คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
มนูพงศ์ รุจิกัณหะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 259 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจช่วง: การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแพ่งและอาญาต้องจำกัดเฉพาะกิจการเดียวตามหนังสือมอบอำนาจ
ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 โจทก์มอบอำนาจให้ บ. กระทำกิจการตามที่ได้ระบุไว้รวม 15 ข้อ โดยข้อ 15 ระบุว่า "กิจการที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจฉบับนี้ผู้รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจช่วงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของธนาคารคนใดเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงกระทำการแทนก็ได้ แต่การมอบอำนาจช่วงเช่นว่านี้จะทำได้ครั้งหนึ่งเฉพาะกิจการอย่างหนึ่งเท่านั้น จะมอบอำนาจให้กระทำการแทนโดยทั่วไปหรือในกิจการหลายอย่างในการมอบอำนาจช่วงครั้งหนึ่งๆ ไม่ได้" เช่นนี้ ผู้รับมอบอำนาจจะมอบอำนาจช่วงให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กระทำการแทนก็ได้แต่ครั้งหนึ่งเฉพาะกิจการอย่างหนึ่ง จะมอบอำนาจให้กระทำกิจการหลายอย่างในการมอบอำนาจช่วงครั้งหนึ่งๆ หรือกระทำกิจการเดียวโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งไม่ได้ หนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารหมาย จ.3 มีข้อความว่า บ. ผู้รับมอบอำนาจ... ขอมอบอำนาจช่วงให้ ป. และ/หรือ พ.... มีอำนาจดำเนินการในกิจการดังต่อไปนี้กับ ธ. และ ศ. เพื่อประโยชน์ของธนาคารศรีนคร จำกัด (มหาชน) จนเสร็จการ ข้อ 1 ให้มีอำนาจติดตามหนี้สิน... ข้อ 2 มีอำนาจในการดำเนินคดีทางแพ่ง ได้แก่ การออกหนังสือบอกกล่าวและทวงถาม การฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งและการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีจนเสร็จการ เช่น รับเงินและเอกสารต่างๆ จากศาล ข้อ 3 ให้มีอำนาจในการดำเนินคดีอาญา ได้แก่ การแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ...ฯลฯ ดังนี้จะเห็นได้ว่าการมอบอำนาจเช่นว่านี้เป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงกระทำการแทนหลายอย่าง คือ ฟ้องคดีแพ่ง ฟ้องคดีอาญา ร้องทุกข์กล่าวโทษในคดีอาญาต่อจำเลยทั้งสองโดยไม่จำกัดว่าเป็นกรณีเกี่ยวกับเรื่องใดโดยเฉพาะ จึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไปให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาได้ทุกเรื่องโดยมิได้จำกัดให้ฟ้องคดีแพ่งหรือคดีอาญาได้เพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเรื่องเดียว เป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนาของโจทก์ที่แสดงไว้ตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 การมอบอำนาจช่วงให้ฟ้องตามหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารหมาย จ.3 จึงเป็นการกระทำที่ผู้รับมอบอำนาจกระทำนอกเหนือขอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ผู้รับมอบอำนาจช่วงไม่มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีสัญญาชดใช้ทุนข้าราชการ - จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและข้ออ้างเรื่องชดใช้ทุน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ หากจำเลยเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่ถูกต้องเนื่องจากโจทก์อนุญาตให้จำเลยรับราชการที่หน่วยงานอื่นเพื่อชดใช้ทุนแก่โจทก์จนครบถ้วนแล้ว จำเลยก็ชอบที่จะยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นต่อสู้ให้เป็นประเด็นไว้ในคำให้การเพราะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในขณะฟ้อง เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ และคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยไม่อาจยกข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งโจทก์ยังโต้แย้งอยู่ขึ้นอ้างในชั้นบังคับคดีเพื่อไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษา กรณียังถือไม่ได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องบังคับต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (1) โจทก์ชอบที่จะบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้สมบูรณ์ย่อมระงับหนี้ แม้ไม่มีการแทงเพิกถอนเอกสาร
การชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมีผลทำให้หนี้เป็นอันระงับ ส่วนการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นเรื่องของการนำสืบการใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง เป็นคนละกรณีกัน การไม่มีการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่อาจถือได้ว่ายังไม่มีการชำระหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ/ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คดีอาญาแผ่นดิน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ได้มีคำอธิบายความหมายของผู้เสียหายไว้ว่าหมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4, 5 และ 6 ซึ่งข้อกล่าวหาตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 เป็นบทบัญญัติที่ต้องการเอาโทษแก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เป็นความผิดอาญาแผ่นดินโดยปกติเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย เอกชนคนหนึ่งคนใดย่อมไม่เป็นผู้เสียหาย ยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าวข้อความในตอนแรก คำว่าเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้นหมายความรวมถึง เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือเอกชนผู้หนึ่งผู้ใดด้วย ดังนั้น หากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยมิชอบ เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรง และเป็นการทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษแล้วโจทก์ทั้งสองย่อมเป็นผู้เสียหายได้ โดยที่ พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯ เป็นกฎหมายมุ่งคุ้มครองและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม แม้ให้สิทธิโจทก์ทั้งสองเป็นผู้กล่าวหาผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมโดยนำเรื่องยื่นต่อจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 32 แต่ตามมาตรา 39 ก็ให้อำนาจคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเพียงว่า ยกข้อกล่าวหา ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 2 ปี หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเป็นการกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองโดยตรงแต่ประการใด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 28 ถึงที่ 33 สรุปผลการแสวงหาข้อเท็จจริงว่า คดีไม่มีมูล และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 27 พิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติว่า คดีไม่มีมูลให้ยกข้อกล่าวหาจึงไม่เป็นการกระทำต่อโจทก์ทั้งสองโดยตรงและไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเนื่องจากการกระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่เป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามสิบสามในข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
เหตุที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ก็เนื่องจากผู้ร้องอ้างว่าได้รับโอนสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้เป็นคดีนี้พร้อมกับได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยต่อไปเท่านั้น หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องได้รับเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ เพิ่มขึ้น ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหลังศาลตัดสินแล้ว ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์อ้างว่า ผู้ร้องได้รับโอนสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้เป็นคดีนี้พร้อมกับได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยต่อไปเท่านั้น หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องได้รับเงินหรือทรัพย์สินใดๆ เพิ่มขึ้น ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6308/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เข้าสู้ราคาประมูลที่สำคัญผิดในราคา และการเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดี นิติกรรมระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นโมฆะเนื่องจากผู้ร้องสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรม เท่ากับผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาด เมื่อผู้ร้องต้องผูกพันในราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ และหากนำที่ดินพิพาทออกขายอีกครั้งหนึ่งถ้าได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมแล้ว ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทซึ่งขายทอดตลาดนั้นมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6213/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกป่า ตัดไม้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ศาลฎีกายืนโทษฐานบุกรุกป่าและทำให้เสียทรัพย์
คำว่า ป่า ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน การเป็นป่าตามความหมายดังกล่าวไม่ใช่กรณีเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ หากที่ใดแปลงใดเป็นที่ดินที่ยังไม่มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ที่ดินแปลงใดแม้จะอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 616 (พ.ศ.2516) หรือไม่ หากไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของหรือได้สิทธิครอบครองทำกินตาม ป.ที่ดิน ที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ
จำเลยเข้าไปครอบครองตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรีและก่นสร้าง แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่าเพื่อยึดถือครอบครองป่าเป็นของตนหรือผู้อื่นจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ และฐานร่วมกันยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถางหรือเผาป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างแผ้วถางป่าโดยตัดฟันต้นยูคาลิปตัสของสำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดเพชรบุรี อันเป็นการทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และ ป.อ. แยกการกระทำเป็นสองกรรมต่างหากจากกัน แต่เมื่อเป็นการกระทำความผิดต่อต้นยูคาลิปตัสจำนวนเดียวกันและได้กระทำคราวเดียวพร้อมกันต่อเนื่องกันไป จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง การใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนการขอตีความคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบถ้วน มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตีความคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง การแก้ไขคำพิพากษา และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วน ให้ยึดทรัพย์จำนองตามฟ้องและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบถ้วนให้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 16646, 16647, 16649 และ 16650 และที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 90 อันเป็นทรัพย์จำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จนกว่าจะครบ โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนหรือไม่ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ มิใช่เรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงแต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ดังที่โจทก์อ้างได้ หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามที่กฎหมายกำหนดไว้และหาอาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตีความคำพิพากษาได้ไม่
of 26