คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนูพงศ์ รุจิกัณหะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีพยายามฆ่าและการรับวินิจฉัยข้อหาพาอาวุธโดยไม่ชอบ ศาลฎีกายกข้อหาพาอาวุธ และลดโทษจำเลยที่ 2
คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหายเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 สำหรับข้อหาพาอาวุธไปโดยไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ.มาตรา 371 นั้น อัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ โจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ทั้งหมดของโจทก์รวมถึงข้อหานี้ด้วย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับวินิจฉัยความผิดในข้อหาดังกล่าวและพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การถมคลองน้ำดำเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตคลองน้ำดำอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งแม้ปัจจุบันคลองน้ำดำมีสภาพตื้นเขินโดยการเปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติแต่เมื่อไม่มีการเพิกถอนก็ยังเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) และเป็นที่ดินของรัฐ จึงต้องห้ามมิให้บุคลลใดเข้าไปยึดถือครอบครองตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) การที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยการถมที่ดินในคลองน้ำดำเป็นการกระทำแก่ที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันจึงเป็นความผิดตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คหลายฉบับไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้แยกแต่ละฉบับได้
การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ไม่จำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกัน การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกันไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกัน โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องคดีแพ่ง และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้จึงมิใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนเช็ค: เช็คแต่ละฉบับเป็นมูลหนี้แยกต่างหาก โจทก์ฟ้องได้หลายคดี
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่ เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิ หน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับ แม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้อกในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกันไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงหาใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนเช็ค: เช็คแต่ละฉบับเป็นมูลหนี้ต่างหาก โจทก์มีสิทธิฟ้องแยกคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกัน ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้ แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงไม่ใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ขับรถเมาแล้วประมาท ชนผู้อื่นบาดเจ็บ ศาลแก้ไขโทษจำคุกเป็นกักขัง
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราและฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส เป็นความผิดหลายกรรมและเรียงกระทงลงโทษจำเลยมานั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะการที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุราด้วยความเร็วสูงนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาทอันเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและก่อให้เกิดผลโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ที่จำเลยขับไปชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสจึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 300 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในมูลละเมิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางอาญา การเริ่มต้นนับอายุความเมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำผิด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง ได้บัญญัติในกรณีที่การละเมิดที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา และกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าก็ให้เอาอายุความที่ยาวกว่าใช้บังคับ ซึ่งหมายความว่า หากความเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นมีความผิดที่มีโทษตาม ป.อ. ที่เกิดขึ้นด้วย ก็ให้ใช้อายุความที่ยาวกว่า แต่ก็หมายความถึงการเรียกร้องจากผู้กระทำความผิดหรือผู้ร่วมกระทำความผิดโดยเฉพาะ ไม่หมายความรวมถึงผู้อื่นที่มิได้ร่วมกระทำความผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการซื้อประมูลทอดตลาด: ผู้ซื้อได้สิทธิแม้ผู้ขายเดิมไม่มีสิทธิสมบูรณ์
แม้จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาก่อน ป. ซื้อที่ดินพิพาทและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่า จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทในคดีที่ ป. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทตามคดีแพ่งของศาลชั้นต้นก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าก่อนหน้านั้น ป. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่ ก. ในปี 2530 และถูก ก. ฟ้องบังคับจำนองที่ดินพิพาทต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2531 แต่ ป. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม ก. จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาด และโจทก์เป็นผู้ซื้อทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ก็ต้องถือว่า ก. ยึดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจาก ป. แล้วหากจำเลยเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยก็ต้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องบังคับจำนองแก่ ป. ก่อนเอาที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแล้ว แม้ ป. ไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 308 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดและโจทก์เป็นผู้ซื้อทอดตลาดที่ดินพิพาทได้ โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจากการซื้อทอดตลาด สิทธิของโจทก์ผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจึงมิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าที่ดินพิพาทนั้นมิใช่ของ ป. ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อันเป็นข้อยกเว้นหลักกฎหมายที่ว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน"
เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย การที่จำเลยปลูกห้องแถว 5 ห้อง รุกล้ำเข้าไปในที่ดินพิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์และทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ยกข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์ขึ้นอ้างไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา ฎีกาของจำเลยในส่วนค่าเสียหายจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีบังคับคดีรื้อถอนห้องแถว 5 ห้อง ของจำเลยออกจากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษา การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลย โจทก์จึงไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยตามฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509-510/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นติชมเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อปกป้องสิทธิส่วนได้เสียโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
ขณะเกิดเหตุ ต. ผู้เสียหายดำรงตำแหน่งเป็นนายอำเภอเมืองนครสวรรค์ มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตท้องที่จังหวัดนครสวรรค์ จำเลยที่ 1 เป็นราษฎร จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการเจ้าของและผู้พิมพ์โฆษณาหนังสือพิมพ์ซึ่งออกจำหน่ายแก่ประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์ จำเลยทั้งสองร่วมกันเขียนข้อความลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ฉบับลงวันที่ 1 สิงหาคม 2542 ในหนังสือพิมพ์ว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นนายอำเภอไม่ดำเนินการให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเรื่องที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษ ส. ซึ่งสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วงว่า ส. ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ประจำในหมู่ที่ 2 ตำบลบางม่วงไม่น้อยกว่า 15 ปี และนำสำเนาทะเบียนบ้านปลอมเป็นเอกสารในการยื่นสมัครอันเป็นการแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงาน ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม การที่ผู้เสียหายไม่ดำเนินคดีเรื่องที่จำเลยที่ 1 ร้องทุกข์กล่าวโทษมีลักษณะหน่วงเหนี่ยวส่อไปในทางที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเป็นการที่ผู้เสียหายละเว้นหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันเขียนข้อความลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ได้ติดตามเรื่องราวขอทราบผลการร้องทุกข์กล่าวโทษจากผู้เสียหายก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ตอบ จำเลยที่ 1 เป็นประชาชนในตำบลบางม่วง ย่อมมีส่วนได้เสียในการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง และการเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจในการบริหาร จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรม ป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม และเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 329 (1) (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพความผิดฐานกระทำชำเราเด็กและพรากเด็ก ศาลไม่ต้องสืบพยานประกอบ และการฎีกาขอลงโทษเบาเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป จำนวน 4 กรรม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของความผิดดังกล่าว รวมทั้งการกระทำความผิดของจำเลยจะเป็นจำนวนกี่กรรมก็ต้องรับฟังเป็นยุติดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์ที่ต้องนำสืบประกอบคำรับสารภาพในความผิดฐานดังกล่าวก่อนแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร จำคุก 8 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษ อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 26