจทก์ มิใช่ของลูกหนี้ แล้วใช้แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ไปขอคัดมาฟ้องต่อศาลล้มละลายกลาง เป็นกรณีที่จำเลยที่ 7 ไม่มีความรอบคอบและระมัดระวังตามสมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ทนายความ นับเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ครั้นเมื่อจำเลยที่ 7 รู้ในภายหลังว่าฟ้องลูกหนี้ผิดเป็นฟ้องโจทก์ แทนที่จำเลยที่ 7 จะถอนคำฟ้องในส่วนที่ฟ้องโจทก์เพื่อลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้อง อันจะทำให้คำฟ้องในส่วนที่ฟ้องโจทก์เสร็จสิ้นไป แต่จำเลยที่ 7 กลับใช้วิธีแก้ไขคำฟ้องโดยขอแก้ไขชื่อ ชื่อสกุล เลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ ซึ่งไม่อาจทำได้ และผลก็ไม่เหมือนกับการถอนคำฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 7 ในส่วนนี้นับว่าเป็นการทำโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้โจทก์ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การกระทำของจำเลยที่ 7 จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 จะกล่าวอ้างว่าเป็นความผิดของทางศาลด้วย เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ก. จำเลยที่ 7 เป็นพนักงานของธนาคาร ก. แต่ได้รับมอบหมายให้ทำงานให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 จึงเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวแทน
จำเลยที่ 5 เป็นทนายความของบริษัท พ. ซึ่งรับจ้างดำเนินคดีล้มละลายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยรับสำนวนต่อมาจากจำเลยที่ 7 ภายหลังจากศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้จำเลยที่ 7 แก้ไขคำฟ้อง จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ไปสืบพยานเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จำเลยที่ 5 อ้างตนเองเป็นพยาน ส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของตนแทนการซักถาม และส่งเอกสารซึ่งมีแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของลูกหนี้ที่ถูกต้องแล้วต่อศาล จึงเป็นการนำสืบถึงลูกหนี้ที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องแล้ว มิใช่นำสืบว่าลูกหนี้คือโจทก์ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาด น่าจะเกิดจากความผิดหลงที่ไปพิจารณาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของโจทก์อันสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 7 ฟ้องโจทก์แต่ไม่ถอนฟ้องกลับใช้วิธีการแก้ไขคำฟ้องดังกล่าว ยังไม่ถนัดที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 5 ประมาทเลินเล่อ
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา อายุความที่โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ. มาตรา 95 ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีอาญายังไม่เด็ดขาด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร ก. จำเลยที่ 7 เป็นพนักงานของธนาคาร ก. แต่ได้รับมอบหมายให้ทำงานให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 7 จึงเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะนายจ้างหรือตัวแทน
จำเลยที่ 5 เป็นทนายความของบริษัท พ. ซึ่งรับจ้างดำเนินคดีล้มละลายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยรับสำนวนต่อมาจากจำเลยที่ 7 ภายหลังจากศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้จำเลยที่ 7 แก้ไขคำฟ้อง จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ไปสืบพยานเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ จำเลยที่ 5 อ้างตนเองเป็นพยาน ส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของตนแทนการซักถาม และส่งเอกสารซึ่งมีแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของลูกหนี้ที่ถูกต้องแล้วต่อศาล จึงเป็นการนำสืบถึงลูกหนี้ที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องแล้ว มิใช่นำสืบว่าลูกหนี้คือโจทก์ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาด น่าจะเกิดจากความผิดหลงที่ไปพิจารณาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของโจทก์อันสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 7 ฟ้องโจทก์แต่ไม่ถอนฟ้องกลับใช้วิธีการแก้ไขคำฟ้องดังกล่าว ยังไม่ถนัดที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 5 ประมาทเลินเล่อ
เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญา อายุความที่โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.อ. มาตรา 95 ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีอาญายังไม่เด็ดขาด ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6574/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลฟ้องจำนอง: การที่จำเลยไม่โต้แย้งตั้งแต่แรก และให้สัตยาบันต่อการพิจารณา ทำให้ไม่อาจยกข้อค้านเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นได้
จำเลยทั้งสองแนบประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นเอกสารท้ายอุทธรณ์ โดยไม่ได้มีการนำสืบในศาลชั้นต้น คำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกาของโจทก์ไม่ได้รับรองความถูกต้องของข้อเท็จจริงตามเอกสารท้ายอุทธรณ์ จึงรับฟังเอกสารท้ายอุทธรณ์ไม่ได้ คดีจึงไม่มีพยานหลักฐานในสำนวนที่จะรับฟังว่า ที่ดินจำนองต้องอยู่นอกเขตศาลชั้นต้น อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การโต้แย้งว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ทั้งสามเสร็จ แม้หากจะฟังว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบก็ถือว่าจำเลยทั้งสองได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ๆ แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ไม่อาจยกเอาข้อค้านเรื่องผิดระเบียบนั้นขึ้นกล่าวอ้างได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4235/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐานที่ผิดระเบียบ ศาลเพิกถอนการพิจารณาบางส่วนให้พิจารณาใหม่
แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์ต้องการสืบพยานบุคคลและพยานเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นตามคำฟ้อง ก็เพื่อให้เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ออกหมายเรียกพยานบุคคลและขอให้มีคำสั่งเรียกเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ จึงไม่ชอบ
ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ โจทก์มีคำขอ 3 ประการ คือ เกี่ยวกับที่ดิน เกี่ยวกับบ้านและเกี่ยวกับต้นไม้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงวินิจฉัยแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินเท่านั้นว่าเป็นเพียงคำมั่นว่าจะให้ อันเป็นการวินิจฉัยจากพยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ออกหมายเรียกพยานบุคคลและขอให้มีคำสั่งเรียกพยานเอกสารมาสืบดังกล่าว ซึ่งถ้านำสืบจนสิ้นกระแสความ ข้อเท็จจริงก็อาจรับฟังได้เป็นอย่างอื่น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้แก้ไข ถือได้ว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ โจทก์มีคำขอ 3 ประการ คือ เกี่ยวกับที่ดิน เกี่ยวกับบ้านและเกี่ยวกับต้นไม้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 คงวินิจฉัยแต่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินเท่านั้นว่าเป็นเพียงคำมั่นว่าจะให้ อันเป็นการวินิจฉัยจากพยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบ เนื่องจากศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ออกหมายเรียกพยานบุคคลและขอให้มีคำสั่งเรียกพยานเอกสารมาสืบดังกล่าว ซึ่งถ้านำสืบจนสิ้นกระแสความ ข้อเท็จจริงก็อาจรับฟังได้เป็นอย่างอื่น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้แก้ไข ถือได้ว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารในที่ดินปฏิรูปเกษตรกรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเสนอขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยแจ้งว่าเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิการครอบครองและรับรองว่าสามารถจดทะเบียนโอนให้โจทก์ได้ แต่เนื่องจากที่ดินติดจำนองธนาคาร จำเลยจะนำเงินที่ได้จากโจทก์ไปไถ่ถอนจำนองมาจดทะเบียนโอนให้โจทก์ภายในเดือนเมษายน 2555 ต่อมาวันที่ 1 มิถุนายน 2555 โจทก์ตรวจสอบพบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ส.ป.ก. 4 - 01 โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์ทราบเรื่องที่ถูกหลอกว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน ส.ป.ก. 4 - 01 มิใช่ที่ดินมีเอกสารสิทธิที่จะสามารถโอนให้กันได้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2555 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 เกิน 3 เดือน นับแต่โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีจึงขาดอายุความ กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์เพิ่งทราบเรื่องความผิดฐานฉ้อโกงในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยรับรองว่าจะไม่จำหน่าย จำนำ หรือก่อภาระผูกพัน ในที่ดินพิพาทให้กระทบสิทธิของโจทก์เพราะเป็นการตกลงกันภายหลัง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้อง
การที่จำเลยนำ ส.ป.ก. 4 - 01 ไปถ่ายสำเนาแล้วลบชื่อบิดาจำเลยผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เดิมและเปลี่ยนเป็นชื่อจำเลย แล้วจำเลยนำไปขายให้แก่ น. และ จ. ทั้งที่จำเลยรับกับโจทก์แล้วว่าจะไม่จำหน่าย จำนำ หรือก่อภาระผูกพัน ในที่ดินพิพาท เห็นว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังเป็นของรัฐเพียงแต่รัฐนำที่ดินมาจัดสรรให้ประชาชนครอบครองทำกินเท่านั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่ก่อให้ น. และ จ. มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท แม้จำเลยรับรองต่อโจทก์ว่าจะไม่จำหน่าย จำนำ หรือก่อภาระผูกพันในที่ดินพิพาท โจทก์ก็มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอม
แม้จำเลยมีภาระผูกพันที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินคืนแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ แต่การที่จำเลยโอนที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้แก่ น. และ จ. ซึ่งที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลยหรือของบิดาจำเลย จึงมิใช่การโอนไปซึ่งทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 350 ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
การที่จำเลยนำ ส.ป.ก. 4 - 01 ไปถ่ายสำเนาแล้วลบชื่อบิดาจำเลยผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เดิมและเปลี่ยนเป็นชื่อจำเลย แล้วจำเลยนำไปขายให้แก่ น. และ จ. ทั้งที่จำเลยรับกับโจทก์แล้วว่าจะไม่จำหน่าย จำนำ หรือก่อภาระผูกพัน ในที่ดินพิพาท เห็นว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมยังเป็นของรัฐเพียงแต่รัฐนำที่ดินมาจัดสรรให้ประชาชนครอบครองทำกินเท่านั้น การกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่ก่อให้ น. และ จ. มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท แม้จำเลยรับรองต่อโจทก์ว่าจะไม่จำหน่าย จำนำ หรือก่อภาระผูกพันในที่ดินพิพาท โจทก์ก็มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารปลอม
แม้จำเลยมีภาระผูกพันที่ต้องชำระเงินค่าที่ดินคืนแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ แต่การที่จำเลยโอนที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้แก่ น. และ จ. ซึ่งที่ดินพิพาทไม่ใช่ของจำเลยหรือของบิดาจำเลย จึงมิใช่การโอนไปซึ่งทรัพย์สินตาม ป.อ. มาตรา 350 ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3440-3441/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลวงในการซื้อขายที่ดิน สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งติดจำนองไว้กับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปชำระหนี้ไถ่จำนองให้แก่ธนาคารแทนโจทก์ โจทก์จึงจดทะเบียนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยมิได้มีเจตนาที่จะซื้อขายกันอย่างแท้จริง และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้มีเจตนาเป็นเจ้าของแต่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนั้นตามรูปคดีของโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องนิติกรรมอำพรางไม่ เพราะนิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสองนั้น จะต้องมีนิติกรรม 2 นิติกรรม โดยบุคคลทั้งสองฝ่ายแสร้งแสดงเจตนาทำนิติกรรมอันหนึ่งอำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งซึ่งมีเจตนาแท้จริงมุ่งผูกนิติสัมพันธ์กัน แต่ตามคำฟ้องโจทก์คงมีเพียงนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้น หาได้มีนิติกรรม 2 นิติกรรมอำพรางกันอยู่ไม่ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้รับจำนองแทนโจทก์ ก็ไม่ใช่นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำกับโจทก์ ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 แสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งจะยกขึ้นกล่าวอ้างเมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้เกินกว่า 10 ปีก็ตาม สิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
สำหรับประเด็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้หรือไม่นั้น ปัญหานี้แม้ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยแต่คู่ความได้สืบพยานกันเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ ซึ่งพยานโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเหตุผลใดที่ต้องร่วมกันกับโจทก์แสดงเจตนาลวงในการทำนิติกรรมดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำบันทึกว่า จะไม่ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นนอกจากโจทก์และบุคคลในครอบครัวเท่านั้น และจะโอนกรรมสิทธิ์คืนให้ต่อเมื่อโจทก์ชำระเงินค่าไถ่จำนองให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อนแล้วนั้น ก็เป็นเพียงคำมั่นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 บอกกล่าวและกำหนดเวลาให้โจทก์ซื้อที่ดินคืน แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม คำมั่นดังกล่าวจึงเป็นอันไร้ผลไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 454 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท
สำหรับประเด็นว่า โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้หรือไม่นั้น ปัญหานี้แม้ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยแต่คู่ความได้สืบพยานกันเสร็จสิ้นแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ ซึ่งพยานโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเหตุผลใดที่ต้องร่วมกันกับโจทก์แสดงเจตนาลวงในการทำนิติกรรมดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำบันทึกว่า จะไม่ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นนอกจากโจทก์และบุคคลในครอบครัวเท่านั้น และจะโอนกรรมสิทธิ์คืนให้ต่อเมื่อโจทก์ชำระเงินค่าไถ่จำนองให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก่อนแล้วนั้น ก็เป็นเพียงคำมั่นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 บอกกล่าวและกำหนดเวลาให้โจทก์ซื้อที่ดินคืน แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตาม คำมั่นดังกล่าวจึงเป็นอันไร้ผลไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 454 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และบทปรับบทตามมาตรา 80 กรณีความพยายามสำเร็จ
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ด. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,570 เม็ด และอาวุธปืน ในระหว่างที่ ด. ถูกควบคุมตัวจำเลยที่ 4 โทรศัพท์สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ด. ด.ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานตำรวจสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ว. ให้จำเลยที่ 4 ว. ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งให้ ด. เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 40,000 เม็ด แล้วขยายผลการจับกุมโดยให้สิบตำรวจเอก ท. ปลอมตัวเป็นลูกน้องของ ด. นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 3 มารับเมทแอมเฟตามีนแทน การที่สิบตำรวจเอก ท. ส่งมอบกระเป๋าซึ่งภายในไม่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางให้จำเลยที่ 3 คงเป็นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจเกรงว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งมารับเมทแอมเฟตามีนอาจแย่งชิงเมทแอมเฟตามีนของกลางจากสิบตำรวจเอก ท. ไปมากกว่าเหตุอื่น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หาใช่เป็นการแน่แท้เด็ดขาดว่าเป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จำเลยที่ 3 จะกระทำความผิดสำเร็จไม่ได้เพราะเหตุไม่มีเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดได้ แต่เป็นกรณีที่อาจบรรลุผลได้ตามเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่ต้องการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 80 ไม่ใช่พยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามมาตรา 81