คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ทรงศิลป์ ธรรมรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ คดีขายฝาก: ศาลฎีกายกฟ้อง เนื่องจากมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วในประเด็นการชำระหนี้
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่าโจทก์ขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี โจทก์ได้รับเงินค่าขายฝากครบถ้วน แล้วโจทก์ไม่ไถ่คืนภายในกำหนดและไม่ออกไปจากที่ดินที่ขายฝาก ขอให้ขับไล่และเรียกค่าขาดประโยชน์ โจทก์ให้การต่อสู้ว่าจำเลยชำระเงินค่าขายฝากไม่ครบ ขาดอยู่ 1,500,000 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับเงินค่าขากฝากครบจำนวนตามข้อความที่ระบุในสัญญาขายฝาก พิพากษาให้ขับไล่โจทก์พร้อมชำระค่าเสียหาย คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี จำเลยชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์แล้ว 7,000,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 1,500,000 บาท ยังไม่ชำระ ขอให้จำเลยชำระส่วนที่เหลือ เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยคดีว่าจำเลยคดีนี้ชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของโจทก์คดีนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 จึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยคดีนี้จะมิได้ยกเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ กรณีข้อพิพาทเรื่องชำระราคาสัญญาขายฝากที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ก่อนคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา มีคดีซึ่งจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ขายฝากที่ดินแปลงเดียวกับคดีนี้แก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ในราคา 8,500,000 บาท กำหนดไถ่คืนภายใน 1 ปี ตามสัญญาขายฝากฉบับเดียวกับคดีนี้ จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบถ้วน แล้วจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ไถ่คืนภายในกำหนด และไม่ออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายฝากดังกล่าว ขอให้ขับไล่และเรียกค่าขาดประโยชน์ โจทก์คดีนี้ให้การต่อสู้คดีดังกล่าวทำนองเดียวกับที่ฟ้องคดีนี้ว่า โจทก์ (จำเลยคดีนี้) ชำระเงินค่าขายฝากไม่ครบ ขาดอยู่ 1,500,000 บาท กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปยังโจทก์ ศาลชั้นต้นคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า จำเลย (โจทก์คดีนี้) ได้รับเงินค่าขายฝากครบจำนวนตามข้อความที่ระบุในสัญญาขายฝาก และมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย (โจทก์คดีนี้) พร้อมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ (จำเลยคดีนี้) จำเลย (โจทก์คดีนี้) อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน จำเลย (โจทก์คดีนี้) ฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งคดีดังกล่าวว่า ฎีกาของจำเลย (โจทก์คดีนี้) เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาไม่รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา เช่นนี้ เป็นกรณีที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า จำเลยคดีนี้ชำระเงินค่าขายฝากให้แก่โจทก์คดีนี้ครบถ้วนแล้ว มิได้ผิดสัญญาต่อโจทก์ ฎีกาของโจทก์คดีนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับเรื่องห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 จึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยคดีนี้จะมิได้ยกเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์ซื้อขาย vs. ตัวแทน สัญญาค้ำประกันขอบเขตความรับผิดชอบ
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 รับสลากกินแบ่งรัฐบาลตามสิทธิของโจทก์จากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย จำกัด เพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลภายนอก มีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทน โจทก์ผูกพันที่จะต้องชำระค่าสลากกินแบ่งแก่สหกรณ์ฯ แต่ในส่วนที่โจทก์มอบสลากกินแบ่งรัฐบาลของตนให้จำเลยที่ 1 นำไปขายต่อให้บุคคลอื่นแล้วนำกำไรหรือส่วนต่างจากการขายมาแบ่งปันระหว่างกันนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 นำสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ไปจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินต้นทุนค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปชำระให้แก่สหกรณ์ฯ เพื่อที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดถัดไปจากสหกรณ์ฯ นำไปจำหน่ายต่อ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะมีนิติสัมพันธ์บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลคืนแก่โจทก์ทุกงวดนอกเหนือจากการแบ่งกำไรส่วนหนึ่งที่โจทก์จะได้รับจากการจำหน่ายสลาก ทั้งปรากฏว่ามีสมาชิกสหกรณ์อีกหลายคนมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการในลักษณะเดียวกันเป็นกิจจะลักษณะเหมือนเป็นผู้อยู่ในวงการซื้อขายโดยตรง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้สร้างกิจการขึ้นมาโดยหวังกำไรจำนวนมากจากส่วนต่างของราคาขายในแต่ละงวดหลังจากแบ่งปันกำไรบางส่วนให้โจทก์และผู้มอบหมายคนอื่นแล้ว เมื่อสภาพการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมีนัยการกำหนดราคาขายไม่ต่ำกว่าต้นทุน การตั้งราคาขายเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดและตกลงกับผู้ซื้อโดยอาศัยอำนาจของตนเอง เมื่อพิจารณาประกอบกับจำเลยที่ 1 ทำหนังสือยินยอมรับสภาพหนี้ค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สหกรณ์แล้ว ตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนขายในนามโจทก์
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จึงมีที่มาจากมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: การประเมินความประมาทและการแบ่งความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน ผท 6565 ชลบุรีไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ขับรถคันดังกล่าวไปตามถนนสายอ่างศิลามุ่งหน้าไปตลาดอ่างศิลาซึ่งเป็นถนนมีช่องเดินรถ 2 ช่อง แล่นสวนทางกันคนละฝั่ง 1 ช่อง เมื่อถึงหน้าร้านนุชคอหมูย่าง จำเลยที่ 1 จะเลี้ยวซ้ายไปจอดที่ร้านดังกล่าวและเกิดเฉี่ยวชนกันกับรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับมาทางด้านซ้าย รถของโจทก์เสียหลักไปกระแทกกับรถยนต์ที่จอดอยู่ได้รับความเสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 68, 148, 157 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (3) (4), 68, 148, 157 และ ป.อ. มาตรา 390 แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวก็ตาม คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเพียงว่า จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกและกระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมกระทำโดยประมาทด้วยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยด้วยว่าโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำโดยประมาทด้วย ก็ไม่ได้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้นข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น และตามฎีกาของจำเลยทั้งสองก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่รับฟังว่าพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองนำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่า โจทก์มีส่วนประมาทนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นๆ รวมทั้งค่าเสียหายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ เพื่อมิให้เป็นการล่าช้า ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงใดไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ: ผู้ขับแซงตัดหน้าเป็นเหตุให้ชนและเสียหลัก ชนอีแต๋น ผู้ขับไม่ประมาท
ตามฟ้องที่จำเลยให้การรับสารภาพฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงในทางเดินรถของจำเลย จำเลยไม่ได้ขับล้ำเข้าไปในทางเดินรถสวน ส่วน ร. ขับรถจักรยานยนต์สวนทางมาโดยขับตามหลังรถอีแต๋นที่ บ. เป็นผู้ขับ แต่ ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ ร. ขับชนกับรถจำเลย หาก ร. ไม่ขับรถล้ำเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย เหตุรถทั้งสองคันชนกันก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ แม้จะฟังว่าจำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ก็ยังขับอยู่ในทางเดินรถของจำเลย และตามรายงานชันสูตรพลิกศพเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องระบุว่า ร. ขับรถตัดหน้ารถจำเลยเป็นเหตุให้ชนกัน แล้วรถจำเลยเสียหลักไปชนรถอีแต๋น แสดงว่า ร. ขับแซงขึ้นหน้ารถอีแต๋นในระยะกระชั้นชิดขณะที่รถจำเลยใกล้จะสวนทางกับรถอีแต๋น การที่รถจำเลยเสียหลักพุ่งชนรถอีแต๋น จึงเป็นผลโดยตรงจาก ร. ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิดเข้าไปในทางเดินรถของจำเลย มิใช่ผลโดยตรงที่จำเลยมิได้ขับรถชิดขอบทางด้านซ้ายหรือไม่ชะลอความเร็ว จะถือว่าจำเลยมีส่วนประมาทด้วยหาได้ไม่ เพราะการที่รถจำเลยเสียการควบคุมไปชนรถอีแต๋นเป็นผลจากความประมาทอย่างร้ายแรงของ ร. ที่ขับแซงขึ้นหน้าในระยะกระชั้นชิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและรับอันตรายแก่กาย ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่การที่จำเลยขับรถยนต์บรรทุกพ่วงซึ่งเป็นรถขนาดใหญ่บรรทุกหินเต็มคันรถด้วยความเร็วสูงในทางแคบ ถือได้ว่าเป็นการขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6429/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดกแก่ทายาทอื่น ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และเจตนาของเจ้ามรดก
ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของ ต. ฝ่ายโจทก์ทั้งสองตกลงให้ตั้งจำเลยที่ 1 และฝ่ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงให้ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ต. ข้อตกลงดังกล่าวเพื่อให้มีตัวแทนของแต่ละฝ่ายเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ส่วนของตนในกองมรดกของ ต. เมื่อก่อนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเดิมจำเลยที่ 2 บ. สามีโจทก์ที่ 2 และโจทก์ที่ 2 นำที่ดินและอาคารดังกล่าวออกให้เช่า เมื่อใกล้ครบสัญญาเช่า ผู้เช่าทำหนังสือถึงโจทก์ที่ 2 ขอทำสัญญาเช่าต่อพร้อมขออนุญาตปรับปรุงอาคารที่เช่า โจทก์ที่ 2 จึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้เป็นผู้ตกลงกับผู้เช่าเอง ต่อมาจำเลยที่ 3 จึงเป็นผู้ให้เช่าแทนโจทก์ที่ 2 อีก 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 ปี ซึ่งโจทก์ที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้เก็บค่าเช่าเองโดยโจทก์ที่ 2 ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. ยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินพิพาทแทนฉบับเดิมที่สูญหาย ซึ่งโจทก์ที่ 2 ยอมรับว่าเดิม บ. เป็นผู้เก็บโฉนดดังกล่าวไว้ แต่ขณะออกโฉนดที่ดินฉบับใหม่ บ. ถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น หากโจทก์ที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. โอนที่ดินพิพาทพร้อมมอบโฉนดที่ดินให้ไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ไม่สามารถดำเนินการเองโดยลำพัง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ทั้งสองในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ยินยอมแบ่งที่ดินพร้อมอาคารพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ต. ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เข้าครอบครองทรัพย์มรดกเป็นส่วนสัดตาม ป.พ.พ. 1750 วรรคหนึ่ง โดยการนำออกให้เช่าและเก็บค่าเช่ามาโดยตลอด โจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจเรียกให้นำที่ดินและอาคารพิพาทมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งสองได้อีก
คำพิพากษาในส่วนเกี่ยวกับการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 มิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องการครอบครองเป็นส่วนสัด แต่เป็นอำนาจและหน้าที่ของศาลในการปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายอันเป็นการปรับบทกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5157/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดทางเพศ: จำเลยต้องมีเจตนาช่วยเหลือหรือให้สะดวก
จำเลยที่ 1 กับพวกนั่งดื่มสุรากันอยู่บริเวณกระท่อมที่เกิดเหตุอยู่ก่อนที่พวกของจำเลยที่ 1 จะพาโจทก์ร่วมมายังกระท่อมที่เกิดเหตุ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทราบมาก่อนว่าพวกของจำเลยที่ 1 จะพาโจทก์ร่วมมาข่มขืนกระทำชำเรา อีกทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่ชี้ให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ที่จะเข้าไปมีส่วนในการกระทำความผิดด้วย นอกจากนี้ทั้งก่อนและขณะที่จำเลยที่ 2 กับพวกข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม แม้จำเลยที่ 1 อยู่ใกล้กับกระท่อมที่เกิดเหตุและเห็นเหตุการณ์ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 พูดหรือกระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 แต่ไม่เข้าไปห้ามปรามหรือขัดขวางเพื่อมิให้โจทก์ร่วมถูกข่มขืนกระทำชำเรา กรณีดังกล่าวก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินเพิ่มเติมเพื่อบังคับคดี: ศาลยืนยึดได้หากราคาทรัพย์เดิมไม่พอชำระหนี้และเป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
การที่โจทก์ยื่นคำขอยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติม เนื่องจากราคาทรัพย์สินจำนองที่ยึดไว้เดิมไม่เพียงพอให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ประกอบกับจะล่วงเลยกำหนดเวลาในการบังคับคดีภายใน 10 ปี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขในการยึดทรัพย์สินเพิ่มเติมว่าจะนำออกขายทอดตลาดได้ก็ต่อเมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองที่ยึดไว้เดิมแล้วไม่พอชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา การยึดทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมจึงเป็นธรรมแก่คู่ความทั้งสองฝ่าย ยังไม่มีเหตุสมควรให้เพิกถอนการยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 เพิ่มเติมดังกล่าว
กรณีที่โจทก์ขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติมของจำเลยในครั้งต่อ ๆ มา โดยทราบรายละเอียดของทรัพย์สินที่จะขอให้ยึดเพิ่มเติมแล้วนั้น หาจำต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275 และ 277 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4022/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีฉ้อโกงประชาชนหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิถอนฟ้อง
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จึงไม่อาจถอนฟ้องหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคแรก สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3905/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานบอกเล่าประกอบกับหลักฐานอื่นพิสูจน์ความจริงได้ การสนับสนุนการกระทำผิดฐานฆ่าโดยเจตนา
แม้บันทึกคำให้การของ ม. ในชั้นสอบสวนจะเป็นพยานบอกเล่าและมีลักษณะเป็นคำให้การซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลยก็ตาม แต่คำให้การดังกล่าวก็มีลักษณะของการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น ทั้งผู้ให้ถ้อยคำก็มิได้ให้ถ้อยคำในลักษณะของการปัดความรับผิดไปให้จำเลยแต่เพียงฝ่ายเดียว หากแต่ยอมรับว่าตนเป็นผู้กระทำความผิดด้วย อีกทั้งเมื่อพิจารณาคำให้การของ ม. ประกอบกันกับคำเบิกความของ ช. เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งเป็นผู้สืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดที่ว่าได้ติดต่อขอบันทึกข้อมูลการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ม. จากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็ปรากฏว่าในช่วงก่อนวันเกิดเหตุและในวันเกิดเหตุมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของ ม. ติดต่อกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยบ่อยครั้ง ซึ่งจำเลยก็เบิกความตอบโจทก์ถามค้านรับว่าหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวเป็นของจำเลยจริง ประกอบกับ ม. ได้ให้ถ้อยคำตามบันทึกคำให้การ ต่อพนักงานสอบสวนโดยมี พ. ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นบุคคลที่ ม. ให้ถ้อยคำในชั้นสอบสวนด้วยว่าเป็นบุคคลที่ ม. ไว้วางใจให้ร่วมฟังการสอบสวนด้วย ดังนั้นแม้บันทึกคำให้การดังกล่าวจะเป็นพยานบอกเล่าหรือเป็นพยานชั้นสองไม่ใช่พยานชั้นหนึ่ง แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของบันทึกคำให้การดังกล่าว ซึ่ง ม. ได้ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวนโดยสมัครใจและเป็นการให้ถ้อยคำทันทีหลังจากถูกจับกุม รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็สอดคล้องต้องกันสมเหตุสมผลในอันที่จะเป็นเหตุให้มีการกระทำและสอดคล้องกันกับพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏ น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (1)
ม. พยานโจทก์และจำเลยต่างก็เบิกความเจือสมกันว่าจำเลยกับ ม. หลังจากพบกันที่ร้านซ่อมรถยนต์แล้วจำเลยกับ ม. ก็พูดคุยกันในเชิงชู้สาวมาตลอด มีการลักลอบนัดพบกันที่รีสอร์ตและมีความสัมพันธ์กันในทางชู้สาวแสดงให้เห็นได้ว่าบุคคลทั้งสองมีความสนิทสนมชอบพอกัน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดว่าก่อนและหลังเกิดเหตุบุคคลทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกัน จึงไม่มีเหตุผลใดที่ ม. จะเบิกความปรักปรำให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยว่าจำเลยเป็นผู้ที่ช่วยเหลือติดต่อหาคนมาฆ่าผู้ตาย รวมทั้งระบุว่าจำเลยเป็นผู้ที่พาคนร้ายมาพบที่รีสอร์ต ดังนั้นการที่ ม. เบิกความในทำนองว่าเคยพูดกับหลายๆ คนว่าหากใครช่วยจัดการฆ่าผู้ตายได้จะให้เงินนั้น ก็น่าจะเป็นคำเบิกความที่ต้องการเบี่ยงเบนให้ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่เพื่อให้เห็นว่าบุคคลที่ติดต่อผู้ที่มาฆ่าผู้ตายอาจไม่ใช่จำเลยก็ได้ หรือบุคคลที่มาฆ่าผู้ตายอาจไม่ใช่บุคคลที่จำเลยติดต่อมาซึ่งไม่ตรงกันกับที่ ม. เบิกความตอบโจทก์หรือที่เคยให้การในชั้นสอบสวน คำเบิกความของ ม. ดังกล่าวก็เป็นเพียงเพื่อช่วยจำเลยให้พ้นผิด ถ้อยคำที่ ม. เบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง
of 12