พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อสัญญาทางแพ่ง: สัญญาไม่ระงับ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ป. ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างดังกล่าวต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9775/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานแน่นหนาพิสูจน์จำเลยเป็นผู้ลงมือสังหาร ผู้ตายให้การก่อนเสียชีวิตยืนยันตัวผู้กระทำผิด
แม้คำเบิกความของ ด. เป็นพยานบอกเล่า แต่ถ้อยคำของผู้ตายที่บอกกล่าวขณะรู้สึกว่าตนจะต้องถึงแก่ความตายว่าคนร้ายที่ยิงตนคือจำเลย ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าเป็นความจริงตามคำกล่าวได้ซึ่ง ด. ได้ให้การชั้นสอบสวนในวันถัดจากวันเกิดเหตุว่า ผู้ตายบอกกล่าวกับตนว่า "ไอ้ลอบยิงผมแล้ว" ซึ่งเป็นเวลาใกล้ชิดกับเหตุที่ผู้ตายถูกยิงและขณะนั้น ด. ย่อมจำเหตุการณ์ได้ดีที่สุด ส่วนที่ ด. มาเบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3731/2544 ของศาลชั้นต้นและเบิกความในคดีนี้เหตุการณ์ได้ผ่านไปประมาณ 12 ปี และ 17 ปี ตามลำดับ ความจำของ ด. อาจคลาดเคลื่อนไปบ้างแต่มีระบุชื่อจำเลยตรงกัน ไม่ปรากฏว่ามีผู้อื่นในหมู่บ้านที่เกิดเหตุชื่อเดียวกับจำเลย และจำเลยกับพี่น้องรวม 3 คน มีเรื่องทะเลาะชกต่อยกับผู้ตายประกอบกับผู้ตายถูกยิงที่แก้มด้านซ้ายในระยะห่างประมาณ 1.50 เมตร แสดงว่าคนร้ายต้องอยู่ต่อหน้าผู้ตายในระยะใกล้เชื่อว่าผู้ตายมีโอกาสเห็นจำเลยได้ชัดเจน จึงสามารถระบุชื่อจำเลยเป็นคนยิงทันที
ส่วนปัญหาว่า ช. ไปแจ้งเหตุให้ ด. ทราบหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญแต่ ช. ได้ให้การในชั้นสอบสวนในสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3000/2546 ของศาลชั้นต้นเบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3731/2544 ของศาลชั้นต้นและเบิกความในคดีนี้ตรงกันตลอดมาว่า เมื่อได้ยินเสียงอาวุธปืนดัง พยานเห็นจำเลยถืออาวุธปืนสั้นเดินสวนทางมากับพยาน ทั้งตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของ ด. ว่าหลังเกิดเหตุ ช. บอกพยานว่า เห็นจำเลยวิ่งถืออาวุธปืนสวนทางไป เป็นการสนับสนุนว่าพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานแวดล้อมกรณีที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ที่มีเหตุผลรับฟัง พยานหลักฐานของจำเลยนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ลอยๆ ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ส่วนปัญหาว่า ช. ไปแจ้งเหตุให้ ด. ทราบหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญแต่ ช. ได้ให้การในชั้นสอบสวนในสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3000/2546 ของศาลชั้นต้นเบิกความในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3731/2544 ของศาลชั้นต้นและเบิกความในคดีนี้ตรงกันตลอดมาว่า เมื่อได้ยินเสียงอาวุธปืนดัง พยานเห็นจำเลยถืออาวุธปืนสั้นเดินสวนทางมากับพยาน ทั้งตรงกับคำให้การในชั้นสอบสวนของ ด. ว่าหลังเกิดเหตุ ช. บอกพยานว่า เห็นจำเลยวิ่งถืออาวุธปืนสวนทางไป เป็นการสนับสนุนว่าพยานโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานแวดล้อมกรณีที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ที่มีเหตุผลรับฟัง พยานหลักฐานของจำเลยนำสืบปฏิเสธอ้างฐานที่อยู่ลอยๆ ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9053/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค่าจ้าง: การผ่อนชำระหนี้ตามเช็คทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน หนี้ตามสัญญาจ้างทำของจึงยังไม่ระงับสิ้นไป คดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์แล้วบางส่วน เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของนั่นเอง เมื่อได้กระทำภายในกำหนดอายุความ 5 ปี ย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายใน 5 ปี นับจากวันที่จำเลยทั้งสองไม่ผ่อนชำระหนี้คืนโจทก์อีก ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9053/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค่าจ้าง: การผ่อนชำระหนี้ด้วยเช็คและการสะดุดหยุดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14
ตาม ป.พ.พ. หมวด 5 เรื่อง ความระงับหนี้ มาตรา 321 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าชำระหนี้ด้วยออก - ด้วยโอน - หรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือประทวนสินค้า ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ปักทอตราเสื้อ แล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คพื่อชำระหนี้ค่าจ้าง เมื่อถึงกำหนดธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คดังกล่าว หนี้ตามสัญญาจ้างทำของจึงยังไม่ระงับสิ้นไป และการที่เช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้นั้นเป็นเหตุให้พนักงานอัยการฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ต่อศาลแขวงธนบุรี ในการพิจารณาคดีดังกล่าวจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพและตกลงผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โดยได้ผ่อนชำระไปแล้วบางส่วนตามที่โจทก์ฟ้อง ซึ่งเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาจ้างทำของนั่นเอง เมื่อได้กระทำภายในอายุความ 5 ปี ย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 โจทก์ฟ้องคดีนี้นับแต่วันที่จำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ครั้งสุดท้ายถึงวันฟ้องยังไม่เกินกำหนดอายุความดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9009/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, เจ้าของรวม, การบอกเลิกสัญญา, การอยู่โดยละเมิด, การหักเงินมัดจำ
ส. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่เช่าและการให้เช่าที่ดินเป็นการจัดการตามธรรมดาเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามสภาพปกติของทรัพย์สินซึ่งเจ้าของรวมคนหนึ่งมีสิทธิจัดการได้เสมอแต่ต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 วรรคสอง และ 1360 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับ ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินที่จำเลยเช่า โดยเสียค่าเช่าเพียงเดือนละ 2,500 บาท น้อยกว่าเดิมที่เคยเสียค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ย่อมทำให้เจ้าของรวมคนอื่นซึ่งได้มอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ทำสัญญาเช่ากับจำเลยได้รับความเสียหาย ส. จึงไม่มีอำนาจที่จะทำสัญญาเช่ากับจำเลย สัญญาเช่าที่ดินจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่ง เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยยังอยู่ในที่ดินที่เช่าจึงเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่าได้
จำเลยไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย 9,000 บาท มาหักชำระค่าเช่าค้างชำระ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันว่า เงินมัดจำประกันค่าเสียหายจะคืนให้ต่อเมื่อหักค่าเสียหายแล้ว ส่วนที่เหลือจะคืนให้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า และค้างชำระค่าเช่าเป็นเงิน 4,500 บาท พร้อมกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องนำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย 9,000 บาท มาหักค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหายก่อนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหายมาหักให้แก่จำเลยตามสัญญาย่อมทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิเป็นการไม่ชอบ และเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในเวลาพิพากษาคดี จึงเป็นพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
จำเลยไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องที่จะให้นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย 9,000 บาท มาหักชำระค่าเช่าค้างชำระ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงกันว่า เงินมัดจำประกันค่าเสียหายจะคืนให้ต่อเมื่อหักค่าเสียหายแล้ว ส่วนที่เหลือจะคืนให้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยผิดสัญญาเช่า และค้างชำระค่าเช่าเป็นเงิน 4,500 บาท พร้อมกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องนำเงินมัดจำประกันค่าเสียหาย 9,000 บาท มาหักค่าเช่าค้างชำระและค่าเสียหายก่อนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกัน การที่ศาลชั้นต้นไม่นำเงินมัดจำประกันค่าเสียหายมาหักให้แก่จำเลยตามสัญญาย่อมทำให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเกินกว่าที่โจทก์มีสิทธิเป็นการไม่ชอบ และเป็นกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจในเวลาพิพากษาคดี จึงเป็นพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7884/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลพิจารณาปริมาณสารบริสุทธิ์เพื่อกำหนดความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันครอบครองเมทแอมเฟตามีนจำนวน 27 เม็ด ตามฟ้อง จำเลยไม่อุทธรณ์ ถือว่าข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยร่วมกับพวกครอบครองเมทแอมเฟตมีนตามฟ้องหรือไม่ เป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ร่วมกับพวกครอบครองเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้ว จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยกับพวกร่วมกันครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.235 กรัม ไม่ถึง 0.375 กรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนหน่วยการใช้ 27 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 2.694 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.235 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 66 วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง
เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยกับพวกร่วมกันครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 0.235 กรัม ไม่ถึง 0.375 กรัม จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 66 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับจำนวนหน่วยการใช้หรือน้ำหนักสุทธิ ดังนั้น การที่จำเลยกับพวกร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวนหน่วยการใช้ 27 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 2.694 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 0.235 กรัม จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 66 วรรคสอง จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7800/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางร่วมในหมู่บ้านจัดสรร: ที่ดินนอกโครงการไม่มีสิทธิใช้ทางสาธารณะของโครงการ
หมู่บ้านจัดสรรของจำเลยได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย แสดงว่ามีการจัดทำแผนผังโครงการและวิธีการในการจัดสรรที่ดินหรือประโยชน์เกี่ยวกับสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การคมนาคม การจราจร ความปลอดภัย การสาธารณูปโภค และการผังเมือง มีหลักเกณฑ์และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการและได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 แล้ว สิ่งก่อสร้าง ถนน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรที่ดินดังกล่าวนี้ ย่อมถือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ร่วมกัน บุคคลใดจะทำให้เสื่อมค่าทำให้ขาดประโยชน์ หรือผิดแผกไปจากที่ได้รับอนุญาตแล้วมิได้
โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินจัดสรรโฉนดเลขที่ 6516 พร้อมบ้านจากโครงการของจำเลย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 911 จากผู้มีชื่อ อันเป็นที่ดินนอกโครงการจัดสรรและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่มีอาณาเขตด้านหนึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 6516 โจทก์ประสงค์จะรื้อรั้วด้านที่ติดกันออก แล้วกั้นรั้วใหม่ให้เป็นผืนเดียวกันและถมที่ดินให้มีระดับเสมอกัน แต่จำเลยห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อรั้วและใช้ทางเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 911 เห็นว่า รั้วและทางเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ผู้ใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เพิ่มภาระผูกพันโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิรื้อรั้วและใช้ถนนในหมู่บ้านเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์ทั้งสองที่อยู่นอกหมู่บ้านจัดสรรได้
โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินจัดสรรโฉนดเลขที่ 6516 พร้อมบ้านจากโครงการของจำเลย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 911 จากผู้มีชื่อ อันเป็นที่ดินนอกโครงการจัดสรรและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่มีอาณาเขตด้านหนึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 6516 โจทก์ประสงค์จะรื้อรั้วด้านที่ติดกันออก แล้วกั้นรั้วใหม่ให้เป็นผืนเดียวกันและถมที่ดินให้มีระดับเสมอกัน แต่จำเลยห้ามมิให้โจทก์ทั้งสองรื้อรั้วและใช้ทางเพื่อประโยชน์ของที่ดินโฉนดเลขที่ 911 เห็นว่า รั้วและทางเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรจัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ผู้ใดก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือก่อให้เพิ่มภาระผูกพันโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิรื้อรั้วและใช้ถนนในหมู่บ้านเพื่อประโยชน์ของที่ดินโจทก์ทั้งสองที่อยู่นอกหมู่บ้านจัดสรรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเกินสิทธิ, การรับผิดชอบร่วมของลูกหนี้, และดอกเบี้ยจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ ซึ่งในหนังสือยังแจ้งด้วยว่า แม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้นก็ขอชำระเงินให้แก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้เฉพาะราย หลังจากนั้น จำเลยที่ 5 ยังได้สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่องไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 ทราบแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว
สินค้ารายการที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 1 ได้โอนขายสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าโดยคิดรวมในส่วนที่ไม่ได้ส่งมอบดังกล่าวให้แก่โจทก์ด้วย จึงเป็นการโอนขายสิทธิเรียกร้องเกินกว่าสิทธิที่จำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 5 จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในหนี้รายการดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าสินค้าต่อเนื่อง การแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องมีผลผูกพันผู้ซื้อ แม้จะยังไม่มีกำหนดชำระ
จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงจำเลยที่ 5 แจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าไม่ว่าหนี้ในปัจจุบันหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่จำเลยที่ 5 ต้องชำระต่อจำเลยที่ 1 ไปให้แก่โจทก์ หนังสือดังกล่าวยังแจ้งด้วยว่าแม้ใบเรียกเก็บเงินบางฉบับอาจจะไม่มีข้อความที่ระบุข้างต้น ก็ให้ชำระเงินแก่โจทก์ตามรายการในใบเรียกเก็บเงินทุกใบต่อไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่าเป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าขายสินค้าที่จำเลยที่ 5 มีต่อจำเลยที่ 1 ที่จะเกิดขึ้นต่อไปทั้งหมด มิได้เป็นการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าเฉพาะราย หลังจากโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและมีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 5 ดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 5 สั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 หลายครั้งและชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการซื้อขายสินค้าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 จึงเป็นการซื้อขายแบบต่อเนื่อง ไม่ใช่เป็นการซื้อขายสินค้าเจาะจงเฉพาะสิ่ง การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าจึงรวมถึงหนี้ค่าสินค้ารายการที่ 1 ถึง 14 ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ถึงกำหนดชำระเท่านั้น ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าขายสินค้าให้แก่จำเลยที่ 5 แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 5 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ชำระหนี้ค่าขายสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วม สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันคู่สัญญาที่ไม่ร่วมทำสัญญา โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สามีจำเลยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ชำระหนี้เป็นส่วนๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนให้ร่วมกับสามีชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ด้วย จำเลยคดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้ โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุดไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ความในคดีดังกล่าว โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247