พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5335/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย: การแจ้งเกิดและพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปไม่มีน้ำหนักเพียงพอ
ผู้ตายและนางบ. เป็นสามีภริยากันโดยมีนางค. ซึ่งเป็นบุตรของนางบ.กับสามีเก่าพักอาศัยอยู่ด้วย นางค. คลอดผู้ร้องแล้วผู้ตายถึงแก่กรรม โดยผู้ตายมิได้เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดผู้ร้อง จึงไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ตายรับผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555(4) นางค. พักอาศัยในฐานะที่เป็นบุตรสาวของนางบ. มิใช่ในฐานะภริยาของผู้ตาย การที่ผู้ร้องใช้นามสกุลของผู้ตายก็เพราะสูติบัตรของผู้ร้องระบุว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายกับนางบ. หาใช่เพราะผู้ตายยอมให้ใช้นามสกุลของตนเพราะเหตุที่ผู้ร้องเป็นบุตรของนางค.ไม่ จึงฟังไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าผู้ร้องเป็นบุตรผู้ตายที่เกิดจากนางค. ไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ตายรับผู้ร้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1555(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5505/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอรับรองเด็กเป็นบุตรหลังบิดาเสียชีวิต: วิธีการเสนอคดีและการพิสูจน์ความเป็นบุตร
การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีที่ชายผู้ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นบิดาได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเสนอคดีนั้น จะเสนอคดีเป็นคำฟ้องโดยยื่นคำฟ้องผู้ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วไม่ได้ เพราะไม่มีตัวความที่จะฟ้องเป็นจำเลยและในเบื้องต้นก็ยังไม่ทราบว่าจะมีผู้ใดคัดค้านหรือไม่ การเริ่มคดีในชั้นแรกจึงต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทขึ้นมาก่อน เมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านขึ้นมา ศาลจึงจะดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีมีข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยที่บ้านที่ครอบครัวโจทก์เช่าอยู่จนโจทก์ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือนก็เลิกร้างกันไป ต่อมาเมื่อโจทก์คลอดบุตรเป็นเด็กหญิงธ.จำเลยได้ให้เพื่อนของจำเลยนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยไปแจ้งการเกิดพร้อมกับโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ไปแจ้งการเกิดของเด็กหญิงธ. จึงอยู่ในความรู้เห็นยินยอมของจำเลย และโจทก์จำเลยได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่โจทก์อาจตั้งครรภ์ได้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยรับเด็กหญิงธ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1557(3) คือต้องเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป การให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 นั้นการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนสามารถจดทะเบียนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วได้โดยไม่จำต้องอาศัยการแสดงเจตนาของจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธ.เป็นบุตร หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยอีก.