คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว ม. 20

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำท้า และประเด็นค่าอุปการะเลี้ยงดู
ข้ออ้างในฎีกาของจำเลยไม่มีข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ละเมิดต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นไปตามคำท้า อันจะเป็นเหตุให้ฎีกาได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดไปตาม ประเด็นที่คู่ความตกลงท้ากัน และไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยของ ศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายหรือเป็นไปโดยไม่ชอบแล้ว จำเลย จะฎีกาโต้เถียงเพียงแต่ขอให้ลดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู ไม่ได้ ฎีกาจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด และพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 ก็ได้บัญญัติให้ผู้ที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้มีส่วนได้เสียสามารถยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องมาให้บันทึกในทะเบียนได้ จึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลทันทีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557(3) ทั้งตามพระราชบัญญัติ จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 บัญญัติว่าเมื่อศาลได้พิพากษาว่าผู้ใดเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วผู้มีส่วนได้เสียจะยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วมาให้บันทึกในทะเบียนก็ได้ ฉะนั้นศาลจึงไม่จำต้องบังคับจำเลยให้ไปจดทะเบียนรับ ส. เป็นบุตรตามคำขอของโจทก์ ส่วนการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู ส. นั้นให้จ่ายตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาจนกว่า ส. จะบรรลุนิติภาวะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตร, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และผลของการพิพากษาถึงที่สุด
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยที่บ้านที่ครอบครัวโจทก์เช่าอยู่จนโจทก์ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 4 เดือนก็เลิกร้างกันไป ต่อมาเมื่อโจทก์คลอดบุตรเป็นเด็กหญิงธ.จำเลยได้ให้เพื่อนของจำเลยนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยไปแจ้งการเกิดพร้อมกับโจทก์ ดังนี้ การที่โจทก์ไปแจ้งการเกิดของเด็กหญิงธ. จึงอยู่ในความรู้เห็นยินยอมของจำเลย และโจทก์จำเลยได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่โจทก์อาจตั้งครรภ์ได้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยรับเด็กหญิงธ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยได้ การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษาของศาลมีผลนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1557(3) คือต้องเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นต้นไป การให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่เด็กหญิงธ.ผู้เยาว์จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ใช่นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 มาตรา 20 นั้นการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย นายทะเบียนสามารถจดทะเบียนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียที่ยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดซึ่งรับรองถูกต้องแล้วได้โดยไม่จำต้องอาศัยการแสดงเจตนาของจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลจึงไม่จำต้องสั่งคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยไปจดทะเบียนรับเด็กหญิงธ.เป็นบุตร หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยอีก.